การให้เหตุผลทางคลินิกกิจกรรมบำบัด ในผู้รับบริการ Colles fracture (ABCD & FEAST)


กระบวนการให้เหตุผลทางคลินิกทางกิจกรรมบำบัดในรูปแบบ Client-centered จากการเรียนรู้ในห้องเรียน ประกอบด้วย ABCD และ FEAST เมื่อเรียนรู้หลัก และกระบวนการแล้ว ดิฉันจึงนำมาปรับใช้กับกรณีศึกษาที่ได้ฝึกปฏิบัติงานในครั้งที่ผ่านมา โดยสามารถอ่านรายละเอียดของผู้รับบริการได้ ที่นี่

ABCD

Audience (สิ่งที่ผู้รับบริการได้รับข้อมูลหรือสิ่งที่ได้ฟังจากผู้บำบัด) โดยในผู้รับบริการท่านนี้ได้รับข้อมูลดังต่อไปนี้

  • ปัญหาของผู้รับบริการในด้านต่างๆ จากการประเมินความสามารถของผู้รับบริการโดยการสังเกต สัมภาษณ์ และการใช้แบบประเมินทั้งแบบประเมินมาตรฐาน และไม่มาตรฐาน โดยผู้รับบริการไม่สามารถกำมือได้สุดช่วงการเคลื่อน บกพร่องด้านการรับความรู้สึกบริเวณที่มีพยาธิสภาพ รวมถึงความแข็งแรง ความทนทาน และความคล่องแคล่วในการทำงานของมือน้อยกว่าปกติในค่ามาตรฐาน
  • การตั้งเป้าประสงค์ร่วมกัน โดยคำนึงถึงความต้องการของผู้รับบริการร่วมด้วย
  • การให้การรักษาฟื้นฟู และการให้ Home program แก่ผู้รับบริการ

Behavior (พฤติกรรมที่เป็นปัญหาต่อการรักษาฟื้นฟู) ซึ่งในผู้รับบริการ มีปัญหาในด้านการเดินทางมาโรงพยาบาลเพื่อทำการฟื้นฟู เนื่องจากระยะทางและการเดินทางไม่สะดวก ส่งผลให้ไม่ได้รับการรักษาฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง และส่งผลถึงความก้าวหน้าในการรักษาร่วมด้วย

Conditions(การวินิจฉัยโรค และภาวะของโรค) ผู้รับบริการได้รับการวินิจฉัยคือ Close fracture of left distal radius ส่งผลต่อความสามารถของผู้รับบริการในช่วงการเคลื่อนไหว ความแข็งแรง ความทนทาน และความคล่องแคล่วในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตของผู้รับบริการ

Degree/measurable goal (ความรุนแรงของโรค และการวางแผนการรักษาที่สามารถวัดผลได้) ประกอบด้วยรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • เพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวของข้อต่อบริเวณมือและข้อมือ
  • เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมือและนิ้วมือของผู้รับบริการ
  • เพิ่มความทนทานในการทำกิจกรรมของผู้รับบริการ
  • เพิ่มความคล่องแคล่วของมือในการทำกิจกรรม

โดยจากแผนการรักษาข้างต้น สามารถวัดผลได้จากเครื่องมือมาตรฐาน และการใช้เวลาเป็นเครื่องมือในการวัดร่วมด้วย

FEAST

Function/occupational performance areas (กิจกรรมการดำเนินชีวิตที่ผู้รับบริการต้องทำ) ผู้รับบริการประกอบอาชีพเกษตรกร (ทำนา) โดยกิจกรรมที่ผู้รับบริการต้องทำได้แก่

  • กิจกรรมการดำเนินชีวิต
  • กิจกรรมยามว่าง ได้แก่ จูงวัวไปกินหญ้า และพูดคุยสนทนากับเพื่อนบ้านเป็นประจำทุกวัน
  • กิจกรรมการทำงาน ประกอบอาชีพ คือการทำนา จากที่กล่าวไว้ข้างต้น

Expectation (ความคาดหวังของผู้รับบริการ) ผู้รับบริการมีความคาดหวังต้องการกลับไปประกอบอาชีพ และช่วยเหลือครอบครัวในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตต่างๆ เช่น ทำอาหาร ทำความสะอาดเสื้อผ้า เป็นต้น

Action (ความสามารถของผู้รับบริการ) ผู้รับบริการสามารถทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตได้โดยใช้มือข้างขวา (ข้างปกติ) ในการทำกิจกรรมส่วนใหญ่ แต่ในกิจกรรมการใช้มือทั้งสองข้างร่วมกันในการทำกิจกรรมสามารถทำได้ แต่ช้ากว่าปกติ และขาดความคล่องแคล่วในการทำกิจกรรม

Specific condition(เงื่อนไขเฉพาะเจาะจง) ประกอบด้วยรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • มีการจำกัดการเคลื่อนไหวของข้อต่อบริเวณข้อมือและนิ้วมือ ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้สุดช่วง
  • ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมือในการทำมือ กระดกข้อมือน้อยกว่าในข้างปกติ และค่ามาตรฐาน
  • ความทนทานในการทำกิจกรรมน้อยกว่าข้างขวา และในค่ามาตรฐาน
  • ความคล่องแคล่วในการทำงานของมือน้อยกว่าในค่ามาตรฐาน

Timeline (ระยะเวลาในการรักษา)

  • เพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวของข้อต่อบริเวณมือและข้อมือ 5 องศาหลังเข้ารับบริการทางกิจกรรมบำบัดเป็นเวลา 3 สัปดาห์
  • เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมือและนิ้วมือของผู้รับบริการ 2 kg. หลังเข้ารับบริการทางกิจกรรมบำบัดเป็นเวลา 4 สัปดาห์
  • เพิ่มความทนทานในการทำกิจกรรมของผู้รับบริการ จากการหนีบไม้หนีบ 15 ตัวเป็น 25 ตัว หลังเข้ารับบริการทางกิจกรรมบำบัดเป็นเวลา 4 สัปดาห์
  • เพิ่มความคล่องแคล่วของมือในการทำกิจกรรม groove pegboard เพิ่มขึ้นจาก 5.20 เป็น 4 นาที หลังเข้ารับบริการทางกิจกรรมบำบัดเป็นเวลา 4 สัปดาห์

 

หลังจากทำการรักษาฟื้นฟูตามระยะเวลาที่กำหนด พบว่าผู้รับบริการมีความสามารถเพิ่มขึ้นตามเป้าประสงค์ที่ได้ตั้งไว้อย่างไรก็ตามการใช้หลักการใดก็ตาม ควรคำนึงถึงความต้องการของผู้รับบริการร่วมด้วยซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการฟื้นฟูรักษา ในการให้ผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง (Client-centered) และการรักษาฟื้นฟูที่เหมาะสมกับบริบทของผู้รับบริการ เพื่อส่งเสริมให้ผู้รับบริการสามารถทำได้เอง และเกิดความก้าวหน้าทางการรักษาตามลำดับ

หมายเลขบันทึก: 548892เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2013 17:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 กันยายน 2013 17:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท