ภาษาผู้ไทวันละคำ..................................เขิ้ ๊ง


วันนี้ขอเสนอคำว่าเขิ้งหรือถ้าพูดตามสำเนียงผู้ไทก็จะพูดว่าเขิ้ ๊ง

มีความหมายว่าสีขุ่นๆไม่ใสและจะขุ่นไปทางกากีหรือสีนำ้ตาล

ตัวอย่าง  แห้ ๊วคือเขิ้ ๊งแท่ (แห้วคือเขิ้งแท้)หมายถึงฟันทำไมสีเหลืองแท้

ฟันเหลืองไม่ใช่มีสีเหลืองแต่จะเป็นสีที่่ผู้ไทเรียกเขิ้ง

เมือพูดตามสำเนียงผู้ไทหลายๆคำจะมีเสียงวรรรยุกต์ไม่ตรงกับคำทีใส่รูปวรรณยุกตืใดๆตรงเลยแต่เสียงวรรณยุกต์จะตรงกับเสียงวรรณยุกต์ของคำว่าคะ พบ นบ นัก  มักฯลฯ  ผู้เขียนจะใช้รูปวรรณยุกต์์  ้แล้วตามด้วยรูป ๊เช่นคำว่าเขิ้งถ้าให้ตรงสำเนียงผู้ไทจึงเขียนว่า เขิ้ ๊ง ซึ่งเสียงวรรณยุกต์จะตรงกับคะก็ลองพูดว่าคะเอิงเขิ้ ๊งก็จะได้เสียงตรงกับสำเนียงผู้ไทพอดีค่ะ

ขอบคุณที่เข้ามาอ่านค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #ภาษาผู้ไท
หมายเลขบันทึก: 550914เขียนเมื่อ 14 ตุลาคม 2013 23:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 ตุลาคม 2013 23:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

แห้วหมายถึงฟันนะคะ...ถ้าบอกว่ากินแห้ว...ชาวผู้ไทคงขำนะคะ...ขอบคุณค่ะ

โอโห พี่ 

ภาษาเปลี่ยนไปเลยนะครับ

ไปอยู่คงเข้าใจผิดได้

ขอบคุณมากๆครับ

  ขอบคุณค่ะอาจารย์คร.พจนา

           แห้วในภาษาผู้ไทหมายถึงฟันค่ะแต่เสียงจะตรงกับฮะ+แ-ว

           ถ้าพูดว่ากินแห้วผู้ไทก็ขำค่ะ

ก็มีเรื่องเล่าอยู่เหมือนกันค่ะ

มีคนมาถามซื้อของเจ้าบ้านก็ตอบว่าหมี้ ๊  หมิได้ ๊เด้าะ(หมายถึง ไม่ ไม่มีหรอก)

คนมาซื้อของก็รออยู่อย่างนั้นไม่ไปสักที

รอนามเข้าก็ถามว่าไปหนสิ่งของที่ถามซื้อ

เจ้าบ้านก็บอกว่าหมิได้ ๊ จนพูดเป็นภาษาไทอิสานคนซื้อจึงได้เข้าใจ

 ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท