ปรัชญาการศึกษาในยุคปัจจุบัน


ศึกษาปรัชญาการศึกษาไทยในแต่ละยุค.......

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น การศึกษาคือ การให้สามารถ อ่าน-เขียนภาษาไทย และคิดเลข

ปรัชญาการศึกษาไทยตามแนวพระราชดำรัส การศึกษาเป็นเสมือนเครื่องมือในการพัฒนามนุษย์ทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา เพื่อช่วยให้เป็นพลเมืองดีมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ

ทางพระพุทธศาสนาการศึกษาคือ การพัฒนาขันธ์ 5 ของบุคคลทั้งทางร่างกายและจิตใจเพื่อให้บรรลุชีวิตที่ร่มเย็น ก็คือชีวิตที่มีอกุศลมูล คือ ความโลภ โกรธ หลง น้อยที่สุด

พระธรรมปิฏก ชีวิตเกิดจาการรวมตัวขององค์ประกอบต่าง ๆ จำนวนมากจึงได้จัดเป็น 2 ประเภท คือ องค์ประกอบทางร่างกายและจิตใจ ซึ่ง ทุกส่วนจะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาไปตามสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัยต่าง ๆ การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้ชีวิตเข้าถึงอิสรภาพคือ ทำให้ชีวิตหลุดพ้นจากอำนาจครอบงำของปัจจัยแวดล้อมภายนอกให้มากที่สุด และมีความเป็นใหญ่ในตัวในการที่กำหนดความเป็นอยู่ของตนให้มากที่สุด"

การศึกษาต้องมุ่งพัฒนาและเพิ่มพูนองค์ความรู้ใหม่ พัฒนาศักยภาพของผู้เรียน มุ่งสร้างปัญญา และคุณธรรมของชีวิตเพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถดำรงชีวิตเพื่อตนเอง พึ่งพาตนเองได้

ปรัชญาการศึกษาในยุคปัจจุบัน

พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542มาตรา 6 การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

จุดมุ่งหมายในมาตรา 6

1. มุ่งพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในด้านต่างๆ ของการศึกษา คือ ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม

2. มุ่งให้คนไทยมีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

(ตามแนว เก่ง-ดี -มีสุข)

หมายเลขบันทึก: 549780เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2013 04:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กันยายน 2013 05:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท