ยังสอนภาษาไทยแบบเดิมๆ อยู่อีกหรือ??


ทุกคนต้องยอมรับความจริงว่า ยังมีเด็กประถมต้นอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้อยู่ไม่น้อยกว่า 8 เปอร์เซนต์ เป็นหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องต้องตระหนักและแก้ปัญหาร่วมกัน

 

 

 

ยังสอนภาษาไทยแบบเดิมๆ อยู่อีกหรือ??

 

ทุกครั้งที่ออกเยี่ยมโรงเรียนตามแผนที่วางไว้  ผมได้ปรับทุกข์กับผู้บริหารโรงเรียนหลายคนในฐานะผู้นิเทศด้วยกัน (ฝ่ายหนึ่งนิเทศภายใน อีกฝ่ายหนึ่งนิเทศภายนอก)  ถึงปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของเด็กระดับประถมศึกษาตอนต้น  ซึ่งต้องเคี่ยวเข็ญกันมาอย่างยาวนาน  เราพูดถึงปัญหาในตัวเด็กที่มักจะพบในโรงเรียนชนบทหลายแห่งที่มีเด็กไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ตัวจริง เด็กส่วนหนึ่งมีข้อบกพร่องในการเรียนรู้ซึ่งถือเป็นเด็กพิเศษเรียนร่วมตั้งแต่ประเภทที่ 1-9 ยืนยันว่าเป็นของจริง (ไม่ได้ตีตราเขาได้ง่ายๆว่า เป็นเด็กพิเศษ)   เราพูดถึงรูปแบบการสอนของครูที่เอื้อต่อพัฒนาการทางภาษาของเด็ก (สอนถูกทาง)  เราพูดถึงการสนับสนุนสื่อวัสดุอุปกรณ์ งบประมาณ กระบวนการนิเทศติดตามจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู (ต่อเนื่อง เข้าถึง) และสุดท้ายเราก็อดเสวนากันไม่ได้ถึงนโยบายจัดการศึกษาของหน่วยเหนือที่มีการเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาจนผู้ปฏิบัติทำอะไรไม่ถูก

 แล้วเราก็ลงความเห็นตรงกันว่า วิธีการทำให้ปลอดเด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ในชั้นเรียน(ยกเว้นเด็กพิเศษที่ต้องพัฒนาตามรูปแบบเฉพาะของเขา) และเด็กมีความสามารถใช้ภาษาแปลความ สรุปความ ย่อความ ตีความ คิดวิเคราะห์ และสื่อสาร สารสนสนเทศข้อมูลผ่านการเขียน การบอกเล่าได้ตามวัยที่เขาควรจะเป็น ควรช่วยกันสนับสนุนการสร้างปรากฏการณ์ให้เกิดขึ้นในชั้นเรียน ดังนี้


1.       มีครูที่จบวิชาเอกใส่ใจ  จบวิชาโทขยันออกแบบการสอน  ในชั้นเรียนมากยิ่งขึ้น

2.       ครูผู้สอนต้องเชื่อมั่นในรูปแบบกระบวนการสอนที่ใช้อยู่ว่า ส่งผลต่อพัฒนาการทางภาษาของเด็กได้จริง สามารถทำให้เด็กใช้ภาษาแปลความ สรุปความ ย่อความ ตีความ คิดวิเคราะห์ และสื่อสาร สารสนสนเทศผ่านการเขียน การบอกเล่าได้ตามวัยที่เขาควรจะเป็น ไม่สอนเพื่อทำข้อสอบ

3.       ครูทุกคนต้องถือเป็นหน้าที่ในการฝึกฝนทักษะการใช้ภาษาแก่เด็ก ไม่ว่าจะสอนวิชาใดๆ

4.       หากผู้สอนเห็นว่า กระบวนการสอนในข้อ 2 ไม่ได้ผล (พิจารณาจากผลการประเมินนักเรียน) ก็สมควรได้เวลาปรับเปลี่ยนรูปแบบกระบวนการสอนใหม่ (ศึกษา ค้นคว้า ทดลองได้) ผมขอแนะนำแนวคิดการสอนภาษาไทยที่ได้ผล ของเหล่าผู้เชี่ยวชาญข้างล่างนี้

 

1.พรพิไล  เลิศวิชา. สอนภาษาไทยตามแนวคิด Brain-based Learning.   กรุงเทพฯ:  สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ. 2552.

2.ศิวกานท์  ปทุมสูติ. เด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้แก้ง่ายนิดเดียว. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: นวสาส์นการพิมพ์, 2554.

3.สายัณห์  ผาน้อย และคณะ. การสอนภาษาไทยให้อ่านออกเขียนได้ โดยวิธีแจกลูกสะกดคำ.นนทบุรี : ซี.ซี.นอลลิดจ์ลิงคส์, 2553.

4.เสาวลักษณ์  รัตนวิชช์. การสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา  กลยุทธ์สู่ความสำเร็จในการพัฒนาการรู้หนังสือเพื่อปวงชน.กรุงเทพฯ : มูลนิธิโรตารีแห่งประเทศไทย, 2547.

 

 

หมายเลขบันทึก: 550511เขียนเมื่อ 8 ตุลาคม 2013 23:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 ตุลาคม 2013 06:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ขอบคุณค่ะเป็นบันทึกที่มีประโยชน์มากนะคะ

เรียนท่านสมานเขียว....คุณมะเดื่อจำเป็นต้องสอนภาษาไทย ทั้ง ๆ ที่ไม่มีเอก ไม่มีโท ทาง

ภาษาไทยแต่อย่างใด ...แต่ความจำเป็นต้องสอน นั้น ก็จำเป็น มาตั้งแต่บรรจุน่ะแหละ สอน

ประถมมาจนจบครบทุกชั้น ( แถม สอนอนุบาลด้วย)  เห็นชัดเจนว่า การที่เด็กจะได้

กระบวนการคิดวิเคราะห์  ตีความ  ย่อความ ฯลฯ นั้น  หลัก ๆ แล้ว ต้องปูพื้นมาตั้งแต่ ป.1

ต่อเนื่องขึ้นมา การปูพื้นต้องเข้มข้น มาจนถึง ป.3  หากไม่ได้ปูพื้นในเรื่องกระบวนการอ่าน

แล้ว....สอนแทบตายก็ได้แค่อ่านออก  เขียนได้...อ่านเป็น  คิดเป็น...อย่าหวังเลย

 หากผู้สอนเห็นว่า กระบวนการสอน------ไม่ได้ผล (พิจารณาจากผลการประเมินนักเรียน) ก็สมควรได้เวลาปรับเปลี่ยนรูปแบบกระบวนการสอนใหม่ (ศึกษา ค้นคว้า ทดลองได้) 

เป็นคำแนะนำที่มีประโยชน์ต่อการสอนภาษาไทยมาก

และข้อความข้างบนเป็นสิ่งที่ครูทุกวิชาควรทำเสมอ ๆนะคะ

ขอบคุณ ดร.พจนา และคุณมะเดื่อ ที่แวะมาร่วมแลกเปลี่ยนครับ ความเห็นของท่านถูกต้องตรงเผ็งเลย ความพร้อมการอ่าน การเขียนของเด็กเริ่มตั้งแต่ช่วงต่อระหว่างอนุบาลกับป.1 ผมก็ยังว่าสายไปเลย

ขอนำเสนอแลกเปลี่ยนสัก ๓ ข้อ ครับ พี่สมาน ที่เคารพรัก

๑. อยากเห็นและอยากให้มี ศน. แบบพี่แยะๆ

๒.  ข้อ ๑ ของพี่ศน. คือ การแก้ปัญหาการเรียนการสอนทุกวิชา คือ หัวใจของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่แท้จริง ที่ไม่ค่อยจะพูดถึงกัน มั้งครับ

๓.  ผู้บริหารสถานศึกษา  ก็ควรจะจบวิชาเอก..ใส่ใจบริหาร  / วิชาโท ขยันคิด วิเคราะห์และบูรณาการ  ด้วยหรือเปล่าครับ

หนังสือแต่ละเล่มน่าสนใจมากๆค่ะ

สำหรับเด็กที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้นั้น
ห้องเรียน คือ อะไร สำหรับเขา หนอ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท