590. เรียน OD จากหนังดี (ตอน World War Z)


ผมเขียนเรื่อง World War Z นี้เป็นตอนที่สอง เพราะรู้สึกเรื่องนี้เป็นเรื่องที่มองได้หลายแง่มุม ตัวหนังเองเป็นเรื่องราวของสงครามโลก ที่ก่อขึ้นจากการระบาดของซอมบี้ คือการเป็นซอมบี้มันติดต่อกันได้ และมันเร็วมากๆ เมืองต่างๆในโลกล่มสลาย สหรัฐส่งทีมไปสำรวจ นับจากเจอเรื่องนี้ตั้งแต่ช่วงแรก เริ่มที่เกาหลีก่อน..  ก็เพราะเรื่องนี้เริ่มระบาดที่เกาหลี ทีมสืบเลยเริ่มที่นั่น สิบไปสืบมาก็ค้นพบว่า มีเมืองๆ หนึ่งคือเยรูซาเลมที่ยังไม่ล่มสลาย และมีคนรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นแต่แรกที่นั่น

                             

ทีมพระเอกเลยเดินทางไปเยรูซาเลม อยู่ไม่นานเมืองที่มีการป้องกันอย่างดี เมืองสุดท้ายในโลก ก็แตก ซอมบี้ทะลักเข้าเมือง พระเอกหนีสุดชีวิต   ขณะหนี หันหลังกลับ หันไปมองเด็กคนหนึ่ง ที่อยู่ท่ามกลางฝูงซอมบี้ มองไปก็ต้องแปลกใจ ในขณะที่คนรอบตัว ถูกซอมบี้ไล่กัด เด็กคนนี้ไม่เป็นไร นั่งตัวสั่นอยู่คนเดียว แล้วรอดด้วย ... ฝ่ายพระเอกเองก็หนี หนีจนจนมุม มีซอมบี้ตามาติดๆ มีคนหนึ่งในทีมล้มลง แต่ซอมบี้กลับไม่ทำอะไร ทั้งที่ปรกติก็ถูกกินแน่นอน  ที่สุดจากการตั้งข้อสังเกต พระเอกค้นพบว่า ถ้าเรามีไข้ ซอมบี้จะไม่เห็น... เด็กคนนั้นรอด คนในทีมรอดเพราะมีไข้อ่อนๆ จะเป็นไข้อะไรก็ได้... การค้นพบเล็กๆ นี้นำมาสู่การนำไปใช้ประโยชน์ในภายหลัง จนสามารถนำไปสู่การกำจัดซอมบี้ได้ในที่สุด

....

 คุณจะเห็นว่าในท่ามกลางคนเป็นล้าน ที่ตายเพราะซอมบี้ มีสองคนไม่ตาย ... สองคนนี้ในทางสถิติเราเรียกว่า The Outliner ...  คนสองคนคือกุญแจสู่ทางรอดของมนุษยชาติ วันนั้นถ้าพระเอกไม่สังเกต คุณกับผมคงไม่ได้เล่น Facebook กันแน่นอน...

...

จะว่าไปพระเอกของเรามีความรู้ในศาสตร์ๆ หนึ่งที่มีความสำคัญมากๆ ต่อพิภพเรา นั่นคือศาสตร์ที่เรียกว่า Positive Diviance  (PD) .ศาสตร์ที่ผมถือว่าเป็นคู่แฝดของ Appreciative Inquiry... ศาสตร์นี้พัฒนามาจากการให้ความสำคัญของค่าสถิติที่เรียกว่าค่า Outliner ... เน้นการถามว่าใครทำได้ดีที่สุดในสถานการณ์ที่แย่เหมือนๆกัน... เล่นกันอย่างนี้เลย.. ซึ่งมักจะเจอเสมอ จากนั้นก็เอาวิธีการจากค่า Outliner นี้ไปขยายผล... แน่นอนในหนังซอมบี้ครองโลก โดยเฉลี่ยประชากรโลกเจอเจ้าพวกนี้เมื่อไหร่ ได้ถูกกัดและกลายเป็นซอมบี้ไปทุกที แต่ถ้ามองจาก Positive Deviance คือยังไงก็มีพวกหลุดขอบ (หลุดจากค่าเฉลี่ย) ... ที่อาจมีไม่ถึง 1% ในกรณีซอมบี้นี่ ไม่ถึง 0.00001% ด้วยซ้ำ ในศาสตร์นี้แนะนำให้เราเข้าไปศึกษา และมักจะเจอของดีเอาไปแก้ปัญหาได้ จริงๆ ดังนั้นเวลาเจอปัญหา ให้ถามว่าในบรรดาคนที่มีปัญหาแบบนี้ โน่นนี่นั่น ใครไม่เป็นปัญหา...

แนวคิด Positive Deviance... เริ่มจากงานเขียนจากหนังสือเล่มนี้ครับ..

                                                                       

 

เป็นรายงานผลการเอา Positive Deviance ไปใช้ในงานด้านต่างๆ เริ่มจากการแก้ปัญหาทุพโภชนาการในเวียดนาม คือประมาณว่ามีเด็กประสบภาวะนี้มากมายในเวียดนาม เรียกว่าผอม จนถึงตายก็มี นักวิจัยก็เข้าไป คือตอนแรกก็เข้าไปให้คำแนะนำ สนับสนุนอาหาร แต่เมื่อหมดเงินทุน... ทำไงล่ะ ต้องบินกลับเหรอ... เลยคิดหาหนทางใหม่ โดยตั้งคำถามว่า.. “ในบรรดาชาวบ้านที่มีปัญหา มีใครไม่มีปัญหาไหม ทั้งๆ ที่ก็มีความยากจนเหมือนกัน อยู่ในพื้นที่เดียวกัน...”  ชาวบ้านบอกว่า มีอยู่สองสามครอบครัว พอเข้าไปดูก็พบว่ามีพฤติกรรมต่างจากคนอื่น นอกจากนี้ยังล้างมือก่อนให้อาหารเด็กด้วย

                                                    

นักวิจัยก็เอาข้อมูลเรื่องพฤติกรรมดังกล่าว (เช่นการให้อาหารมากกว่า 2 มื้อ การเสริมด้วยผลไม้พื้นเมืองบางอย่าง) ที่สุดพอเอาไปขยายผล ปรากฏว่ากว่า 80% จาก 22 หมู่บ้าน หายจากภาวะทุพโภชนการ...   นี่คือการค้นพบที่สุดยอดมาก.. ที่สุดเริ่มมีการขยายผลการใช้ Positive Deviance ไปในวงการต่างๆ เช่นโรคระบาด การแก้ปัญหาเรื่องความเชื่อการขลิบปลายอวัยวะเพศหญิงในอียิปต์... ขยายไปในวงการขายและอื่นๆ ... ตอนนี้เข้าใจว่าเป็นแนวคิดที่ได้รับการยอมรับโดยองค์การอนามัยโลก...  ตอนนี้มีการตั้งองค์กร Positive Deviance Initiative ... เพื่อส่งเสริมการใช้แนวคิดนี้ครับ..ผมเองได้เอาแนวคิดนี้มาใช้ตั้งแต่เริ่มทำ Appreciative Inquiry ใหม่ๆ ตอนแรกคิดว่าเป็นเรื่องเดียวกัน ตอนหลังถึงได้รู้ว่ามันคล้ายๆ กันครับ.. ที่มีของศาสตร์ต่างกัน คือ PD มาจากการใช้ประโยชน์จากค่าสถิติตัวหนึ่งคือค่า Outliner ส่วน AI เติบโตมาจาก Positive Psychology หรือจิตวิทยาบวก..

                   

เอาเป็นว่าถ้าเริ่มต้นว่า.. ในบรรดาปัญหานี้ “ใครไม่มีปัญหา” คือเจาะไปที่ “ใคร” เลย นี่เป็น PD ครับ ส่วน AI จะถามว่าประสบการณ์ที่ดีที่สุดของสิ่งนั่นคืออะไร..เช่นมีคนบ่นว่าตอนนี้ค่าแรง 300 บาทนี่แย่นะ ไม่มีเงินจ้างคน... ถามแบบ PD เลย.. แล้วใครล่ะที่ไม่มีปัญหา ... เจออยู่สองรายครับ.. ลูกศิษย์ผมทำร้านกาแฟ คู่แข่งส่วนใหญ่ใช้คนงาน 8-9 คนในร้านขนาดเดียวกัน เขาใช้เพียง 3 คน ... เห็นความต่างไหมครับ ..พอไปถาม ..อ๋อ..ผมสร้าง “วัฒนธรรม” ใหม่ครับ โดยบอกให้ลูกค้าดูแลตนเอง วัฒนธรรมของร้านเขาเขาไม่เสิร์ฟให้ลูกค้า ลูกค้าบริการตนเองครับ เป็นไงครับ ผมก็ประหยัดค่าแรงคนงานสิครับ

 

ปั๊มน้ำมันก็บ่น หาคนงานยากครับอาจารย์ ... แถมค่าแรงแพง.. ถ้าถามแบบ PD ก็คือ.. ที่ไหนไม่มีปัญหา.. เพิ่มเจอครับปั๊มน้ำมันบางจากแถวขอนแก่น ไกล้บ้านผม วันนี้เข้าไป.. งง ครับ รอตั้งนานไม่มีใครมาเติมน้ำมัน.. เมื่อเห็นป้าย..อ้อ.. ตาสว่าง ก็ปั๊มนี้เป็นปั๊มแบบบริการตนเองครับ.. ไม่มีคนงานมีแต่คนเก็บเงิน.. เป็นไงครับ ลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานได้ไหม.. ได้ครับ..

                            

                                

คุณเองก็สามารถทำ PD ได้ง่ายๆครับ.. ไม่ยาก แล้วคุณจะไม่กลัวซอมบี้และปัญหาค่าแรง 300 บาท.. และปัญหาโลกแตกทั้งหลายในโลกนี้อีกต่อไปครับ..วันนี้ถือโอกาสแนะนำวิชา Positive Diviance ที่คล้ายๆ AI นำมาเสริมกันได้ครับ.. ผมเองใช้มาตั้งแต่ทำ AI เป็น จะว่าไปผมทำ AI เป็นนี่เพราะทำ PD เป็นก่อน ครับ

 

วันนี้เพียงเล่าให้ฟัง ลองเอาไปพิจารณาดูนะครับ

Reference:

The first picture retreived Sept 2, 2013 from http://rastrict.com/world-war-z-2-wallpaper.html

The second picture retreived Sept 2, 2013 from http://www.positivedeviance.org/resources/books.html

The third picture retreived Sept 2, 2013 from http://www.positivedeviance.org/about_pd/case_studies.html

The fourth picture retreived Sept 2, 2013 from http://www.thehuntison.com/2010/06/you-speed-i-speed-we-all-speed-down.html

The fifth picture retreived Sept 2, 2013 from https://www.facebook.com/bangchakgasoholclub?directed_target_id=0

 

หมายเลขบันทึก: 547232เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2013 15:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 กันยายน 2013 06:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท