นำจิตวิทยาเด็กมาใช้ในการจัดการเรียนรู้


ตามธรรมชาติของเด็กที่ต้องการแสดงออกให้ผู้อื่นยอมรับในความสามารถของตน  แต่พอมาถึงการเรียนในห้องเรียนภาษาอังกฤษ  นักเรียนจะไม่ค่อยกล้าแสดงออก

ทำอย่างไร  ที่จะให้พฤติกรรมการกล้าแสดงออกของนักเรียน  ในการอ่านภาษาอังกฤษ

 

 

ห้องเรียนจะเงียบทุกครั้งที่  ครูอ้อยเรียกให้นักเรียนมาอ่านภาษาอังกฤษหน้าชั้นเรียน  พฤติกรรมที่แสดงออกบ่อยมาก คือ การชี้คนอื่นให้ออกมาอ่านแทนตนเอง

ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น  เพราะอะไร  ง่ายๆคือ  นักเรียนขาดความเชื่อมั่นในตนเอง  ในขณะที่อ่านภาษาอังกฤษ

ครูอ้อยจึงใช้จิตวิทยาเรื่องนี้มาใช้ในการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ

 

เมื่อห้องเรียนเงียบนัก  นักเรียนส่วนใหญ่จะเลือกเพื่อนที่เรียนเก่งออกมาอ่านแทนตนเอง   คำศัพท์มีหลากหลาย  พยายามให้นักเรียนทุกคนได้อ่านพร้อมๆกัน   เปล่งเสียงดังๆ  

มีหลายๆคนที่ไม่ยอมออกเสียงเลย  และมีหลายๆคนที่ต้องการแสดงออกในการอ่าน  แต่ไม่กล้าออกมายืนหน้าชั้นเรียน

 

ครูอ้อยจึงเสริมความมั่นใจด้วยการให้เพื่อนที่เก่งช่วยด้วย  สลับการอ่านเท่าที่อ่านได้  และเพื่อนอื่นๆเป็นอย่างไร

แน่นอน  พวกเขาจะจับผิดเพื่อนว่าอ่านถูกต้องหรือไม่  บางทีก็เปล่งเสียงการอ่านคำนั้นออกมา

ครูอ้อยก็จะให้นักเรียนที่เป็นผู้นำ  เรียกเพื่อนคนนั้นออกมาอ่าน

 

สรุปแล้ว  นักเรียนมีความสามารถในการอ่านเท่าเทียมกัน  ไม่ได้มีใครอ่านได้มากกว่าเลย  เพียงแต่นักเรียนยังไม่มีความมั่นใจ  ขาดการอ่าน  ขาดการฝึกกการอ่าน  เท่าันั้นเอง

ดังนั้น  ครูอ้อยจึงสรุปให้นักเรียนได้รู้ว่า  หากนักเรียนฝึกปฏิบัติแบบนี้ทุกๆๆวัน ๆละหลายๆครั้ง  นักเรียนก็จะอ่านได้  อย่างมั่นใจ

 

หมายเลขบันทึก: 547627เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2013 16:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กันยายน 2013 16:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท