ยิ้มก่อนอ่าน ตาหวานก่อนเปิด


วิทยาศาสตร์ ม. 2 เล่ม 1  ปลายภาค 

คำชี้แจง    ยิ้มก่อนอ่าน  ตาหวานก่อนเปิด

1. ข้อความใดผิดเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร

1 สามารถสร้างน้ำย่อยเองได้

2 มีผนังหลายชั้นและหนามาก

3 สร้างกรดไฮโดรคลอริกเพื่อปรับค่า pH

4 สามารถสร้างกรดชนิดอื่นได้อีก 4 ชนิด

2. ข้อความใดถูกต้อง

1 การย่อยที่ลำไส้เล็กเป็นการย่อยครั้งสุดท้าย

2 เพปซินทำให้โปรตีนและกรดไขมันมีขนาดเล็กลง

3 เอนไซม์ในลำไส้เล็กทำงานได้ดีในภาวะที่เป็นกลาง

4 เพปซินย่อยโปรตีนจนสามารถซึมผ่านเข้าสู่เซลล์ได้

3. ส่วนประกอบของเลือดที่มีปริมาณมากที่สุดคืออะไร

1 พลาสมา

2 เกล็ดเลือด

3 เม็ดเลือดขาว

4 เม็ดเลือดแดง

4. สิ่งใดจัดเป็นการย่อยอาหารเชิงเคมี

1 ฟัน

2 ลิ้น

3 น้ำลาย

4 หลอดอาหาร

5. สารอาหารชนิดใดที่สามารถย่อยสลายในลำไส้เล็กได้

1 ไขมัน

2 โปรตีน

3 คาร์โบไฮเดรต

4 ถูกทุกข้อ

 

6. หน้าที่สำคัญของลำไส้ใหญ่คืออะไร

1 สร้างน้ำย่อยชนิดต่าง ๆ

2 ดูดซึมน้ำที่ค้างอยู่ในกากอาหาร

3 ย่อยอาหารให้ร่างกายสามารถดูดซึมได้

4 ดูดสารอาหารต่าง ๆ ที่ผ่านการย่อยเข้าสู่กระแสเลือด

7. นอกจากการสร้างน้ำย่อยแล้ว หน้าที่อื่นของตับคืออะไร

1 ย่อยอาหารบางชนิด

2 ทำลายเม็ดเลือดที่หมดอายุ

3 เก็บสะสมโปรตีนและวิตามินไว้ใช้ในคราวที่ร่างกายจำเป็น

4 เป็นต่อมที่สร้างฮอร์โมนบางชนิดให้แก่ร่างกายเพื่อควบคุมความอยากอาหาร

8. เอนไซม์ในน้ำลายมีความสามารถในการย่อยสารอาหารชนิดใด

1 ไขมัน 

2 โปรตีน 

3 วิตามิน

4 คาร์โบไฮเดรต

9. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับการย่อยคาร์โบไฮเดรต

1 ไลเพส

2 เพปซิน

3 อะไมเลส

4 มีคำตอบมากกว่า 1 ข้อ

10. อาหารจะถูกย่อยมากที่สุดในอวัยวะใด

1 ปาก

2 ลำไส้เล็ก

3 ลำไส้ใหญ่

4 กระเพาะอาหาร

11. ข้อความใดกล่าวถึงอาหารได้ถูกต้องที่สุด

1 เป็นสารที่ได้จากพืชสีเขียว

2 เป็นสารที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย

3 เป็นสารที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้

4 เป็นสารที่กินแล้วก่อให้เกิดประโยชน์แก่ร่างกาย

 

12. สารอาหารหมายถึงอะไร

1 องค์ประกอบพื้นฐานในอาหาร

2 สิ่งที่กินแล้วให้พลังงานและความอบอุ่นแก่ร่างกาย

3 สารประกอบต่าง ๆ ที่อยู่ในอาหารซึ่งช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต

4 สารเคมีต่าง ๆ ที่เป็นส่วนประกอบในอาหารซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย

13. นักเรียนสามารถทดสอบอาหารจำพวกแป้งมันได้โดยใช้สารละลายชนิดใด

1 ไอโอดีน

2 เบเนดิกส์

3 คอปเปอร์ซัลเฟต

4 คอปเปอร์ซัลเฟตและโซเดียมไฮดรอกไซด์

14. พิจารณาอาหารต่อไปนี้

ก มันฝรั่ง 

ข น้ำตาลทราย 

ค ถั่วลิสงบด

ง น้ำมันหมู

จ นมผงละลายน้ำ

อาหารชนิดใดเมื่อทดสอบกับสารละลายคอปเปอร์ซัลเฟตและโซเดียมไฮดรอกไซด์แล้ว เปลี่ยนสีสารละลายเป็นสีชมพูอมม่วง

1 ก และ ข 

2 ข และ ง 

3 ค และ จ

4 ง และ จ

15. อาหารในขอ้ ใดจัดเปน็ อาหารในกลุ่มเดียวกัน

1 ขนมปัง เนยสด ไข่ดาว

2 นมสด น้ำส้มคั้น บัวลอยไข่หวาน

3 ข้าวสวย ลูกตาลกรอบ หมูอบซอส

4 ปลาช่อนนึ่ง เนื้อแดดเดียว ไข่เจียวหมูสับ

16. อาหารชนิดหนึ่งเมื่อนำมาทดสอบกับสารละลายไบยูเร็ตให้สีม่วง และทดสอบกับสารละลายเบเนดิกส์ให้ตะกอนสีส้มแดงอาหารชนิดนี้ควรเป็นอะไรมากที่สุด

1 เนื้อหมูติดมัน

2 น้ำมะพร้าวใส่น้ำแข็ง

3 แป้งข้าวโพดละลายน้ำ

4 น้ำนมถั่วเหลืองชนิดหวาน

17. น้ำตาลกลูโคสในอาหารชนิดที่ 1 มีปริมาณมากกว่าอาหารชนิดที่ 2 ถ้านำอาหารทั้ง 2 ชนิดมาทดสอบกับสารละลายเบเนดิกส์จะให้สีใด

1 อาหารชนิดที่ 1 ให้สีเขียว อาหารชนิดที่ 2 ให้สีม่วง

2 อาหารชนิดที่ 1 ให้สีเหลือง อาหารชนิดที่ 2 ให้สีส้ม

3 อาหารชนิดที่ 1 ให้สีส้ม อาหารชนิดที่ 2 ให้สีเหลือง

4 อาหารชนิดที่ 1 ไม่เปลี่ยนสี อาหารชนิดที่ 2 ไม่เปลี่ยนสี

18. ฉลากอาหารกระป๋องชนิดหนึ่งเขียนไว้ดังนี้ 

ส่วนประกอบโดยประมาณ

ปลาทูน่า 78.2%

น้ำมันถั่วเหลือง 21.7% น้ำเกลือ 0.1%

อาหารในกระป๋องนี้ไม่มีสารอาหารประเภทใด

1 ไขมัน 

2 โปรตีน 

3 วิตามิน

4 คาร์โบไฮเดรต

19. อาหารชนิดใดมีคาร์โบไฮเดรตมากที่สุด

1 ส้มตำ

2 ยำเนื้อย่าง

3 ปลาสำลีเผา

4 ก๋วยเตี๋ยวราดหน้า

20. สารอาหารสำคัญที่ให้พลังงานแก่ร่างกายคืออะไร

1 ไขมัน

2 โปรตีน

3 วิตามิน

4 คาร์โบไฮเดรต

21. การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่น สุราเป็นประจำมีผลต่อสุขภาพในเรื่องใด

1 ทำให้พิการแต่กำเนิด

2 ทำลายประสาทเนื้อเยื่อในสมอง

3 ปวดท้อง ทำให้เป็นมะเร็งในปอด

4 เกิดความระคายเคืองที่บริเวณหลอดเลือด

22. ถ้าไม่ต้องการให้ถุงลมในปอดอักเสบและโป่งพอง พิเชษฐ์ควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมในข้อใด

1 การสูบบุหรี่

2 การดื่มสุรา

3 การออกกำลังกายมากเกินไป

4 การทำงานในสถานที่คับแคบ

23. ข้อความใดอธิบายความหมายของธาตุได้ถูกต้อง

1 สารละลายที่นำไฟฟ้าได้

2 มีจุดเดือดจุดหลอมเหลวไม่คงที่

3 มีสมบัติทางกายภาพและทางเคมีคงที่

4 ประกอบด้วยอะตอมชนิดเดียวกันที่แยกเป็นสารอื่นด้วยวิธีการทางเคมีไม่ได้

24. สสารกลุ่มใดเป็นสารประกอบทั้งหมด

1 ทองคำ เงิน ดีบุก ทองแดง

2 น้ำ เกลือแกง นาก ทองแดง

3 หินปูน เกลือแกง แก๊สไข่เน่า เงิน

4 น้ำ น้ำตาลทราย เกลือแกง แก๊สไข่เน่า

25. พิจารณาข้อความต่อไปนี้

1 รังสีแอลฟามีสัญลักษณ์เขียนแทนเป็น 42He

2 รังสีเบตามีอำนาจทะลุทะลวงสูงมาก

3 รังสีแกมมาเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นสั้นมาก ไม่มีประจุและมวล

ข้อสรุปใดถูกต้อง

1 1 และ 2

2 1 และ 3

3 2 และ 3

4 1, 2 และ3

26. รังสีที่แผ่ออกมาจากธาตุกัมมันตรังสีชนิดใดมีอำนาจทะลุทะลวงมากที่สุด

1 รังสีเบตา

2 รังสีแอลฟา

3 รังสีแกมมา

4 รังสีความร้อน

 

27. เมื่อแยกน้ำด้วยไฟฟ้าจะได้แก๊ส 2 ชนิด แก๊สที่เกิดขึ้นชนิดใดช่วยให้ติดไฟได้

1 ไฮโดรเจน

2 ออกซิเจน

3 ไนโตรเจน

4 คาร์บอนไดออกไซด์

28. เพราะเหตุใดอะลูมิเนียมจึงถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลาย

1 เป็นของแข็งไม่นำไฟฟ้า

2 พบอยู่ในธรรมชาติค่อนข้างน้อย

3 มีความหนาแน่นสูง นำไฟฟ้าได้ดี

4 น้ำหนักเบา นำความร้อน และนำไฟฟ้าได้ดี

29. ธาตุชนิดใดที่นิยมใช้เป็นส่วนผสมของสีทาบ้าน

1 ดีบุก

2 ตะกั่ว

3 ปรอท

4 แคดเมียม

30. พิจารณาข้อความต่อไปนี้

1 Ra-226 ใช้รักษาโรคมะเร็ง

2 I-131 ใช้ติดตามศึกษาความผิดปกติของต่อมไทรอยด์

3 Co-60 ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืช

ข้อความใดถูกต้อง

1 ข้อ 1 และ 2

2 ข้อ 1 และ 3

3 ข้อ 2 และ 3

4 ข้อ 1, 2 และ 3

31. วิธีการใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการแยกสาร

1 แยกน้ำตาลที่ปนกับทรายด้วยการฟัดออละหยิบออก

2 แยกน้ำมันออกจากรำข้าวโดยวิธีการสกัดด้วยตัวทำละลาย

3 แยกน้ำมันยูคาลิปตัสจากใบยูคาลิปตัสโดยการกลั่นด้วยไอน้ำ

4 แยกแก๊สออกซิเจนออกจากอากาศเหลวโดยวิธีการกลั่นลำดับส่วน

 

 

32. น้ำมันหอมระเหยจากกลิ่นของพืชชนิดต่าง ๆ เช่น สะระแหน่ พริกไทย หัวหอม และกานพลูใช้การสกัดด้วยวิธีใด

1 การกลั่นธรรมดา

2 การกลั่นด้วยไอน้ำ

3 การกลั่นลำดับส่วน

4 การใช้ตัวทำละลาย

33. ถ้าตั้งสารละลายคอปเปอร์ซัลเฟตไว้ในห้องนาน 4 วัน แล้วพบว่าไม่ตกผลึก ข้อสรุปใดกล่าวถูกต้อง

1 สารละลายนั้นเป็นสารไม่บริสุทธิ์

2 สารละลายไม่อิ่มตัว จึงไม่ตกผลึก

3 คอปเปอร์ซัลเฟตเป็นสารที่ไม่มีผลึก

4 สารไม่ตกผลึกเพราะตัวทำละลายเป็นของเหลว

34. ถ้าต้องการแยกองค์ประกอบของสารละสายแอมโมเนีย ควรใช้วิธีการใด

1 การกลั่น

2 การระเหิด

3 การสกัด

4 การตกผลึก

35. เมื่อนำเกลือแอมโมเนียมคลอไรด์ละลายน้ำ จะสังเกตเห็นว่าขณะละลายสารละลายจะมีอุณหภูมิต่ำลง ข้อใดสรุปถูกต้อง

1 ถ้าเพิ่มความร้อนให้สูงขึ้น การละลายของเกลือแอมโมเนียมคลอไรด์จะต่ำลง

2 การละลายของเกลือแอมโมเนียมคลอไรด์ จะมีการคายความร้อนสู่สิ่งแวดล้อม

3 การละลายของเกลือแอมโมเนียมคลอไรด์ จะมีการดูดความร้อนจากสิ่งแวดล้อม

4 การละลายของสารไม่น่าจะมีความร้อนเข้ามาเกี่ยวข้องเพราะไม่มีการเปลี่ยนสถานะ ดังนั้นที่อุณหภูมิของสารละลายต่ำลง น่าจะเป็นเพราะอุณหภูมิห้องต่ำลงนั่นเอง

36. สิ่งใดคือปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสารมากที่สุด

1 ขนาดของสาร

2 น้ำหนักของสาร

3 อุณหภูมิของสาร

4 ปริมาตรของสาร

37. ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีคืออะไร

1 ความเข้มข้นของสารเริ่มต้น 

2 อุณหภูมิและตัวเร่งปฏิกิริยา 

3 ธรรมชาติของสารเริ่มต้นและผลิตภัณฑ์

4 ถูกทุกข้อ

38. การเปลี่ยนแปลงของสารใดไม่คายความร้อน

1 การหมักปุ๋ยอินทรีย์

2 การละลายของน้ำแข็ง

3 การควบแน่นของไอน้ำเป็นหยดน้ำ

4 การเผาผลาญอาหารในร่างกายของสิ่งมีชีวิต

39. สิ่งที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทุกครั้งเมื่อเกิดปฏิกิริยาเคมีคืออะไร

1 สถานะของสาร

2 ปริมาณของสาร

3 พลังงานของสาร

4 ความเร็วของปฏิกิริยา

40. ในขณะกลั่นน้ำมันดิบ กำมะถันจะทำปฏิกิริยารวมตัวกับออกซิเจน ซึ่งสามารถเขียนสมการเคมีของปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นได้ดังสมการใด

1 S + O2SO2

2 SO2 + O2SO4

3 2SO2 + O22SO3

4 SO2 + H2OH2SO4

41. ปฏิกิริยาการเกิดสนิมเหล็ก สามารถเขียนได้เป็นสมการใด

1 4Fe+3O2+2H2O 2Fe2O3.H2O

2 4Fe+3O2+4H2O 2Fe2O3.4H2O

3 4Fe+3O2+4H2O 2Fe2O3+4H2O 

4 4Fe+3O2+2H2O 2Fe2O3+2H2O

42. ข้อสรุปใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์

1 มีการสร้างพันธะใหม่

2 มีสมบัติเหมือนสารเริ่มต้น

3 มีสมบัติต่างจากสารเริ่มต้น

4 มีสมบัติใกล้เคียงกับสารเริ่มต้น

43. สิ่งก่อสร้างที่มีเหล็กเป็นองค์ประกอบจะค่อย ๆ สึกกร่อนและกลายเป็นสนิมเหล็กเมื่อสัมผัสกับแก๊สชนิดใด

1 ออกซิเจน

2 ไนโตรเจน

3 ซัลเฟอร์ไดออกไซด์

4 คาร์บอนไดออกไซด์

44. เมื่อแก๊สซัลเฟอร์ไตรออกไซด์ได้รับความชื้นในอากาศจากเมฆและฝน จะเกิดการรวมตัวเป็นสารใด

1 กรดไนตริก

2 กรดไนตรัส

3 กรดกำมะถัน 

4 กรดไฮโดรคลอริก

45. สารที่เป็นส่วนประกอบของสารมลพิษที่ออกมาจากท่อไอเสียรถยนต์ คือสารชนิดใด

1 ออกไซด์ของซัลเฟอร์

2 คาร์บอนมอนอกไซด์

3 ออกไซด์ของไนโตรเจน

4 ถูกทั้ง 2 และ 3

46. ประโยชน์ของปฏิกิริยาการสลายตัวของโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต (NAHCO3) ด้วยความร้อนคืออะไร

1 ป้องกันการเกิดสนิมเหล็ก

2 ป้องกันการผุกร่อนของหินปูน

3 ใช้เป็นส่วนผสมในขนมถ้วยฟู 

4 ช่วยในการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง

47. วิธีการใดไม่ใช่การป้องกันการผุกร่อนของเหล็ก

1 การทาสีหรือน้ำมัน

2 เคลือบหรือฉาบผิวโลหะบางชนิด เช่น สังกะสี

3 เชื่อมด้วยโลหะที่รับอิเล็กตรอนได้ง่ายกว่าเหล็ก

4 ใส่สารละลายที่ป้องกันสนิม เช่น โซเดียมไนไตรต์

48. การดำรงชีวิตของคนเรามีโอกาสได้รับสารเป็นพิษจากสารประเภทใดมากที่สุด

1 กำจัดแมลง

2 ทำความสะอาด

3 ทำเครื่องสำอาง 

4 ปรุงแต่งอาหาร

 

49. ข้อความใดกล่าวถูกต้อง

1 เครื่องสำอางต่าง ๆ ที่มีราคาแพง จะไม่มีสารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

2 อาหารและยามีการใช้สารที่ปรุงแต่งสีกลิ่น รส ซึ่งอาจมีพิษเมื่อบริโภคเข้าไป 

3 สารพิษบางชนิด เช่น ปุ๋ย สารซักล้างและสารกำจัดแมลงเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนังได้ง่าย

4 สารที่ใช้ถนอมอาหารถือว่าเป็นสารจำเป็นในการเก็บรักษาอาหารซึ่งไม่มีพิษต่อการบริโภค

50. วิธีเลือกใช้สารเคมีให้เกิดประโยชน์และปลอดภัยทำได้ด้วยวิธีการใด

1 ศึกษาคุณภาพ ราคา และวิธีใช้

2 ศึกษาสมบัติ ประโยชน์ และโทษ

3 ศึกษาขนาด รูปร่าง และปริมาณ 

4 ศึกษาแหล่งผลิต และชื่อเสียงในการผลิต

51. เบสชนิดใดมีพิษร้ายแรง

1 ผงฟู

2 น้ำปูนใส

3 น้ำแอมโมเนีย

4 โซเดียมไฮดรอกไซด์

52. ผงซักฟอกโดยทั่วไปเมื่อละลายน้ำจะมีสมบัติเป็นอะไร

1 เบส 

2 กรด 

3 เกลือ

4 กลาง

53. สารละลายใดที่คนไทยนิยมนำไปผลิตเป็นสารใช้ทำความสะอาดห้องน้ำหรือเครื่องสุขภัณฑ์

1 กรดไนตริก

2 กรดแอซิติก

3 กรดกำมะถัน

4 กรดไฮโดรคลอริก

54. ถ้าเราใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ห่ออาหารอาหารจะมีสารพิษชนิดใดปนเปื้อน

1 ตะกั่ว 

2 โบรไมด์ 

3 อะลูมิเนียม

4 เกลือซัลเฟต

 

55. คำโฆษณาผงซักฟอกลักษณะใดที่เป็นข้อความเกินจริงมากที่สุด

1 ยิ่งซักยิ่งขาว

2 ซักแล้วสีไม่ซีด

3 ใช้แล้วไม่มีอันตราย

4 ใช้ได้ดีทั้งน้ำบ่อและน้ำบาดาล

56. ถ้าร่างกายถูกเบสควรทำอย่างไรเป็นอันดับแรก

1 ใส่ยา 

2 ล้างน้ำ 

3 ใช้ผ้าเช็ด

4 เทกรดลงไป

57. น้ำส้มสายชูปลอมก่อให้เกิดโทษต่อระบบใดของร่างกายมากที่สุด

1 ทางเดินหายใจ

2 ประสาทและหัวใจ

3 ย่อยอาหารและเนื้อเยื่อ

4 ไหลเวียนโลหิตและอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย

58. เมื่อพิจารณาองค์ประกอบทางเคมีแล้วอาหารกลุ่มใดเป็นประเภทเดียวกัน

1 ขนมปัง น้ำผึ้ง มันต้ม

2 ขนมผิง น้ำตะไคร้ เนยสด

3 ขนมเปี๊ยะ กาแฟ กล้วยกวน

4 ขนมครก น้ำสับปะรด ข้าวเหนียวถั่วดำ

59. เรานิยมใช้สารละลายไอโอดีนเป็นตัวทดสอบแป้งในพืช โดยจะเห็นสีน้ำเงินเกิดขึ้น พืชชนิดใดที่ไม่เกิดสีน้ำเงินเมื่อหยดสารละลายไอโอดีนลงไป

1 ส้ม 

2 ฝรั่ง 

3 กล้วย

4 ทุเรียน

60. อาหารคู่ใดที่ให้สารอาหารประเภทโปรตีน

1 นม–ข้าว 

2 ปลา–ถั่ว

3 ตับ–ตำลึง

4 ไก่–ต้นหอม

61. เราใช้สารละลายคอปเปอร์ซัลเฟตและสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ทดสอบสารอาหารประเภทใด

1 ไขมัน

2 โปรตีน

3 วิตามิน

4 คาร์โบไฮเดรต

62. เมื่อใช้สารละลายคอปเปอร์ซัลเฟตและสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ทดสอบสารอาหารในข้อ 61 แล้ว สารละลายจะเปลี่ยนเป็นสีอะไร

1 สีแดงอิฐ

2 สีส้มแดง

3 สีชมพูอมม่วง

4 สีน้ำเงินแกมม่วง

63. การทดสอบสารอาหารคู่ใดมีความสัมพันธ์กัน

1 ไข่ขาวกับสารละลายไบยูเร็ต

2 น้ำแป้งกับสารละลายเบเนดิกต์

3 น้ำถั่วเหลืองกับสารละลายไอโอดีน

4 เนื้อสัตว์กับสารละลายคอปเปอร์ซัลเฟต

64. สารอาหารประเภทใดที่ต้องผ่านการย่อยร่างกายไม่สามารถดูดซึมไปใช้ได้ทันที

1 น้ำ 

2 ไขมัน 

3 แร่ธาตุ

4 วิตามิน

65. เด็กที่ขาดวิตามินเอแล้วจะทำให้กระดูกและฟันไม่เจริญเต็มที่ วิตามินเอมีอยู่ในอาหารประเภทใด

1 เนื้อและตับ

2 ไข่แดง นม เนย

3 ตำลึง ผักบุ้ง มะละกอ

4 ถูกทุกข้อ

66. ถ้าไม่ต้องการเป็นคนที่มีกระดูกเปราะแขนขาหักง่าย เราต้องรับประทานอาหารที่มีแร่ธาตุชนิดใด

1 เหล็ก ไอโอดีน

2 วิตามิน โปรตีน

3 แคลเซียม ฟอสฟอรัส

4 คาร์บอน โพแทสเซียม

67. ผู้สูงอายุที่มีคอเลสเตอรอลสูงไม่ควรบริโภคอาหารชนิดใด

1ไข่ นมผง น้ำมันพืช

2 เนย เนยแข็ง เนื้อหมู

3 หัวใจ เนื้อปลา นมสด

4 ไข่ ตับวัว มันสมองสัตว์

68. ผู้ที่รับประทานส้มตำมะละกอเป็นประจำจะมีโอกาสเป็นโรคใดน้อยที่สุด

1 เหน็บชา

2 โลหิตจาง

3 ตาฟางตอนกลางคืน

4 เลือดออกตามไรฟัน

69. การส่งเสริมให้เด็กวัยเรียนมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์และมีภูมิต้านทานโรคอาหารที่เด็กควรบริโภคมากคืออาหารประเภทใด

1 ผลไม้ 

2 เนื้อสัตว์ 

3 ข้าวซ้อมมือ

4 นมถั่วเหลือง

70. จากคำกล่าวที่ว่า “ผู้หญิงต้องการธาตุเหล็กมากกว่าผู้ชาย” นักเรียนเห็นด้วยหรือไม่ เพราะอะไร

1 เห็นด้วย เพราะผู้หญิงต้องเสียเลือดไปกับประจำเดือน

2 เห็นด้วย เพราะร่างกายของผู้หญิงสามารถเก็บธาตุเหล็กไว้ใช้ได้ดีกว่าผู้ชาย

3 ไม่เห็นด้วย เพราะโดยปกติผู้หญิงต้องการสารอาหารและแร่ธาตุทุกชนิดมากกว่าผู้ชาย

4 ไม่เห็นด้วย เพราะผู้หญิงและผู้ชายที่มีอายุเท่ากัน น้ำหนักเท่ากันมีความต้องการสารอาหารและแร่ธาตุในปริมาณที่เท่ากัน

71. ถ้าต้องการให้ร่างกายของเด็กวัยเรียนได้รับแคลเซียมและฟอสฟอรัสในปริมาณที่มากพอ ควรให้เด็กเลือกรับประทานอาหารชนิดใด

1 กุ้งแห้ง 

2 ฟักทอง 

3 ถั่วเหลือง

4 ผลไม้สด

 

72. ปัจจุบันมีผู้ที่นิยมรับประทานอาหารประเภทมังสวิรัติมาก บุคคลเหล่านี้มีโอกาสขาดวิตามินชนิดใดมากที่สุด

1 บีหนึ่ง

2 บีสอง

3 บีหก

4 บีสิบสอง

73. บุคคลที่ต้องการพลังงานมากที่สุดในแต่ละวันคือใคร

1 ชายวัยรุ่นอายุ 16–19 ปี

2 หญิงวัยรุ่นอายุ 16–19 ปี

3 เด็กชายวัยเรียนอายุ 7–12 ปี

4 เด็กหญิงวัยเรียนอายุ 7–12 ปี

74. กนกรับประทานอาหารที่ได้สารอาหารประเภทไขมัน 20 กรัม จึงมีพลังงานพอใช้ในการนั่งเรียนหนังสือนาน 3

ชั่วโมง แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นอาหารที่ให้สารอาหารประเภทโปรตีน กนกต้องรับประทานอาหารโปรตีนเท่าใด เพราะอะไร

1 เท่ากับ 20 กรัม เพราะโปรตีนและไขมันให้พลังงานเท่ากัน

2 น้อยกว่า 20 กรัม เพราะโปรตีนให้พลังงานมากกว่าไขมัน

3 มากกว่า 20 กรัม เพราะโปรตีนให้พลังงานน้อยกว่าไขมัน

4 ข้อมูลไม่เพียงพอสรุปไม่ได้

75. จากคำกล่าวที่ว่า “หญิงมีครรภ์และหญิงที่ให้นมบุตรมีความต้องการแคลเซียมมากกว่าปกติ” นักเรียนเห็นด้วยหรือไม่ เพราะอะไร

1 เห็นด้วย เพราะแคลเซียมจะช่วยสร้างกระดูกและฟันของทารก

2 เห็นด้วย เพราะแคลเซียมจะทำให้การไหลเวียนเลือดในร่างกายทารกเป็นปกติ

3 ไม่เห็นด้วย เพราะถ้าได้รับแคลเซียมในปริมาณที่มากจะทำให้ผิวของทารกมีสีเหลืองซีด

4 ไม่เห็นด้วย เพราะถ้าได้รับแคลเซียมในปริมาณที่มากจะทำให้ระบบการหายใจของทารกผิดปกติ

76. นนท์เฝ้าดูการทดสอบไข่ขาว ผลการสังเกตการทดสอบไข่ขาวของนนท์คืออะไร

1 ไข่ขาวถูกต้มนาน 20 นาที

2 ไข่ขาวที่นำมาทดสอบคือไข่เป็ด

3 ไข่ขาวเมื่อทดสอบด้วยวิธีไบยูเร็ตเปลี่ยนเป็นสีม่วง

4 ไข่ขาวมีสารอาหารประเภทโปรตีนเป็นส่วนประกอบ

 

77. “ดื่มนมสดเมื่อไรท้องเสียทุกครั้ง จึงต้องเปลี่ยนมาดื่มนมเปรี้ยว แต่ก็ยังท้องเสียเป็นบางครั้ง” จากข้อมูลดังกล่าว คำถามใดที่เป็นการตั้งสมมติฐานของเหตุการณ์นี้

1 ถ้าเปลี่ยนไปดื่มนมผงแล้ว อาการจะเป็นอย่างไร

2 ถ้าดื่มนมสดนาน ๆ แล้ว ร่างกายจะเป็นอย่างไร

3 ถ้าดื่มนมเปรี้ยวนาน ๆ แล้ว ร่างกายจะเป็นอย่างไร

4 ถ้าให้เลือกดื่มนมสดกับดื่มนมเปรี้ยวควรจะเลือกดื่มนมชนิดใด

78. ถ้านักเรียนต้องการทดสอบสมมติฐานที่ว่า “รับประทานอาหารที่ไหม้กรียมเป็นประจำ อาจทำมให้เป็นมะเร็งได้” โดยใช้หนูเป็นสัตว์ทดลองและแบ่งหนูเป็น 2 กลุ่ม การทดลองครั้งนี้เราต้องจัดสิ่งใดให้แตกต่างกัน

1 ปริมาณน้ำ

2 สถานที่เลี้ยง

3 ลักษณะอาหาร

4 จำนวนวันที่ใช้ทดลอง

79. “การออกกำลังกายอยู่เสมอจะทำให้ร่างกายของเราแข็งแรงมากขึ้น” นักเรียนคิดว่าคำใดที่ต้องกำหนดนิยามเชิง

ปฏิบัติการ (ให้ความหมาย)

1 ร่างกาย

2 แข็งแรง

3 การออกกำลังกาย

4 ทุกข้อที่กล่าวมา

80. ในปัจจุบันพบว่า เมื่อตรวจสอบอาหารต่าง ๆ แล้วจะพบโลหะหนักที่เป็นสารพิษเจือปนอยู่ เช่น ปรอท ตะกั่ว และแคดเมียม นักเรียนจะป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นนี้ได้ด้วยวิธีใด

1 ไม่รับประทานอาหารที่มีสีฉูดฉาด

2 ไม่ใช้ภาชนะที่เป็นตะกั่วหรือภาชนะที่ทาสีใส่อาหาร

3 ไม่รับประทานอาหารกระป๋องที่ตะเข็บไม่เรียบร้อยและมีสนิมขึ้น

4 อ่านฉลากเพื่อตรวจสอบรายละเอียดของส่วนประกอบของสารอาหารและกระบวนการผลิตทุกครั้งก่อนซื้อมา

บริโภค

 

แบบอัตนัย

คำชี้แจง ตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง

1.  นักเรียนมีหลักในการเลือกกินอาหารอย่างไร จึงจะทำให้ได้สารอาหารครบถ้วนสมบูรณ์ตามที่ร่างกายต้องการ

 

2. การเคลื่อนที่ของสีมีความแตกต่างกันขณะทำการแยกสารเนื้อเดียวกัน ความแตกต่างกันของการเคลื่อนที่เหล่านั้นสามารถอธิบายข้อความรู้อะไรบ้าง

 

เฉลยข้อสอบปลายภาค ชุดที่ 1

แบบปรนัย

1. 4                 2. 1                   3. 1                 4. 3                   5. 4                  6. 2                7. 2              8. 4               9. 4           10. 2

11. 4      12. 4     13. 1       14. 3       15. 4      16. 4       17. 3       18. 4      19. 4         20. 4

21. 2      22. 1                  23. 4          24. 4    25. 2             26. 3    27. 1         28. 429. 2        30. 2

31. 132. 2                  33. 2          34. 1    35. 3                36. 3    37. 4         38. 239. 3 40. 1

41. 142. 2                  43. 1          44. 3    45. 4             46. 3     47. 3          48. 449. 350. 2

51. 4     52. 1                  53. 4          54. 1    55. 3             56. 2    57. 3         58. 159. 1        60. 2

61. 262. 3                  63. 4          64. 2    65. 4                66. 3    67. 4         68. 469. 4 70. 1

71. 172. 3                  73. 1          74. 3    75. 1             76. 3    77. 4          78. 379. 3 80. 3

 

แบบอัตนัย

1. หลักในการเลือกกินอาหารที่ถูกต้องคือ ควรพยายามกินอาหารหลาย ๆ อย่างสลับกันไป อย่ากินเพียงน้อยชนิดอยู่เป็นประจำ ทั้งนี้

เพราะไม่มีอาหารชนิดใดที่จะให้คุณค่าทางโภชนาการทุกอย่างได้ครบถ้วน และอาจทำให้ขาดสารอาหารได้ อย่างไรก็ตามในการเลือกกินอาหารในแต่ละวันต้องรู้จักเลือกให้เหมาะกับเพศ วัย และสภาพของร่างกายด้วย

2. สารที่เคลื่อนที่ออกมาจากสารละลายก่อนแสดงว่าละลายน้ำได้ดีและถูกดูดซับได้น้อยจึงเคลื่อนที่ได้เร็ว สารที่เคลื่อนที่ออกมาทีหลังแสดงว่าละลายน้ำได้ไม่ดี และถูกดูดซับได้ดีจึงเคลื่อนที่ได้ช้า

 

หมายเลขบันทึก: 548935เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2013 06:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กันยายน 2013 06:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท