ลำไยมีใบสีเหลือง สาเหตุเกิดจากอะไร และมีกรรมวิธีอย่างไรในการดูแลแก้ไข


การสลายตัวของคลอโรฟิลล์ในพืช จะเกิดจากสารมลพิษที่ดังต่อไปนี้ โพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน, สารประกอบคลอรีน, และสารกำจัดหรือวัชพืช เช่นไกลโฟเสต ซึ่งจะทำให้คลอโรฟิลล์ ที่มีอยู่ทั่วไป และในพืช ลดลงได้ ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อพืชเท่าที่ควร

ลำไย : ชุมชนคนสนใจเรื่องลำไย ถามตอบ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น

https://www.facebook.com/groups/www.longankipqew/

หรือ

http://www.gotoknow.org/dashboard/home/#/posts/545415/edit

สาวน้อยใจดี นู๋ยุ้ยแก้มตุ่ย

https://www.facebook.com/profile.php?id=100000397078840

เกษตรกร เคยสงสัยบ้างไหม ทำไมลำไยดูใบซีดเหลือง ไม่เขียวสดใสเลย มีตัวยาอะไรช่วยได้บ้าง.....

วันนี้มีคำถามจากผู้ที่อ่านบันทึกของยุ้ย...ท่านหนึ่ง ได้ถามเรื่องดังกล่าว และได้พบผลิตภัณฑ์ที่โฆษณาว่าช่วยในการลดการสูญเสียคลอโรฟิลล์ในพืชได้

เห็นว่าคำถามนี้เป็นคำถามที่ "น่าสนใจ" และเห็นว่า "น่าจะเป็นประโยชน์" ต่อเกษตรกรผู้ปลูกลำไย หรือผู้ที่ปลูกพืชสวน ประเภทอื่นๆ จึงได้นำมาเพื่อเผยแพร่..ค่ะ

คำถาม : ยาตรึงคลอโรฟิลล์ มีประโยชน์อย่างไร คือตัวยาอะไร

ตอบ คุณสุรศักดิ์ สุรัสวดี

ตัวยาที่ถามมานั้น ถือว่าเป็นนวัตกรรมประเภทหนึ่ง ที่ช่วยในการป้องกันการสูญเสียคลอโรฟิลล์ในส่วนต่างๆ ของพืชได้...ค่ะ

ซึ่งคงต้องอธิบายเพิ่มเติม เพื่อความเข้าใจ กระบวนการในธรรมชาติ ดังนี้

คลอโรฟิลล์ เป็นสารประกอบที่พบได้ในส่วนที่มีสีเขียวของพืช โดยพบมากที่ใบ นอกจากนี้ยังพบได้ที่ลำต้น ดอก ผลและรากที่มีสีเขียว และยังพบได้ในสาหร่ายทุกชนิด นอกจากนี้ยังพบได้ในแบคทีเรียบางชนิด

คลอโรฟิลล์ เป็นโมเลกุล ซึ่งจะทำหน้าที่รับพลังงานจากแสง และนำพลังงานดังกล่าวไปใช้ในการสร้างพลังงานเคมีโดยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง เพื่อสร้างสารอินทรีย์ เช่น น้ำตาล และนำไปใช้ เพื่อการดำรงชีวิตของพืช

คลอโรฟิลล์ดูดกลืนแสงได้ดีที่ช่วงคลื่นของแสงสีฟ้า และสีแดง แต่จะดูดกลืนช่วงแสงสีเหลือง และเขียวได้น้อย ดังนั้นเมื่อได้รับแสงจะดูดกลืนแสงสีฟ้าและสีแดงไว้ ส่วนแสงสีเขียวที่ไม่ได้ดูดกลืนจึงสะท้อนออกมา ทำให้เรามองเห็นคลอโรฟิลล์มีสีเขียว

การสลายตัวของคลอโรฟิลล์ในพืช จะเกิดจากสารมลพิษที่ดังต่อไปนี้ โพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน, สารประกอบคลอรีน, และสารกำจัดหรือวัชพืช เช่นไกลโฟเสตซึ่งจะทำให้คลอโรฟิลล์ ที่มีอยู่ทั่วไป และในพืช ลดลงได้ ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อพืช

ในสารโปแตสเซียมคลอเรต ที่เราใช้เพื่อการชักนำการออกดอกลำไยนั้น จะมี คลอเรต (ซึ่งเป็น 1 ใน 14 สารประกอบคลอรีนนั้น) จะเข้าไปทำลายแบคที่เรีย และจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน รวมถึงในน้ำ

จุลินทรีย์เหล่านี้ซึ่งเคยทำหน้าที่ในการย่อยสลายอินทรีย์ และอนิทรีย์วัตถุต่างๆ ในดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำลายสารโพลีไซคลิกอะโดรมาติกไฮโดรคาร์บอน (PAHs) ซึ่งมีปนเปื้อนสะสมอยู่ในดินเป็นจำนวนมาก หรือน้อย ขึ้นอยู่กับสถานที่ที่ก่อให้เกิดมลภาวะดังกล่าว

โพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (PAHs) คืออะไร

PAHs มีอยู่ทั่วไปในสิ่งแวดล้อม มักเกาะกับอนุภาคฮิวมิคในดิน หรือสะสมในสิ่งมีชีวิต ที่พบได้ทั้งในน้ำ ดิน ดินตะกอน อากาศ ชั้นหินอุ้มน้ำ และบริเวณริมถนน ซึ่งเกิดจาก

1. ไอเสียจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ ในสภาพที่เป็นควันจากท่อไอเสียรถยนต์ และเครื่องจักรกล

2. การเผาไหม้ของสารอินทรีย์ รวมทั้งการเกิดไฟป่า การเผากิ่งไม้ใบไม้ และซังข้าวโพด และตอฟางข้าวของเกษตรกร

3. การปนเปื้อนของน้ำมันเครื่องเก่าที่ผ่าน การใช้แล้ว ซึ่งมีสะสมอยู่ในน้ำ และดิน และแหล่งน้ำใต้ดิน โดยเฉพาะตะกอนดินบริเวณปากแม่น้ำที่ถูกน้ำชะมารวมกัน

4. กระบวนการแปรรูปอาหาร เช่น การอบขนม การเคี่ยวน้ำตาลเป็นคาราเมล การคั่วกาแฟซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาสีน้ำตาล หรือเกิดขึ้นระหว่างการหมักดอง เช่นผักดองกิมจิ ซีอิ๊ว การปรุงอาหารโดยการอบ ปิ้ง ย่าง เช่น ไส้กรอกรมควัน หมูปิ้ง ไกย่าง ที่ไหม้เกรียม

การปนเปื้อนของ PAHs ในสิ่งแวดล้อม มักจะพบการปนเปื้อนร่วมกับสารมลพิษอื่นๆ เช่น สารหนู แบเรียม แคดเมียม โครเมียม ตะกั่ว ปรอท นิกเกิล และสังกะสีซึ่งจะส่งผลเสียต่อการย่อยสลาย PHAs โดยจุลินทรีย์ในดิน ทำให้การกำจัด PAHs ด้วยวิธีทางชีวภาพยากขึ้น

จะแก้ไขอย่างไร

แก้ไขด้วยการลดการสร้างสารโพลีไซคลิกอะโครมาติกไฮโดรคาร์บอน

และให้เพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ในดินให้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ให้เร็วกว่าการใช้ปุ๋ยคอกตามปกติ

โดยการใช้ "จุลินชีพชีวภาพ" ผสมน้ำฉีดพ่นทรงพุ่ม ลำต้น และดินใต้ ต้นลำไย และรอบๆ ทรงพุ่มลำไย ในจุดที่จะมีการราดสาร หรือเคยมีการราดสาqรฯ ทำลำไยมาก่อน ในทุกๆ ช่วงการแตกใบอ่อน หรือการแทงยอดลำไย ทั้ง 3 ชุด ก่อนที่ะราดสารฯ

หลังราดสารลำไย ให้หยุดการการฉีดพ่น "จุลินชีพชีวภาพ" เนื่องจากจะไปกระตุ้นลำไยให้เกิดใบอ่อนแทรกดอกลำไย...ได้ง่าย

แต่หลังจากช่วงที่ดอกบานเต็มที่ และกำลังเข้าสู่ช่วงระยะ "บักหำน้อย" หรือช่วงหัวไม้ขีดไฟระยะต้น ให้กลับมาทำการฉีดพ่น "จุลินชีพชีวภาพ" ผสมน้ำอีก โดยฉีดพ่นเฉพาะบริเวณรอบๆ ทรงพุ่มต้นลำไยที่เราได้เคยมีการราดสารฯ ลำไยไว้ก่อนแล้ว ทุกๆ 15 วัน/ครั้ง

การใช้ EM สามารถผสมไปพร้อมกับปุ๋ย หรือฮอร์โมนได้ แต่ ห้ามผสมไปพร้อมกับสารเคมีกำจัดแมลงโดยเด็ดขาด เนื่องจากจะทำให้จุลินทรีย์ใน "จุลินชีพชีวภาพ" ตายไปอย่างรวดเร็ว

ทั้งนี้เพื่อเป็นการกำจัดสารฯ ต่างๆ ซึ่งตกค้างอยู่ในพื้นดิน หรือที่ในวงการลำไย มักจะเรียกกระบวนการนี้ว่า "การล้างสารพิษ"

ตัวยาเพื่อการล้างสารพิษตามที่บริษัท หรือร้านค้าผสมมาจำหน่ายเกษตรกรนั้น จะมีราคาแพงมาก แท้ที่จริงก็เป็นเพียง "จุลินชัพชีวภาพ" ซึ่งมีราคาถูกกว่ากันมาก อาจจะมีการผสมกับไนโตรเจน แคลเซียมโบรอน ซิงค์ และแม็กนิเซียม ลงไปด้วยเพียงเล็กน้อย เพื่อที่จะช่วยกระตุ้นทำให้ต้นลำไย และใบลำไยดูเขียว แลดูสดชื่นขึ้น....อย่างรวดเร็ว

ผลจากการใช้สารเคมีที่ซื้อมากันในราคาแพงดังกล่าว ทำให้เกษตรกรหลงคิดว่า ผลิตภัณฑ์เหล่านั้น "เป็นสารล้างพิษที่สุดยอด" แล้วก็เต็มใจควักเงินจำนวนมากจ่ายให้กับร้านค้าไป

ซึ่งว่าไป จริงๆ ร้านค้า ก็ไม่ได้รู้เรื่องอะไรด้วย เซลล์ส่งมาขายราคาตามป้าย ขายแล้วได้ส่วนต่างเป็นกำไร แต่คนที่กำไรแท้จริง คือบริษัทผู้ผลิต...ค่ะ เป็นจิตวิทยาทางการค้า เบื้องต้น...เท่านั้นเอง

เรื่องบ้างเรื่อง หากเกษตรกรรู้ และเข้าใจ ก็จะสามารถผสมสารเคมี หรือตัดปุ๋ย (ผสมแม่ปุ๋ย) มาใช้เองได้ ในราคาที่ประหยัดได้...ค่ะ ดังนั้นเกษตรกรควรได้ศึกษาหาความรู้ไว้บ้าง...นะคะ

สรุป : จากที่อธิบายมานั้น น่าที่จะทำให้เกษตรกรได้พอจะเข้าใจได้ว่า หากมีนวัตกรรมใดที่จะสามารถทำใหสาร PAHs หรือสารประกอบคลอรีน หรือสารกำจัดวัชพืชต่างๆ เช่น ไกลโฟเซต ฯลฯ มีความเป็นพิษต่อพืชลดลง หรือสูญสลายไป หรือชลอ ยับยั่ง หรือปรับเปลี่ยนไปเป็นการสร้างคลอโรฟิลล์ให้กับต้นไม้...แทนแล้ว

ผู้ที่คิดค้น หรือผู้ผลิตก็จะสามารถกล่าวอ้างได้อย่างเต็มปากว่า "นวัตกรรมที่เขาคิดขึ้นมานั้น สามารถทำการตรึง รักษา หรือป้องกันการเข้าทำลายคลอโรฟิลล์ในพืชได้" อย่างที่เห็น ผสมยากันมาโฆษณาขายเกษตรกร ในราคาที่แพงแสนแพง ทั้งสิ้น...ค่ะ

หมายเลขบันทึก: 549115เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2013 23:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มกราคม 2015 04:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

น่าสนใจมาก ได้ความรู้เพิ่มทีเดียว

ขอบคุณมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท