การบูรณาการเนื้อหาในกลุ่มสาระการเรียนรู้


การสอนแบบบูรณาการ

            บูรณาการ  หมายถึง  การนำศาสตร์หรือความรู้วิชาต่าง ๆ  ที่สัมพันธ์กันนำมาเข้าด้วยกันหรือผสมผสานได้อย่างกลมกลืน  เพื่อนำมาจัดเป็นการเรียนการสอนภายใต้หัวข้อเดียวกัน  เชื่อมโยงกันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด  โดยมีการเน้นองค์รวมของเนื้อหามากกว่าองค์ความรู้ของแต่ละรายวิชา  และเน้นการสร้างความรู้ของผู้เรียนที่มากกว่า  การให้เนื้อหาโดยครูเป็นผู้กำหนด

 

ลักษณะสำคัญของการสอนแบบบูรณาการ

1.เป็นการบูรณาการระหว่างความรู้  กระบวนการ  และการปฏิบัติ

2.เป็นการบูรณาการระหว่างวิชาได้อย่างกลมกลืน

3.เป็นการบูรณาการระหว่างสิ่งที่เรียนกับชีวิตจริง

4.เป็นการบูรณาการเพื่อจัดความซ้ำซ้อนของเนื้อหาต่างๆ  

5.เป็นการบูรณาการให้เกิดความสัมพันธ์กันระหว่างความคิดรวบยอดของวิชาต่างๆ  เพื่อทำให้เกิดการเรียนรู้ที่มีความหมาย

 

การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ

             การจัดการเรียนการสอนในการเขียนแผนการสอนของครูผู้สอนแบ่งออกเป็น  2  ประเภท  (การเขียนแผนแบบบูรณาการมีมากกว่านี้  ตามความเหมาะสม)  ดังนี้

(1)การบูรณาการภายในวิชา  มีจุดเน้นอยู่ภายในวิชาเดียวกันอาจนำวิชาต่างๆ  ที่สัมพันธ์กันมาบูรณาการกันเองของวิชานั้นและไม่แยกหรือขยายไปกับวิชาอื่น

(2)การบูรณาการระหว่างวิชา  มีจุดเน้นอยู่ที่การนำวิชาอื่นเข้าเชื่อมโยงด้วยกัน  ตั้งแต่  2  วิชาขึ้นไป  โดยภายใต้หัวข้อเดียวกันว่าวิชาใดที่สามารถนำเข้ามาบูรณาการด้วยกันได้  ไม่จำเป็นว่าต้องทุกวิชา  หรือทุกกลุ่มประสบการณ์เข้าด้วยกัน  หรืออาจครบทุกวิชาหรือทุกกลุ่มประสบการณ์ก็ได้

 

การวางแผนการจัดทำแผนแบบบูรณาการ

              การจัดทำแผนการสอนแบบบูรณาการ  เป็นการนำวิชาหรือสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ  ที่มีความสัมพันธ์กันมาเชื่อมโยงกัน  ซึ่งสามารถทำได้โดยการสร้างหัวข้อเรื่องที่มีความสอดคล้องกับวิชานั้น ๆ  เข้าด้วยกัน  ผู้สอนต้องคำนึงสิ่งต่อไปนี้

1.การเลือกหัวเรื่อง  จากประเด็นต่างๆ  ที่ต้องการเรียน  เช่น  ประเด็กแนวคิด  ประเด็นของเนื้อหา  เมื่อได้แล้วนำจุดประสงค์ของแต่ละรายวิชา  ที่ต้องการให้เกิดการเรียนรู้ของผู้เรียน  เข้ามาสร้างเป็นกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการ

2.การนำจุดประสงค์ของรายวิชาต่างๆ  ที่สัมพันธ์กันมาสร้างเป็นหัวข้อเรื่องและนำมาจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการ

 

ประโยชน์ของการบูรณาการ

1.เป็นการนำวิชาหรือศาสตร์ต่างๆ  เชื่อมโยงกันภายใต้หัวข้อเดียวกัน

2.ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนที่ลึกซึ้ง  และมีลักษณะใกล้เคียงกับชีวิตจริง  

3.ช่วยให้ผู้เรียนได้รับความรู้  ความเข้าใจ  ในลักษณะองค์รวม

4.ช่วยให้ผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้  ความเข้าใจ  จากสิ่งต่างๆ  ที่มีอยู่รอบตัว

5.เป็นแนวทางที่ช่วยให้ครูได้ทำงานร่วมกัน  หรือประสานงานร่วมกันอย่างมีความสุข

6.ส่งเสริม  สนับสนุนให้ครูได้คิดวิธีการหรือนำเทคนิคใหม่ๆ  มาใช้

 

ทำอย่างไรจึงจะจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ

1.ครูมีความเชื่อมั่นและเข้าใจตรงกันในเรื่องการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ

2.ครูได้วางแผน  ได้คิดกระบวนการเรียนรู้และมีการประเมินผลร่วมกัน

3.ต้องยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  ให้ผู้เรียนสามารถค้นหาคำตอบได้ด้วยตนเองและได้ลงมือปฏิบัติจริง

4.เน้นการเรียนรู้ที่เกิดจากการนำวิชาต่างๆ  เชื่อมโยงกันมากกว่าที่จะเกิดจากเนื้อหาใดเนื้อหาหนึ่งเท่านั้น

5.มีการนำข้อมูล  ทรัพยากรท้องถิ่น  และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาจัดการเรียนรู้แบบองค์รวมหรือแบบบูรณาการ  ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ

 

จะรู้ได้อย่างไรว่าได้มีการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ

เราจะทราบได้อย่างไรว่ามีการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการแล้วหรือยังโดยดูได้จากหัวข้อต่อไปนี้

1.ผู้เรียนมีโอกาสได้เลือกเรียนตามความถนัด  ความสนใจของตนเอง

2.มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างหลากหลาย  กว้างขวางตามความพร้อมของผู้เรียน

3.เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิด  ได้ทำ  ได้แก้ปัญหา  ได้ค้นพบคำตอบด้วยตนเอง  และผู้เรียนลงมือปฏิบัติเองโดยมีครูผู้สอนเป็นเพียงให้คำแนะนำ  ให้คำปรึกษา

4.มีการเชื่อมโยงเนื้อหาในวิชาเดียวกัน  หรือต่างวิชาของกลุ่มสาระการเรียนรู้

5.มีการยืดหยุ่นเวลาเรียนได้ตามสถานการณ์

6.มีการเชื่อมโยงสาระสำคัญหรือความคิดรวบยอดต่างๆ  อย่างมีความหมาย

7.มีการใช้แหล่งความรู้  หรือแหล่งการเรียนได้อย่างหลากหลาย  เช่น  ห้องสมุด  ห้องปฏิบัติการทางภาษา  ห้องวิทยาศาสตร์  ชุมชน  ฯลฯ  อย่างสัมพันธ์กันตามสภาพที่แท้จริงหรือตามความเป็นจริง

8.มีการประเมินตามสภาพที่แท้จริง

9.ผู้เรียนได้ร่วมสะท้อนความคิดหรือสรุปความรู้โดยอิสระ

10.ผู้เรียนมีวิจารณญาณในการคิดแก้ปัญหา  และอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข 

  

การสอนแบบบูรณาการ
            บูรณาการ  หมายถึง  การนำศาสตร์หรือความรู้วิชาต่าง ๆ  ที่สัมพันธ์กันนำมาเข้าด้วยกันหรือผสมผสานได้อย่างกลมกลืน  เพื่อนำมาจัดเป็นการเรียนการสอนภายใต้หัวข้อเดียวกัน  เชื่อมโยงกันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด  โดยมีการเน้นองค์รวมของเนื้อหามากกว่าองค์ความรู้ของแต่ละรายวิชา  และเน้นการสร้างความรู้ของผู้เรียนที่มากกว่า  การให้เนื้อหาโดยครูเป็นผู้กำหนด

ลักษณะสำคัญของการสอนแบบบูรณาการ
1.เป็นการบูรณาการระหว่างความรู้  กระบวนการ  และการปฏิบัติ
2.เป็นการบูรณาการระหว่างวิชาได้อย่างกลมกลืน
3.เป็นการบูรณาการระหว่างสิ่งที่เรียนกับชีวิตจริง
4.เป็นการบูรณาการเพื่อจัดความซ้ำซ้อนของเนื้อหาต่างๆ  
5.เป็นการบูรณาการให้เกิดความสัมพันธ์กันระหว่างความคิดรวบยอดของวิชาต่างๆ  เพื่อทำให้เกิดการเรียนรู้ที่มีความหมาย

การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
             การจัดการเรียนการสอนในการเขียนแผนการสอนของครูผู้สอนแบ่งออกเป็น  2  ประเภท  (การเขียนแผนแบบบูรณาการมีมากกว่านี้  ตามความเหมาะสม)  ดังนี้
(1)การบูรณาการภายในวิชา  มีจุดเน้นอยู่ภายในวิชาเดียวกันอาจนำวิชาต่างๆ  ที่สัมพันธ์กันมาบูรณาการกันเองของวิชานั้นและไม่แยกหรือขยายไปกับวิชาอื่น
(2)การบูรณาการระหว่างวิชา  มีจุดเน้นอยู่ที่การนำวิชาอื่นเข้าเชื่อมโยงด้วยกัน  ตั้งแต่  2  วิชาขึ้นไป  โดยภายใต้หัวข้อเดียวกันว่าวิชาใดที่สามารถนำเข้ามาบูรณาการด้วยกันได้  ไม่จำเป็นว่าต้องทุกวิชา  หรือทุกกลุ่มประสบการณ์เข้าด้วยกัน  หรืออาจครบทุกวิชาหรือทุกกลุ่มประสบการณ์ก็ได้

การวางแผนการจัดทำแผนแบบบูรณาการ
              การจัดทำแผนการสอนแบบบูรณาการ  เป็นการนำวิชาหรือสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ  ที่มีความสัมพันธ์กันมาเชื่อมโยงกัน  ซึ่งสามารถทำได้โดยการสร้างหัวข้อเรื่องที่มีความสอดคล้องกับวิชานั้น ๆ  เข้าด้วยกัน  ผู้สอนต้องคำนึงสิ่งต่อไปนี้
1.การเลือกหัวเรื่อง  จากประเด็นต่างๆ  ที่ต้องการเรียน  เช่น  ประเด็กแนวคิด  ประเด็นของเนื้อหา  เมื่อได้แล้วนำจุดประสงค์ของแต่ละรายวิชา  ที่ต้องการให้เกิดการเรียนรู้ของผู้เรียน  เข้ามาสร้างเป็นกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
2.การนำจุดประสงค์ของรายวิชาต่างๆ  ที่สัมพันธ์กันมาสร้างเป็นหัวข้อเรื่องและนำมาจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการ

ประโยชน์ของการบูรณาการ
1.เป็นการนำวิชาหรือศาสตร์ต่างๆ  เชื่อมโยงกันภายใต้หัวข้อเดียวกัน
2.ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนที่ลึกซึ้ง  และมีลักษณะใกล้เคียงกับชีวิตจริง  
3.ช่วยให้ผู้เรียนได้รับความรู้  ความเข้าใจ  ในลักษณะองค์รวม
4.ช่วยให้ผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้  ความเข้าใจ  จากสิ่งต่างๆ  ที่มีอยู่รอบตัว
5.เป็นแนวทางที่ช่วยให้ครูได้ทำงานร่วมกัน  หรือประสานงานร่วมกันอย่างมีความสุข
6.ส่งเสริม  สนับสนุนให้ครูได้คิดวิธีการหรือนำเทคนิคใหม่ๆ  มาใช้

ทำอย่างไรจึงจะจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
1.ครูมีความเชื่อมั่นและเข้าใจตรงกันในเรื่องการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
2.ครูได้วางแผน  ได้คิดกระบวนการเรียนรู้และมีการประเมินผลร่วมกัน
3.ต้องยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  ให้ผู้เรียนสามารถค้นหาคำตอบได้ด้วยตนเองและได้ลงมือปฏิบัติจริง
4.เน้นการเรียนรู้ที่เกิดจากการนำวิชาต่างๆ  เชื่อมโยงกันมากกว่าที่จะเกิดจากเนื้อหาใดเนื้อหาหนึ่งเท่านั้น
5.มีการนำข้อมูล  ทรัพยากรท้องถิ่น  และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาจัดการเรียนรู้แบบองค์รวมหรือแบบบูรณาการ  ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ

จะรู้ได้อย่างไรว่าได้มีการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
เราจะทราบได้อย่างไรว่ามีการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการแล้วหรือยังโดยดูได้จากหัวข้อต่อไปนี้
1.ผู้เรียนมีโอกาสได้เลือกเรียนตามความถนัด  ความสนใจของตนเอง
2.มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างหลากหลาย  กว้างขวางตามความพร้อมของผู้เรียน
3.เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิด  ได้ทำ  ได้แก้ปัญหา  ได้ค้นพบคำตอบด้วยตนเอง  และผู้เรียนลงมือปฏิบัติเองโดยมีครูผู้สอนเป็นเพียงให้คำแนะนำ  ให้คำปรึกษา
4.มีการเชื่อมโยงเนื้อหาในวิชาเดียวกัน  หรือต่างวิชาของกลุ่มสาระการเรียนรู้
5.มีการยืดหยุ่นเวลาเรียนได้ตามสถานการณ์
6.มีการเชื่อมโยงสาระสำคัญหรือความคิดรวบยอดต่างๆ  อย่างมีความหมาย
7.มีการใช้แหล่งความรู้  หรือแหล่งการเรียนได้อย่างหลากหลาย  เช่น  ห้องสมุด  ห้องปฏิบัติการทางภาษา  ห้องวิทยาศาสตร์  ชุมชน  ฯลฯ  อย่างสัมพันธ์กันตามสภาพที่แท้จริงหรือตามความเป็นจริง
8.มีการประเมินตามสภาพที่แท้จริง
9.ผู้เรียนได้ร่วมสะท้อนความคิดหรือสรุปความรู้โดยอิสระ
10.ผู้เรียนมีวิจารณญาณในการคิดแก้ปัญหา  และอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
 เหตุผลที่สนับสนุนการเชื่อมโยงวิชาต่าง ๆ  เข้าด้วยกันในการสอนมีดังต่อไปนี้

 

                1.  สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงไม่ได้จำกัดว่าจะเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่ง  โดยเฉพาะ  ตัวอย่าง  เช่น  การเกิดอุทกภัย  ซึ่งเป็นเหตุการณ์เดียวแต่ก่อให้เกิดผลกระทบหลายอย่าง  เช่น  บ้านเรือนไร่นาเสียหาย  ธุรกิจหยุดชะงัก  โรงเรียนและสถานที่ต่าง ๆ ต้องหยุดงาน ก่อให้เกิดความเดือดร้อนหลายประการ  ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ  เหล่านี้  เราจำเป็นจะต้องใช้ความรู้และทักษะจากหลาย ๆ  สาขาวิชามาร่วมกันแก้ปัญหา  การเรียนรู้เนื้อหาวิชาต่างๆ  ในลักษณะเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน  จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างวิชา  และความสัมพันธ์ของวิชาต่าง ๆ  เหล่านั้นกับวิชาจริง

                2.  การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการจะช่วยให้เกิดความสัมพันธ์เชื่อมโยง  ระหว่างความคิดรวบยอดในศาสตร์ต่าง ๆ  ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่มีความหมาย  การเรียนการสอนในวิชาวิทยาศาสตร์  ไม่จำเป็นว่าความคิดรวบยอดจะต้องแยกจากความคิดรวบรวมยอดในวิชาอื่น ๆ  ไม่ว่าจะเป็นคณิตศาสตร์  ภาษา  หรือสังคมศึกษา  เนื้อหาและกระบวนการที่เรียนในวิชาหนึ่งอาจช่วยให้นักเรียนมีความเข้าใจในวิชาอื่นดีขึ้นได้

                3.  การสอนที่สัมพันธ์เชื่อมโยงความคิดรวบยอดจากหลาย ๆ  สาขาวิชาเข้าด้วยกันมีประโยชน์หลายอย่าง  ที่สำคัญที่สุดคือช่วยให้เกิดการถ่ายโอนความรู้  (Transf  of  learning) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการจะช่วยให้นักเรียนเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนเข้ากับชีวิตจริงได้และในทางกลับกันก็จะสามารถเชื่อมโยงเรื่องของชีวิตจริงภายนอกห้องเรียนเข้ากับสิ่งที่เรียนได้  ทำให้นักเรียนเข้าใจว่า  สิ่งที่ตนเรียนมีประโยชน์หรือนำไปใช้จริงได้

                4.  หลักสูตรและการเรียนการสอนแบบบูรณาการมีประโยชน์ในการขจัดความซ้ำซ้อนของเนื้อหาต่าง ๆ  ในหลักสูตร  ในปัจจุบันเราประสบปัญหาในเรื่องที่ความรู้และข้อมูลต่าง ๆ  เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมีเรื่องที่จำเป็นต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้นจำนวนมากมายในแต่ละปีการเพิ่มขึ้นอย่างมากมายและรวดเร็วของความรู้และข้อมูลต่าง ๆ  นี้  ทำให้การเรียนแบบสัมพันธ์วิชามีความสำคัญมากกว่า  ที่ต่างวิชาต่างเพิ่มเนื้อหาเข้าไปในหลักสูตรของตน

                5.  การเรียนการสอนแบบบูรณาการสามารถตอบสนองต่อความสามารถของผู้เรียนซึ่งมีหลายด้าน  เช่น  ภาษา  คณิตศาสตร์  การมองพื้นที่  ความคล่องของร่างกาย  และความเคลื่อนไหวดนตรี  สังคมหรือมนุษย์สัมพันธ์และความรู้และความเข้าใจตนเอง  ซึ่งรวมเรียกว่า  พหุปัญญา  (Multiple  Intelligences)  และสนองตอบต่อความสามารถที่จะแสดงออกและตอบสนองทางอารมณ์  (Emotional  Intelligence) 

                6.  กระบวนการเรียนการสอนที่ใช้ในหลักสูตรแบบบูรณาการสอดคล้องกับทฤษฎีการสร้างความรู้โดยผู้เรียน  (Constructivism)  ซึ่งกำลังได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางในวงการศึกษาขณะนี้

 

ประเภทของการสอนแบบบูรณาการ

 

                การสอนแบบบูรณาการมี  แบบ  คือ 

 

                1.   การบูรณาการภายในกลุ่มวิชาหรือสาขาวิชาเดียวกัน  โดยกำหนดหัวเรื่อง (Theme)  ขึ้น  แล้วบูรณาการขอบข่ายวิชาต่างๆ  ในการสอนตามหัวเรื่องนั้น            

                2.   การบูรณาการระหว่างวิชา  เป็นการเชื่อมโยงหรือรวมศาสตร์ต่าง ๆ  ตั้งแต่  สาขาวิชา

ขึ้นไป  ภายใต้หัวเรื่อง  (Theme)  เดียวกัน  เป็นการเรียนรู้โดยใช้ความรู้เข้าใจและทักษะในศาสตร์หรือความรู้ในวิชาต่าง ๆ  มากกว่า  วิชาขึ้นไป  เพื่อการแก้ปัญหา  หรือ  แสวงหาความรู้ความเข้าใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง  การเชื่อมโยงความรู้และทักษะระหว่างวิชาต่าง ๆ  จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ลึกซึ้ง  ไม่ใช่เพียง ผิวเผิน  และมีลักษณะใกล้เคียงกับชีวิตจริงมากขึ้น

                การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการระหว่างวิชา  จะช่วยให้ผู้เรียนได้รับความรู้ความเข้าใจในลักษณะองค์รวม  ไม่ว่าวิชาใดก็จะสามารถจะใช้วิธีบูรณาการได้ทั้งสิ้น  ข้อสำคัญอยู่ที่ความสามารถในการบูรณาการที่ดี  การเรียนการสอนแบบบูรณาการระหว่างวิชาจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้ความเข้าใจสิ่งต่าง ๆ  ที่อยู่รอบตัวได้ 

                การสอนแบบบูรณาการทั้งสองแบบมีหลักการเช่นเดียวกัน  กล่าวคือมีการกำหนดหัวเรื่องที่เชื่อมโยงความคิดรวบยอดต่าง ๆ  มีการวางแผนการจัดกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ  ที่ผู้เรียนจะต้องศึกษาและลงมือปฏิบัติ 

 

รูปแบบของการบูรณาการ  (Models  of  Integration)

 

                รูปแบบของการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการมี  รูปแบบ  คือ

 

                1.  การสอนบูรณาการแบบสอดแทรก  (Infusion  Instruction) 

                                การสอนรูปแบบนี้ครูผู้สอนในวิชาหนึ่งสอดแทรกเนื้อหาของวิชาอื่น ๆ  เข้าไปในการสอนของตน  เป็นการวางแผนการสอนและสอนโดยครูเพียงคนเดียว

                2.  การสอนบูรณาการแบบขนาน  (Parallel  Instruction) 

                                การสอนตามรูปแบบนี้  ครูตั้งแต่  คนขึ้นไปสอนต่างวิชากัน  ต่างคนต่างสอนแต่ต้องวางแผนการสอนร่วมกันโดยมุ่งสอนหัวเรื่อง/ความคิดรวบยอด/ปัญหาเดียวกัน (Theme/concept/problem)  ระบุสิ่งที่ร่วมกันและตัดสินในร่วมกันว่าจะสอนหัวเรื่อง/ความคิดรวบยอด/ปัญหานั้นๆ  อย่างไรในวิชาของแต่ละคน  งานหรือการบ้านที่มอบหมายให้นักเรียนทำจะแตกต่างกันไปในแต่ละวิชา  แต่ทั้งหมดจะต้องมีหัวเรื่อง/ความคิดรวบยอด/ปัญหาร่วมกัน

 

                3.  การสอนบูรณาการแบบสหวิทยาการ  (Multidisciplinary  Instruction) 

                                การสอนตามรูปแบบนี้คล้าย ๆ  กับการสอนบูรณาการแบบขนาน (Parallel  Instruction)  กล่าวคือครูตั้งแต่  คนขึ้นไปสอนต่างวิชากัน  มุ่งสอนหัวเรื่อง  ความคิดรวบยอด/ปัญหาเดียวกันต่างคนต่างแยกกันสอนเป็นส่วนใหญ่  แต่มีการมอบหมายงาน  หรือโครงการ (Project)  ร่วมกัน  ซึ่งจะช่วยเชื่อมโยงสาขาวิชาต่าง ๆ  เข้าด้วยกัน  ครูทุกคนจะต้องวางแผนร่วมกันเพื่อที่จะระบุว่าจะสอนหัวเรื่อง/ความคิดรวบยอด/ปัญหานั้น ๆ  ในแต่ละวิชาอย่างไร  และวางแผนสร้างโครงการร่วมกัน(หรือกำหนดงานจะมอบหมายให้นักเรียนทำร่วมกัน)  และกำหนดว่าจะแบ่งโครงการนั้นออกเป็นโครงการย่อย ๆ  ให้นักเรียนปฏิบัติแต่ละรายวิชาอย่างไร 

                อนึ่ง  พึงเข้าใจว่าคำว่า  โครงการ  นี้มีความหมายเดียวกันกับคำว่า  โครงงาน  มาจากภาษาอังกฤษคำเดียวกันคือ  “Project”  หลายท่านอาจคุ้นกับคำว่า  โครงงาน มากกว่า  เช่น  โครงงานวิทยาศาสตร์  ซึ่งก็อาจเรียกว่า   โครงการวิทยาศาสตร์  ได้เช่นเดียวกัน

 

                4.  การสอนบูรณาการแบบข้ามวิชาหรือเป็นคณะ  (Transdisciplinary  Instrction)

                                การสอนตามรูปแบบนี้ครูที่สอนวิชาต่าง ๆ  จะร่วมกันสอนเป็นคณะหรือเป็นทีม  ร่วมกันวางแผน  ปรึกษาหารือ  และกำหนดหัวเรื่อง/ความคิดรวบยอด/ปัญหาร่วมกัน  แล้วร่วมกันดำเนินการสอนนักเรียนกลุ่มเดียวกัน

 

การสร้างบทเรียนแบบบูรณาการ

 

                การสร้างบทเรียนแบบบูรณาการมี  ลักษณะคือ  การสอนบูรณาการตามรูปแบบที่  และ  และการสอนบูรณาการตามรูปแบบที่  และ 

                การสอนตามรูปแบบที่  1  (Infusion  Instruction)  และรูปแบบที่  2  (Parallel  Instruction)  มี  วิธีคือ 

                วิธีที่หนึ่ง  เลือกหัวเรื่อง (Theme)  ก่อนแล้วดำเนินการพัฒนาหัวเรื่องให้สมบูรณ์  มีกำหนดวัตถุประสงค์ของกิจกรรมให้ชัดเจน  กำหนดแหล่งข้อมูลหรือทรัพยากรที่จะใช้ในการค้นคว้าและเรียนรู้และพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนและอื่นๆ  ตามลำดับ

                วิธีที่สอง  เลือกจุดประสงค์รายวิชาจาก  รายวิชาขึ้นไปก่อน  แล้วนำมาสร้างเป็นหัวเรื่อง  (Theme)  ที่ร่วมกันระหว่างจุดประสงค์ที่เลือกไว้กำหนดแหล่งข้อมูลหรือทรัพยากรที่ใช้ในการค้นคว้าและเรียนรู้และพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนและอื่นๆ  ตามลำดับ

                มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

                วิธีที่หนึ่ง  เลือกหัวเรื่องก่อน

                ขั้นที่  เลือกหัวเรื่อง  (Theme)  โดยวิธีต่อไปนี้

1.       ระดมสมองของครูและนักเรียน

2.       เน้นที่การสอดคล้องกับชีวิตจริง

3.       ศึกษาเอกสารต่างๆ

4.       ทำหัวเรื่องให้แคบลงโดยคำนึงถึงความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับชีวิตจริงความสะดวกในการเชื่อมโยงระหว่างวิชาความรู้  และความสนใจของนักเรียน

                ขั้นที่  พัฒนาหัวเรื่อง  (Theme)  ดังนี้

1.       เขียนวัตถุประสงค์โดยกำหนดความรู้และความสามารถที่ต้องการ  จะให้เกิดแก่ผู้เรียน  เขียนวัตถุประสงค์ในลักษณะที่จะช่วยให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างวิชา  กำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนเพื่อนำไปสู่กิจกรรม

2.       กำหนดเวลาในการสอนให้เหมาะสมกับกำหนดเวลาต่างๆ  ตามปฏิทินของโรงเรียน  เช่น  จำสอนเมื่อใด  ใช้เวลาเท่าไร  ยืดหยุ่นได้หรือไม่  ต้องใช้เวลาออกสำรวจหรือทำกิจกรรมนอกห้องเรียนหรือไม่  ฯลฯ

3.       จองเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการกระทำกิจกรรม

            ขั้นที่  ระบุทรัพยากรที่ต้องการ  ควรคำนึงถึงทรัพยากรที่หาได้ง่าย  แล้วติดต่อแหล่ง                                    ทรัพยากร

                ขั้นที่  พัฒนากิจกรรมการเรียนการสอน  ดังนี้

1.       พัฒนากิจกรรมที่ช่วยให้เกิดความเชื่อมโยงกับเนื้อหาวิชาอื่น

2.       ตั้งจุดมุ่งหมายของกิจกรรมให้ชัดเจน

3.       เลือกวิธีที่ครูวิชาต่างๆ  จะทำงานร่วมกันเพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างวิชา

4.       เลือกวิธีการสอนที่จะใช้

5.       สร้างเอกสารแนะนำการปฏิบัติกิจกรรม

6.       สิ่งที่ครูควรจะต้องเตรียมล่วงหน้าอาจประกอบด้วยสิงต่อไปนี้

-          ใบความรู้

-          ใบงาน

-          แบบบันทึก (ซึ่งอาจเป็นแบบที่ครูออกแบบให้เลย  หรืออาจเป็นแบบบันทึกที่นักเรียนจะต้องช่วยกันออกแบบก็ได้)

หมายเลขบันทึก: 547039เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2013 15:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 สิงหาคม 2013 15:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

-สวัสดีครับ..

-ตามมาเก็บข้อมูลเรื่องการ"บูรณาการ"ครับ...

-ขอบคุณครับ..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท