การปฏิรูปการเรียนรู้ในระดับอุดมศึกษา : ปัจจุบันและอนาคต (๒)


ภาพนักศึกษากลุ่มชาติพันธฺุ์ปกาเกอะญอ(กะเหรี่ยง)ที่วิยาลัยแม่ฮ่องสอน ม.ราชภัฏเชียงใหม่

          ครั้งที่แล้วเป็นบทเขียน/แนวคิดการปฏิรูปการเรียนรู้ในระดับอุดมศึกษา : ปัจจุบันและอนาคต ผู้เขียนกล่าวถึงหากจะมีการปฏิรูปการเรียนรู้ควรดูปัจจัยเรื่อง ๑) โครงสร้างการบริหารของมหาวิทยาลัย ๒) เครื่องมือในการขับเคลื่อนให้เกิดการเรียนรู้ ๓) กลไกหรือพลังหลักในการขับเคลื่อนให้เกิดการเรียนรู้ ๔) พลังเสริมการขับเคลื่อนให้เกิดการเรียนรู้ ๕) ความเชื่อมโยงระหว่างการเรียนรู้ในแต่ละดับการศึกษาตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจนถึงระดับอุดมศึกษา 

          ประเด็นโครงสร้างการบริหารของมหาวิทยาลัยถือว่ามีความสำคัญมาก  

          การศึกษาระดับอุดมศึกษาส่วนใหญ่จะจัดในระดับมหาวิทยาลัย โครงสร้างในแต่ละมหาวิทยาลัยแตกต่างกันออกไป แต่ทุกมหาวิทยาลัยมีสภามหาวิทยาลัย มีผู้บริหารตั้งแต่นายกสภา กรรมการสภา อธิการบดี คณบดี ผู้อำนวยการ และระดับรองต่าง ๆ ตามลำดับ 

         สิ่งที่ควรพิจารณาปฏิรูปหรือให้มีการเปลี่ยนแปลงนั้น ชูชาติ  อารีจิตรานุสรณ์ เขียนไว้ในหนังสือ “ปริญญานิยม”น่าสนใจหลายประเด็น “...ไม่ควรให้มีการดำรงตำแหน่งของนายกสภามหาวิทยาลัย หรือผู้ทรงคุณวุฒิในมหาวิทยาลัยแห่งเดียวติดต่อกันเป็นระยะเวลายาวนาน และเพื่อให้มีการช่วยเหลือดูแลมหาวิทยาลัยอื่น และเพื่อป้องกันการผูกขาดการบริหารเชิงนโยบายของมหาวิทยาลัย...”  

“...ไม่ควรให้ฝ่ายบริหารมหาวิทยาลัยทำหน้าที่สรรหากรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อป้องกันการเกิดผลประโยชน์ต่างตอบแทน...”

“...กำหนดอัตราเงินเดือนและค่าตอบแทนของอาจารย์ให้สูงขึ้น เพราะถ้ามหาวิทยาลัยไม่สามารถดึงผู้ที่มีความรู้ความสามารถสูงเข้ามาเป็นอาจารย์ มหาวิทยาลัยจะไม่สามารถผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ และไม่สามารถสร้างความเป็นเลิศได้...”  

      ปรากฏการณ์ที่เป็นอยู่  ในบางมหาวิทยาลัยจะมีลักษณะเดียวกับที่กล่าวถึง ผู้เขียนเห็นว่าหากจะมีปฏิรูปการเรียนรู้ควรปฏิรูปตั้งแต่ฐานระดับสูงในสถาบันการศึกษาหรือมหาวิทยาลัยก่อน และควรทำทั้งระบบ หลายแห่งก้าวไม่พ้นเรื่องตัวบุคคลที่ต้องตอบแทนบุญคุณกัน/ยังยึดตัวบุคคลค่อนข้างมาก จึงทำให้ขาดความหลากหลายและขาดวิธีการคิด/ปฏิบัติที่ต่างไปจากความดั้งเดิมไม่มากนัก และอาจจะทำให้ภาพของการพัฒนาหรือความก้าวหน้าของสถาบันไปได้ไม่ดีเท่าที่ควร

หมายเลขบันทึก: 548951เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2013 11:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กันยายน 2013 11:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อาจารย์หายไปนาน

เห็นด้วยในบางประเด็นในนี้ครับ

...ไม่ควรให้ฝ่ายบริหารมหาวิทยาลัยทำหน้าที่สรรหากรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อป้องกันการเกิดผลประโยชน์ต่างตอบแทน...”

“...กำหนดอัตราเงิน เดือนและค่าตอบแทนของอาจารย์ให้สูงขึ้น เพราะถ้ามหาวิทยาลัยไม่สามารถดึงผู้ที่มีความรู้ความสามารถสูงเข้ามาเป็น อาจารย์ มหาวิทยาลัยจะไม่สามารถผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ และไม่สามารถสร้างความเป็นเลิศได้...” 

อยากบอกว่า

มหาวิทยาลัย ตายแล้วครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท