aungor
นางสาว บุญศิริ ศิริสวัสดิ์

การตรวจวัดคุณภาพน้ำด้วยเครื่องมือตรวจวัดภาคสนาม


การตรวจวัดคุณภาพน้ำด้วยเครื่องมือตรวจวัดภาคสนาม

โดยปกติจะสามารถตรวจวัดได้ 2 วิธี คือ
      1.ตรวจวัดในแม่น้ำลำธารหรือแหล่งน้ำโดยตรง คือ การใช้หัววัดคุณภาพน้ำจากเครื่องมือต่างๆ จุ่มลงในน้ำ และอ่านค่าที่วัดได้ขณะนั้นโดยตรงในเวลาเดียวกับการเก็บน้ำ  ส่วนใหญ่จะตรวจวัดในกรณีที่ต้องลงเรือเก็บตัวอย่างน้ำ  ซึ่งสามารถสัมผัสน้ำได้ในระยะใกล้หรือใช้ตรวจสอบแหล่งน้ำตื้น


      2.ตรวจวัดบนฝั่ง คือ การตรวจวัดคุณภาพน้ำในภาชนะหรือขวดเก็บตัวอย่างขึ้นมา  โดยใช้หัววัดจุ่มลงในภาชนะที่บรรจุตัวอย่างน้ำและอ่านค่าที่วัดได้ขณะนั้น ส่วนใหญ่จะตรวจวัดในกรณีที่มีการเก็บตัวอย่างน้ำบนสะพานซึ่งไม่สามารถสัมผัสน้ำได้ในระยะใกล้


     ทุกครั้งก่อนนำเครื่องมือมาใช้ตรวจสอบคุณภาพน้ำภาคสนามต้องทำการปรับเทียบความถูกต้อง(Calibration)ให้มั่นใจว่าเครื่องมือใช้ได้และอยู่ในเกณฑ์ที่น่าเชื่อถือตามข้อเสนอแนะในคู่มือการใช้งานเสมอ    
       พารามิเตอร์ที่ต้องตรวจวัดคุณภาพในภาคสนาม ด้วยวิธีการตรวจวัดโดยใช้เครื่องมือตรวจสอบคุณภาพน้ำ ประกอบด้วย 4 ชนิด    ปกติเทคนิควิธีการใช้เครื่องมือแต่ละเครื่องให้ยึดตามคู่มือการใช้งานเป็นสำคัญ  ในการนี้จะกล่าวถึงเทคนิค  และสิ่งที่ควรคำนึงถึงสำหรับการใช้เครื่องมือเบื้องต้น   ซึ่งอาจประยุกต์ใช้กับเครื่องมือในหลายยี่ห้อ  ได้แก่ 
      1.เครื่องมือตรวจสอบค่าความเค็ม การนำไฟฟ้า และอุณหภูมิ ในเครื่องเดียวหรือ S-C-T Meter
         การตรวจสอบคุณภาพน้ำทั้ง 3 พารามิเตอร์ สามารถตรวจวัดได้โดยเครื่องมือเดียวกันที่เรียกว่า S-C-T Meter  ซึ่งเป็นที่นิยมใช้ในหน่วยงาที่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพน้ำ
         กรณีการตรวจวัดแหล่งน้ำโดยตรง
         สามารถจุ่มหัววัดลงในแหล่งน้ำได้เลย  อาจไม่ต้องทำความสะอาด  เพราะปกติก่อนเก็บหัววัดจะต้องทำความสะอาดอยู่แล้ว
         การวัดค่าคุณภาพน้ำ   ให้จุ่มหัววัดลงในแหล่งน้ำในตำแหน่งที่ต้องการอ่านค่าที่วัดได้จากหน้าจอแสดงค่า  และเก็บบันทึกค่าคุณภาพน้ำเมื่อตัวเลขที่แสดงมีค่าคงที่
         กรณีการตรวจวัดในภาชนะบรรจุตัวอย่างน้ำ 
        ให้ทำความสะอาดหัววัดโดยใช้น้ำกลั่นล้างหัววัดให้สะอาดแล้วซับหัววัดให้แห้งโดยใช้กระดาษทิชชูหรือผ้าที่สะอาดหรืออาจล้างหัววัดด้วยน้ำตัวอย่างอีกครั้งก่อนการวัดจริง
         การวัดค่าคุณภาพน้ำ   ให้จุ่มหัววัดลงในตัวอย่างทน้ำในภาชนะโดยให้น้ำท่วมหัววัดในระดับที่เหมาะสม พยายามอย่าให้หัววัดสัมผัสกับภาชนะ  และอ่านค่าที่ได้จากหน้าจอแสดงค่า  โดยบันทึกค่าคุณภาพน้ำเมื่อตัวเลขแสดงค่ามีค่าคงที่
      2.เครื่องมือตรวจสอบค่าความเป็นกรด-ด่าง หรือ pH Meter
         โดยทั่วไปการตรวจวัดค่าความเป็นกรด-ด่างที่ดีต้องตรวจวัดในแหล่งน้ำโดยตรง  ยกเว้นในแหล่งน้ำที่มีอัตราการไหลสูง  มีตะกอนแขวนลอย หรือสาหร่ายหนาแน่น  การตรวจวัดความเป็นกรด-ด่างในภาชนะบรรจุตัวอย่างน้ำจะดีกว่า  เพระจะมีผลต่อความถูกต้องของการตรวจวัด  และอาจเสี่ยงต่อความเสียหายของหัววัด
         กรณีการตรวจวัดแหล่งน้ำโดยตรง  
         สามารถจุ่มหัววัดลงในแหล่งน้ำได้เลย  อาจไม่ต้องทำความสะอาด เพราะปกติก่อนเก็บหัววัดจะต้องทำความสะอาดอยู่แล้ว  และหัววัดจะต้องมีฝาครอบหรืออุปกรณ์ป้องกันการกระแทกจากวัสดุหรือของแข็งที่แวนลอยในน้ำหรือภาชนะขณะตรวจวัด เพราะหัววัดส่วนใหญ่มักจะเปราะบางแลแตกได้ง่าย
         การตรวจวัดค่า pH  ให้จุ่มหัววัดลงในแหล่งน้ำในตำแหน่งที่ต้องการ  อ่านค่าที่วัดได้จากหน่้าจอแสดงค่า  และเก็บบันทึกค่าคุณภาพน้ำ เมื่อตัวเลขที่แสดงมีค่าคงที่
         กรณีการตรวจวัดในภาชนะบรรุตัวอย่างน้ำ
         ให้ทำความสะอาดหัววัดโดยใช้น้ำกลั่นล้างหัววัดให้สะอาด  แล้วซับหัววัดให้แห้งโดยใช้กระดาษทิชชูหรือผ้าที่สะอาด และล้างหัววัดด้วยน้ำตัวอย่างอีกครั้งก่อนวัดจริง
          การตรวจวัดค่า pH ให้จุ่มหัววัดลงในตัวอย่างน้ำในภาชนะ  โดยให้น้ำท่วมหัววัดในระดับที่เหมาะสมหรือสามารถวัดค่าได้ พยายามอย่าให้หัววัดสัมผัสกับภาชนะ อาจใช้แท่งแก้วคนน้ำตัวอย่างในภาชนะให้เกิดการผสมกันอย่างดี (ไม่ต้องกวนแรงจนเกิดน้ำวน) และเก็บบันทึกค่าคุณภาพน้ำ เมื่อตัวเลขที่แสดงมีค่าคงที่
      3.เครื่องมือตรวจสอบค่าออกซิเจนละลาย หรือ DO Meter
         ปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำจะมีควาสัมพันธ์กับความดันบรรยากาศ  อุณหภูมิและปริมาณของแข็งละลายในน้ำ  ค่าออกซิเจนจะมีการเปลี่ยนแปลงเสมอเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของค่าดัชนีข้างต้น  ดังนั้น  การตรวจวัดค่าออกซิเจนจึงจำเป็นต้องตรวจวัดในแหล่งน้ำโดยตรง  เพื่อไม่ให้เกิดการตรวจวัดที่ผิดพลาด สำหรับวิธีการและเทคนิคมีดังนี้
         3.1ควรตรวจวัดค่า DO ทันที  พร้อมกับการเก็บตัวอย่างน้ำ  และตรวจวัดในแหล่งน้ำโดยตรง
         3.2กรณีแหล่งน้ำมีอัตราการไหลของน้ำสูงมาก ๆ หรือมีความผันผวนในการไหลมากๆ อาจทำให้การตรวจวัดค่า DO มีความผิดพลาดได้ควรตรวจวัด โดยใช้วิธีการของ Winker method หรือการวิเคราะห์ทางเคมีโดยการไตเตรท(Titration)
         3.3เนื่องจากหัววัด DO-Meter ประกอบด้วยเหยื่อบางหรือ Membrane ซึ่งบบอบางและง่ายต่อการฉีกขาดเสียหาย 
ฉะนั้นควรมีอุปกรณ์ป้องกันการกระแทกของหัววัดติดไว้ทุกครั้งขณะที่ตรวจวัดค่า DO ในแหล่งน้ำ และไม่ควรใช้หัววัดในที่มีกระแส
น้ำรุนแรง
         3.4ควรเก็บหัววัด DO ในสภาพที่ชุ่มชื่นอยู่เสมอ ในอุปกรณ์เฉพาะสำหรับเก็บหัววัด และควรเก็บเครื่องมือในสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวกไม่ร้อนหรือเย็นเกินไป
      4.เครื่องมือตวจสอบค่าความขุ่นของน้ำ  หรือ Turbidity Meter โดยใช้ Turbidity-Meter
         ปัจจุบันเทคนิคการตรวจวัดค่าความขุ่นมี 3 เทคนิค คือ
         4.1การวัดโดยใช้วิธี Nephelometric method
         4.2การวัดโดยวิธีการใช้หัววัดใต้น้ำ  (Submersible sensor)
         4.3การวัดโดยการใช้ Spectrophotometer method
         วิธี Nephelometric method เป็นวิธีที่นิยมใช้กันในปัจจุบันเนื่องจากเป็นวิธีที่ออกแบบขึ้นมาโดยเฉพาะสำหรับการตรวจวัดค่าความขุ่นโดยตรง  วิธีการตรวจวัดนี้เป็นการตรวจวัด โดยใช้ตัวอย่างน้ำจากภาชนะบรรจุตัวอย่างน้ำ  ซึ่งจะต้องตรวจวัดในเวลาเดียวกับการเก็บตัวอย่างน้ำ 
        ข้อควรระวังในการตรวจวัดค่าความขุ่น
        1.ควรตรวจวัดค่าความขุ่นทันทีหลังจากการเก็บตัวอย่างน้ำ
        2.ไม่ควรใช้มือสัมผัสของหลอดแก้วเปียกบริเวฯที่จะต้องตรวจวัดโดยตรง
        3.ไม่ควรให้ผิวของแก้วเปียกหรือมีไอน้ำเกาะติดขณะตรวจวัด  ควรเช็ดให้แห้งด้วยกระดาษทิชชูหรือผ้าสำหรับเช็ดหลอดที่สะอาด
        4.ไม่ควรให้ตัวอย่างน้ำมีฟองน้ำขณะตรวจวัด
        5.ผิวของหลอดแก้วสำหรับวัดค่าความขุ่น ไม่ควรมีรอยขุูดขีดหรือมีความสกปรกขณะตรวจวัด
        6.ควรเก็บเครื่องมือไว้ในสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวกไม่ร้อนหรือเย็นจนเกินไป

หมายเลขบันทึก: 548059เขียนเมื่อ 12 กันยายน 2013 14:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กันยายน 2013 14:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

คิดว่าจะได้เห็นนวัตกรรมการเก็บน้ำ ที่ออกแบบไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท