สืบเนื่องจาก จะนำ PRA มาใช้ใน PAR ให้แยบยลได้อย่างไร, , และ
ตัวอย่างข้อมูลที่ผ่านกระบวนการ PRA ซึ่งเป็น รายงานข้อมูลระดับเขตเทศบาลตำบลเหนือคลอง 1 ชุมชน คือ ชุมชนท่ากรวด ซึ่งจัดทำโดย โครงการจัดการและคุ้มครองพื้นที่ชุ่มน้ำปากแม่น้ำกระบี่ จังหวัดกระบี่ เมื่อปีจัดทำเมื่อปี 2546 ให้ดูคำนำก่อนนะครับ ที่เหลือเปิดดูหรือดาวน์โหลดได้จากที่นี่ครับ
คำนำ
เอกสารการจัดทำข้อมูลชุมชนอย่างมีส่วนร่วม
ในระดับชุมชนหมู่บ้านและตำบลที่ได้จัดทำขึ้น
เป็นกระบวนการหนึ่งของงานข้อมูลจากหมู่บ้านและตำบล
ในพื้นที่การดำเนินงานโครงการจัดการและคุ้มครองพื้นที่ชุ่มน้ำปากแม่น้ำกระบี่
ซึ่งได้คัดเลือกพื้นที่เป้าหมาย 30 หมู่บ้าน/ชุมชน จากเดิม 45
หมู่บ้าน/ชุมชน ในเขต 8 ตำบล 2 เทศบาล
ในอำเภอเมืองกระบี่และอำเภอเหนือคลอง
ซึ่งโครงการดังกล่าวได้ดำเนินการภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ
(อนุสัญญา RAMSAR)
เพื่อมุ่งให้เกิดการจัดการและคุ้มครองพื้นที่ชุ่มน้ำอย่างชาญฉลาด
(Wise use) และอย่างยั่งยืน (Sustainability)
การจัดทำและเก็บข้อมูลในพื้นที่ดังกล่าว จะมีข้อมูลในระดับหมู่บ้าน
อย่างเช่น ข้อมูลสภาพทั่วไป ข้อมูลด้านทรัพยากร
ซึ่งรวมถึงกลุ่มองค์กรผู้รู้ในพื้นที่
ข้อมูลด้านปัญหาที่เกิดจากมุมมองของชุมชน
ส่วนข้อมูลระดับตำบลจะเป็นข้อมูลด้านประเด็นร่วมที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ
ซึ่งจะมีผลต่อการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำในระยะยาว
การจัดทำในครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือและสนับสนุนจากทุกฝ่ายด้วยดี
ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานโครงการจัดการและคุ้มครองพื้นที่ชุ่มน้ำส่วนกลาง
(กทม.) สำนักงานโครงการในพื้นที่จังหวัดกระบี่ และแกนนำชุมชน
ถึงแม้ว่ากระบวนการครั้งนี้
จะเป็นเรื่องใหม่ของชุมชนที่ต้องเป็นแกนสำคัญของงาน
และข้อมูลหลายอย่าง ชุมชนผู้เกี่ยวข้องอาจสามารถนำไปประยุกต์ใช้
เพื่อการสนับสนุนงานการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำส่วนอื่นๆ ต่อไป
อย่างไรก็ตาม
ทางคณะผู้จัดทำตระหนักดีว่า ด้วยขีดจำกัดในด้านต่างๆ
อาจทำให้เอกสารข้อมูลบกพร่องอยู่บ้าง หวังว่าคงจะได้รับคำแนะนำ
เพื่อการเรียนรู้และปรับปรุงในโอกาสต่อไป