อภิปรายการจัดทำโครงการ ALCOHOL LOVER


เป็นบันทึกสุดท้ายของโครงการ ALCOHOL LOVER ที่ได้พูดถึงการหาข้อมูลและนำบทความต่างๆที่มีความเกี่ยวข้องกับโครงการมาอภิปรายและเลือกปรับประยุกต์ใช้กับโครงการของพวกเรา รวมถึงได้มีการพูดถึง ข้อจำกัดของแต่ละบทความและการนำไปปรับใช้ในอนาคตด้วย

อภิปรายการจัดทำโครงการ ALCOHOL LOVER

 

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร

Reference: จักรพันธ์ กิตตินรรัตน์ และนิพิฐพนธ์ สนิทเหลือ. (2554).ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร.ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

เกี่ยวกับงานวิจัย:เป็นงานวิจัยที่ศึกษาพฤติกรรม และปัจจัยที่กำหนดพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษา ด้วยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของปัจจัยด้านบุคคลครอบครัว สังคมและสิ่งแวดล้อม และความคาดหวังจากการดื่ม ที่มีต่อพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นประโยชน์เพื่อใช้เป็นแนวทางในกำหนดมาตรการ นโยบายส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการดื่มรวมถึง การนำไปใช้เป็นแนวทางควบคุมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในกลุ่มเยาวชนที่เป็นนักศึกษา และกลุ่มประชากรอื่นๆ

Limitation: การศึกษาครั้งนี้ มีปัจจัยเพศเป็นตัวรบกวนในการศึกษา ครั้งต่อไปควรจะแยกอิทธิพลของเพศออกมา แล้วจึงทำการศึกษาปัจจัยในข้ออื่นๆ

Implication: จากงานวิจัยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร ทำให้มีแนวทางในการกำหนดนโยบายหรือมาตรการเพื่อป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตัวอย่างเช่นจากผลการวิจัยพบว่าการคบเพื่อนที่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เป็นตัวทำนายที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการตัดสินใจดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ดังนั้นสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสนใจกับพฤติกรรมของกลุ่มนักศึกษาให้มีกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน รวมถึงการสร้างความตระหนักถึงผลของการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพื่อกระตุ้นให้เกิดความสนใจและตระหนักถึงผลที่ เกิดขึ้นจากเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ดังเช่น การจัดทำโครงการ Alcohol Lover ที่จัดทำขึ้นในกลุ่มนักศึกษาคณะกายภาพบำบัด มหิดล

Application: สำหรับการวิจัยในอนาคต ควรเพิ่มกลุ่มตัวอย่างให้ใหญ่ขึ้น เพื่อให้สามารถอ้างอิงไปถึงนักศึกษาในประเทศไทยได้ และควรเพิ่มการศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นในกลุ่มตัวอย่างและบุคคลรอบข้าง เพื่อหาแนวทางแก้ไขและป้องกันเพิ่มเติม นอกจากนี้ควรมีการการศึกษาเชิงนโยบาย เพื่อศึกษาว่ามีนโยบายใดที่มีประสิทธิผลต่อการควบคุมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อนำมาปรับเป็นกลยุทธ์ในการควบคุมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในกลุ่มนักศึกษา

 

Stress and developmental of depression and heavy drinking in adulthood: moderating effects of childhood trauma

Reference:Colman I, Garad Y, Zeng Y, Naicker K, Weeks M, Patten SB, Jones PB, Thompson AH, Wild TC (2012) Stress and developmental of depression and heavy drinking in adulthood: moderating effects of childhood trauma. Soc Psychiatry Psychiatric Epidemiology 48:256-274

รายละเอียดเนื้อหางานวิจัย วัยรุ่นที่มีเหตุการณ์กระทบกระเทือนจิตใจในวัยเด็ก เช่น 1.ต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล มากกว่าสองสัปดาห์ขึ้นไป  2.บิดา มารดาหย่าร้างกัน  3.บิดา มารดาไม่ได้ประกอบอาชีพ  4.มีประสบการณ์ที่ทำให้ตกใจหรือโดนขู่ขวัญ  5.หนีออกจากบ้านไปทำสิ่งไม่ดี  6. ครอบครัวใช้สารเสพติดหรือติดแอลกอฮอล์  7.โดนทำร้ายร่างกายโดยบุคคลใกล้ชิด เหตุการณ์เหล่านี้ที่เกิดขึ้นในวัยเด็กส่งผลต่อการเกิดความซึมเศร้าและการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากในช่วงวัยรุ่น

Limitation
1. การรายงานข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจในวัยเด็กมีความเที่ยงตรงต่ำ เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างที่สัมภาษณ์อยู่ในช่วงวัยรุ่นต้องทบทวนเหตุการณ์ในอดีต(วัยเด็ก) และกลุ่มตัวอย่างอาจให้ข้อมูลไม่ครบถ้วน
วิธีการแก้ไข คือวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลนอกจากเก็บจากกลุ่มตัวอย่างแล้ว ควรสอบถามจากบุคคลรอบข้างด้วย เช่น บิดา มารดา และญาติ
2. กลุ่มตัวอย่างจำนวนมากที่ได้รับการกระทบกระเทือนจิตใจในวัยเด็ก โดยมีระดับความเครียดสูงในปัจจุบัน และมีความเสี่ยงในการเกิดความซึมเศร้า และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก กลุ่มตัวอย่างจำนวนนี้ถูกแยกออกจากการวิจัย ทำให้ผลลัพธ์ของงานวิจัยไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างวัยรุ่นที่ได้รับการกระทบกระเทือนจิตใจในวัยเด็ก และความเครียดในปัจจุบัน ที่ส่งผลต่อความซึมเศร้าและการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก
วิธีการแก้ไข คือการวิจัยครั้งต่อไปควรเพิ่มจำนวนกลุ่มตัวอย่างให้มีจำนวนมากขึ้น

Implication จากข้อมูลงานวิจัยสรุปได้ว่า เด็กที่มีเหตุการณ์กระทบกระเทือนจิตใจในวัยเด็ก เช่น บิดา มารดาแยกทางกัน, บิดา มารดาไม่ได้ประกอบอาชีพ, บุคคลในครอบครัวและคนใกล้ชิดมีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือใช้สารเสพติด ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อความซึมเศร้าและการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากในวัยรุ่น จากข้อมูลดังกล่าวสามารถนำมาใช้ในการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวัยรุ่น โดยขจัดสาเหตุของปัญหา เช่น ลดความรุนแรงในครอบครัว, ลด ละ เลิกการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของบิดา มารดา และบุคคลที่ใกล้ชิด เป็นต้น 

Application  การประยุกต์ใช้ในอนาคต คือการนำงานวิจัยนี้ไปใช้กับบุคคลทุกช่วงวัยในการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่นการลดปัญหาความรุนแรงในครอบครัว การทำกิจกรรมร่วมกันทุกวันอาทิตย์เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ของบุคคลในครอบครัว และลดปัญหาการหย่าร้าง เป็นต้น
สำหรับการประยุกต์การทำวิจัยในอนาคต คือควรทำการศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุให้เกิดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก โดยใช้กลุ่มตัวอย่างในทุกช่วงวัย และมีกลุ่มตัวอย่างจำนวนมาก

 

Gender Differences in Factors Influencing Alcohol Use and Drinking Progression Among Adolescents

By  :  Marya T. Schulte, M.S., Danielle Ramo, Ph.D., and Sandra A. Brown, Ph.D.

Limitationของบทความนี้คือกล่าวถึงปัจจัยที่มีผลต่อการดื่มเพียงในช่วงอายุ 13-18 ปี เท่านั้นและไม่มีวิธีการรักษาหรืองานวิจัยทางคลินิค

Implication บทความนี้เป็นบทความเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงอายุ 13-18 ปี ทำให้นำไปประยุกต์กับวัยอื่นไม่ได้ผลมากนักเพราะปัจจัยต่างๆย่อมแตกต่างกันออกไปในแต่ละช่วงอายุ และบทความนี้ไม่ได้เริ่มผลตั้งแต่วัยเด็กที่อาจมีสาเหตุมาจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมในครอบครัวซึ่งเป็นปัญหาส่วนใหญ่ของการดื่มแอลกอฮอล์ และในบทความนี้ไม่ได้กล่าวถึงงานวิจัยทางคลินิคและวิธีการรักษาอีกด้วย

Application สามารถนำข้อมูลจากบทความนี้ไปประยุกต์ให้เข้ากับการรักษาเพื่อดูปัจจัยต่างๆที่ส่งผลต่อการดื่มแอลกอฮอล์ในผู้ที่มีอายุระหว่าง 13-18 ปี

 

AUDIT แบบประเมินปัญหาการดื่มสุรา  แนวปฏิบัติสำหรับสถานพยาบาลปฐมภูมิ

Reference:  Thomas F, John C, John B, Maristela G. The alcohol use disorders identification test: guidelines for use in primary care.  AUDIT แบบประเมินปัญหาการดื่มสุรา 2552

รายละเอียด : อธิบายถึงการดูแลแบบครบวงจรตั้งแต่การคัดกรองและการบำบัดแบบระยะสั้นสำหรับผู้รับบริการที่มีปัญหาการดื่มสุราและสามารถเลือกใช้แบบประเมิน Audit ซึ่งเป็นการแนะนำวิธีการใช้แบบประเมินปัญหาการดื่มสุรา Alcohol Use Identification test : Audit  โดยได้อธิบายถึงการคัดกรองการดื่มสุราแบบมีความเสี่ยงและแบบอันตราย  ถูกพัฒนาโดย WHO

Limitation  การแปลแบบประเมินน AUDIT ไปใช้นั้น ไม่สามารถแปลได้ตรงตามตัวอักษร   เนื่องจากปัจัยทางสังคมวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ   ข้อจำกัดในการนำการคัดกรองด้วยแบบประเมิน AUDIT ไปใช้ คือ เรื่องค่าใช้จ่ายและการยอมรับจากเจ้าหน้าที่และผู้รับบริการที่เป็นกลุ่มเป้าหมายในการคัดกรอง

Implication   ปัจจัยทางด้านสังคมวัฒนธรรมต้องได้รับการพิจารณาความหมายเฉพาะ เช่น   ธรรมเนียมการดื่มเครื่องดื่มแอลกฮอล์ที่นิยมในแต่ละประเทศ   จึงทำให้การนำแบบประเมิน AUDIT ไปปรับใช้ ควรมีการเปลี่ยนดัดแปลงคำถามให้สอดคล้องกับท้องถิ่นนั้นๆ

Application   การนำแบบประเมิน AUDIT ไปปรับใช้ตามสถานบริการ บุคลากร และกลุ่มผู้รับบริการ

 

ขอบคุณสำหรับการติดตามนะค่ะ

และสามารถอ่านเนื้อหาส่วนต่างๆของโครงการ ALCOHOL LOVER เพิ่มเติมได้ตามลิงค์ด้านล่างเลยค่ะ

1. หลักการและเหตุผล                                http://www.gotoknow.org/posts/543082

2. วิธีการดำเนินโครงการ (method)               http://www.gotoknow.org/posts/543842

3. ผลการดำเนินโครงการ (change)               http://www.gotoknow.org/posts/543333

4. อภิปรายการจัดทำโครงการ (discussion)      http://www.gotoknow.org/posts/548316

5. VDO ALCOHOL LOVER                      http://youtu.be/zEFyZZRaN4A

หมายเลขบันทึก: 548316เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2013 06:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กันยายน 2013 07:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท