คณะเกษตรฯ มข.อบรมนานาชาติ ยกความสำคัญอาหารพื้นบ้านแก้ปัญหาขาดแคลน


อบรมนักวิชาการนานาชาติ ให้ความสำคัญอาหารพื้นบ้าน เป็นการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้ด้านอาหารพื้นบ้านของไทยให้กระจายไปทั่วโลก และเพื่อยกระดับอาหารพื้นบ้านสู่การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนอาหารของมวลมนุษยชาติ

        

เมื่อวันจันทร์ที่ 2 กันยายน 2556 ณ ห้อง 8003 อาคารAG08 คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒาระหว่างประเทศ (สพร.) กระทรวงการต่างประเทศ เปิดการอบรมหลักสูตร การนำอาหารพื้นบ้านเพื่อความมั่นคงของอาหารมนุษย์ :Utilizing Indigenous Food Resources for Food Security ครั้งที่ 2 ให้แก่นักวิชาการนานาชาติ จำนวน 13 คน จาก 13 ประเทศ โดยได้รับเกียรติจาก นางสาววีระยา จารุอำพรพรรณ ผู้อำนวยการภารกิจ ภารกิจความร่วมมือกับต่างประเทศเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และ Mr.Hiroyuki Konuma ผู้อำนวยการองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาติ (FAO)ประจำภูมิภาคเอเชียและแปซฟิกเป็น Key Note Speaker โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.มนต์ชัย ดวงจินดา คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ เป็นประธานพิธี มีรองศาสตราจารย์ ดร.วิโรจน์ ภัทรจินดา รองคณบดีฝ่ายวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี รองศาสตราจารย์ ดร.ยุพา หาญบุญทรง ผู้จัดหลักสูตรฝึกอบรมนานาชาติ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไกรเลิศ ทวีกุล ผู้ประสานงานโครงการ พร้อมทั้งคณาจารย์และวิทยากรผู้อบรม ร่วมให้การต้อนรับผู้เข้าอบรม จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 1-27 กันยายน 2556 ณ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
          รศ.ดร.ยุพา หาญบุญทรง กล่าวว่า การจัดอบรมหลักสูตร การนำอาหารพื้นบ้านเพื่อความมั่นคงของอาหารมนุษย์ หรือUtilizing Indigenous Food Resources for Food Security จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อ ยกระดับความสำคัญของอาหารพื้นบ้านในการแก้ไขการขาดแคลนอาหาร และแลกเปลี่ยนประสบการณ์และบทบาทของนานาประเทศด้านการส่งเสริมและสนับสนุนอาหารพื้นบ้าน อีกทั้งเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้ด้านอาหารพื้นบ้านของไทยให้กระจายไปทั่วโลก โดยครั้งแรกได้จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 3-28 กันยายน 2555 ซึ่งประสบผลสำเร็จเป็นอย่างมาก เนื่องจากการจัดรูปแบบการฝึกอบรม กิจกรรมที่ใช้ในการฝึกอบรมและคณาจารย์ที่ได้มาร่วมให้การอบรม เป็นไปอย่างเหมาะสมกับผู้ที่เข้าฝึกอบรมทุกประเทศ นอกจากนี้ ผู้เข้าฝึกอบรมได้เรียนรู้ทั้งด้านอาหารพื้นบ้านและวัฒนธรรมที่หลากหลายจากชาวบ้านในชุมชนต่างๆ โดยเฉพาะที่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ที่สำคัญ ถึงแม้ว่าเป็นการอบรมครั้งแรก แต่ก็สามารถที่จะยกระดับอาหารพื้นบ้านสู่การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนอาหารของมวลมนุษยชาติได้
          ผู้เข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ มีจำนวน 13 คน จาก 13 ประเทศ ได้แก่ 1)
Ms. Wei Li จีน 2) Mrs. Suraiya Khatun บังคลาเทศ 3) Mrs. Maneo Veronica Jone เลโซโท 4) Mr. Rajeshwar Silwal เนปาล 5) Mr. Shukhrat Narkulovich Isakulov อุซเบกิสถาน 6) Ms. Menisa A. Antonio ฟิลิปปินส์ 7) Mr. Ibrahim Sharafeldin Barka ลิเบีย 8) Mr. H G H Jkeerthirathne ศรีลังกา 9) Mrs. Tanhia Andrianasy มาร์ดากัสกา 10) Mr. Zaw Naing พม่า 11) Mr. Ibrahim Zakaiyya มัลดีฟ 12) Mrs. Siti Rahimma อินโดนีเซีย และ 13) Ms. Nipa Semmee ประเทศไทย 

          กิตติศักดิ์ สิงหา วิเคราะห์ สังเคราะห์และเผยแพร่



    

หมายเลขบันทึก: 548612เขียนเมื่อ 18 กันยายน 2013 12:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 กันยายน 2013 12:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

 

    ขอบคุณบันทึกดีดีนี้ค่ะ .... 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท