บทสัมภาษณ์อาจารย์ Charles Keyes เกี่ยวกับบทบาทของศาสนาในกระบวนการสร้างชาติ ตอนที่ 1


เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว ผมอ่านงานเขียนเรื่องการสัมภาษณ์ระหว่างอาจารย์ Charles F Keyes กับ OPENCANADA.ORG ในเรื่องบทบาทของศาสนาเกี่ยวกับการสร้างชาติในประเทศไทย และพม่าด้วย อ่านไปก็รู้สึกว่าน่าสนใจ ก็เลยลองแปลดู การแปลของผมนี้เป็นการแปลแบบเก็บความ และได้เติมเนื้อหาเข้าไปบางส่วน ผมได้รับบทความนี้มาจากอาจารย์ Hara Shintaro จึงต้องขอขอบคุณไว้ในที่นี้ด้วยครับ

          อาจารย์ Charles F Keyes เป็นศาสตราจารย์กิตติคุณทางด้านมานุษยวิทยา และทำงานเกี่ยวกับการวิจัยในประเทศไทย เวียดนาม ลาว และเขมรในเรื่องพุทธศาสนาและยุคทันสมัย ,  ชาติพันธุ์และวัฒนธรรมแห่งชาติ, การเปลี่ยนแปลงของชนบท, และวัฒนธรรมกับการพัฒนา

       OPENCANADA.ORG: คุณมีกรอบความคิด (framework) เพื่อทำความเข้าใจเหตุใดที่ศาสนาจึงเข้าในกระบวนการสร้างชาติในสังคมที่เป็นอิสระ (newly-independentsocieties)หรือสังคมหลังความขัดแย้ง (post-conflict societies)บ้างไหม

        ดอกเตอร์ Keyes: เมื่อมีการเกิดชาติใหม่ๆนั้น กระบวนการสร้างชาติจึงเริ่มเกิดจากการเป็นเหนือครอบงำหรือเป็นอิสระของอิทธิพลจากต่างชาติ กล่าวคือในตอนขณะที่หรือหลังช่วงประกาศเอกราช  ผู้นำในขบวนการชาตินิยมประสบกับปัญหาเรื่องการสร้างค่านิยมในระดับชาติที่มากกว่าในต่อต้านจากชาติที่เข้ามาครอบงำตน และค่านิยมนั้นต้องเป็นที่นิยมในผู้คนส่วนใหญ่ในสังคม อย่างน้อยก็เพื่อบูรณภาพแห่งดินแดน และเพื่ออิสรภาพนั้นจะได้เป็นที่ยืนยันหรือจับต้องได้อย่างน้อยก็คนส่วนใหญ่ ในหลายๆกรณีศาสนาก็ได้เข้ามาเป็นมาตรการในกระบวนการสร้างชาตินี้ด้วย

     อย่างไรก็ตามการอ้างเอาศาสนาที่คนส่วนใหญ่นับถือไม่ว่าจะเป็นพุทธ, คริสต์ หรือ อิสลาม เช่นนั้นยังไม่เพียงพอ อันดับแรก ผู้คนที่อยู่เป็นคนส่วนใหญ่นั้นนับถือศาสนาที่เป็นสามัญสำนึก (common religion )นั้นต่างกัน เช่นคนในประเทศไทยและประเทศพม่านับถือประเพณีทางพุทธศาสนาต่างกัน อันดับสองก็คือ ศาสนาเดียวกันสามารถให้คนนับถือได้แม้ในรัฐต่างๆ พวกชาตินิยมมักจะถามว่าพุทธศาสนาในไทยหรือในพม่าอะไรถูกต้องที่สุด กล่าวคือเป็นแก่นแท้ หรือใกล้เคียงกับพุทธกาลมากกว่ากัน  

        ผู้นำทางการเมืองและทำงานร่วมกับผู้นำทางศาสนามักจะสร้าง ศาสนาประจำชาติ (national religion) หรือที่เรียกกันว่า ศาสนาแห่งพลเมือง (civic religion) ความพยามเหล่านี้จะเกิดผลในสถานที่ซึ่ง 1. มีการสลายระหว่างความแตกต่างทางพื้นที่ (local difference) 2. ผู้คนส่วนใหญ่ของรัฐชาตินั้นต่างนับถือศาสนาเดียวกัน 3. การทำให้อุดมการณ์ของความเป็นชาตินั้นอ่อนพลังลง ยกตัวอย่างเช่นในประเทศไทยและพม่านั้น สามารถที่จะยกพุทธศาสนาให้เป็นพุทธศาสนาแห่งชาติได้ แต่ในอีรัก ซีเรีย ปาเลสไตน์ ฯลฯ  มันยากที่จะสร้างอิสลามแห่งชาติ ที่วางอยู่บนความเป็นพลเมืองได้

        แต่ถึงแม้จะมีความสำเร็จในหลายๆกรณี ที่ชาตินิยมมีรากฐานมาจากศาสนา แต่คนกลุ่มน้อยที่นับถือศาสนาอื่นๆจะถูกมองว่าเป็นพลเมืองชั้นสอง และในหลายกรณีนับไปสู่ผลหรือสถานการณ์อันโหดร้าย สิ่งนี้เป็นจริงในกรณีฮินดู และทมิฬ คริสเตียน ในศรีลังกา และเป็นจริงสำหรับคนกลุ่มน้อยที่เป็นมุสลิมในประเทศไทยกับพม่า

เดี๋ยวมาต่อตอนที่ 2 นะครับ ช่วงนี้ผมไม่ค่อยว่างครับ
หมายเลขบันทึก: 547831เขียนเมื่อ 10 กันยายน 2013 08:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 กันยายน 2013 08:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท