การเขียนเป้าประสงค์ในการรักษาแบบ ABCD และ FEAST


           

             หลังจากที่ข้าพพเจ้าได้เรียนรู้เกี่ยวกับการให้เหตุผลทางคลินิก (Clinical Reasoning) มาหลายประเภท ได้แก่

             - Scientific reasoning การคิดและให้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์
             - Narrative reasoning การคิดและให้เหตุผลทางการบรรยาย
             - Conditional reasoning การคิดและการให้เหตุผลแบบมีเงื่อนไข
             - Ethical reasoning การคิดและให้เหตุผลเชิงจริยธรรม
             - Pragmatic reasoning การคิดและให้เหตุผลเชิงปฏิบัติการ


    ในบันทึกนี้ข้าพเจ้าจะขอนำเสนอเกี่ยวกับการการตั้งเป้าประสงค์ในการรักษา(Goal) ในผู้รับบริการ โดยสามารถอ่านข้อมูลเกี่ยวกับผู้รับบริการ นาย อนุ (นามสมมติ) เพิ่มเติมได้ในบันทึกต่อไปนี้
การตั้งเป้าประสงค์ในการรักษาที่จะนำเสนอวันนี้มี 2 ประเภทคือ การเขียนแบบ ABCD และ การเขียนแบบ FEAST

แบบที่ 1 : การเขียนแบบ ABCD


      นาย อนุ (นามสมมติ) ผู้รับบริการที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคติดสุรา (Alcohol dependent) และมีภาวะสับสน (delirium) ก่อนมารับการรักษา (C=condition)ผู้รับบริการดื่มสุราในปริมานมากจากเย็นของวันหนึ่งถึงเช้าของอีกวัน เนื่องจากมีงานแต่งงานของญาติ (B= behavior) ทำให้ในตอนเช้าผู้รับบริการมีอาการ สับสน หลงลืม วันเวลา และสถานที่ (disorientate),เดินออกจากบ้านไปไกลแต่กลับบอกว่าตนเองไม่ได้ไปไหน ขณะอยู่โรงพยาบาลผู้รับบริการมีอาการสับสน วันเวลา สถานที่ โดยถามผู้บำบัดบ่อยครั้งว่า ที่นี้ที่ไหน ทำไมตนต้องมาที่นี้ (A=audience) ,ในขณะทำกิจกรรมจัดบอร์ด ผู้รับบริการมีช่วงความสนใจสั้นประมาน 5 นาที หันเหความสนใจบ่อย3-5 ครั้ง หลังจากการบำบัดฟื้นฟูด้วยกิจกรรมกลุ่มเช่น กิจกรรมเกมฝึกทักษะ,กิจกรรมทักษะสังคม,กิจกรรมการทำฟรุ้ตสลัด เป็นต้น การสร้างปฏิสัมพันธ์และการเข้าหาผู้รับบริการที่เหมาะสม เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ ผู้บำบัดได้ประเมินซ้ำ ได้ผลดังนี้ ในกิจกรรมการทำกล่องเปเปอร์มาเช่ ผู้รับบริการมีช่วงความสนใจจาก 5 นาที หันเหความสนใจ 3-5 ครั้ง เป็นมีช่วงความสนใจ10 นาที หันเหความสนใจ 2-3 ครั้ง,ผู้รับบริการมีการรับรู้เรื่อง วันเวลา สถานที่ และบุคคลได้ถูกต้อง (D=degree)


แบบที่ 2 : การเขียนแบบ FEAST


       ผู้รับบริการนาย อนุ (นามสมมติ) (F=functional occupation area) มีความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต ดังนี้ การประกอบอาชีพ ช่วยครอบครัวขายอาหารเหนือ โดยมีหน้าที่คือช่วยเตรียมเครื่องปรุงหรือวัตถุดิบ โดยเฉพาะการสับหมู (work)แต่ผู้รับบริการไม่ตระหนักถึงความสำคัญของบทบาท โดยกล่าวว่า”ตนจะทำก็ได้ไม่ทำก็ได้ ถ้าดูบอลแล้วตื่นสายตนก็จะไม่ได้ลงไปช่วยครอบครัวทำ” ดังนั้นเนื่องจากผู้รับบริการไม่มีบทบาทหน้าที่ที่ต้องรับรับผิดชอบอย่างแน่ชัด จึงทำให้มีเวลาว่างมาก และใช้เวลาว่างไปกับการดื่มสุรา และไม่มีกิจกรรมยามว่างที่สนใจทำ(leisure) หลังเข้ารับการบำบัดฟื้นฟูโดยนักกิจกรรมบำบัด ผู้รับบริการมีความคาดหวัง (E=expectation)ว่าอาการสับสนของตนจะหายไป,กลับทำกิจกรรมต่างๆได้เหมือนเดิม และไม่ต้องอยู่โรงพยาบาลนาน ดังนั้นนักกิจกรรมบำบัดจึงได้ตั้งเป้าหมายในการบำบัดฟื้นฟูแบบเฉพาะเจาะจง(specific) เพื่อฟื้นฟูความสามารถของผู้บำบัดให้สอดคล้องกับความต้องการและความสามารถของผู้รับบริการ ในระยะเวลา 2 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 1-2 (T=timeline)ชั่วโมงคือ
1. การส่งเสริมให้ผู้รับบริการรับ รู้วันเวลาและสถานที่ได้อย่างถูกต้อง โดยการให้ผู้รับบริการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม มีปฏิสัมพันธ์กับสมาชิกกลุ่ม มีการแลกเปลี่ยนพูดคุยกับสมาชิกกลุ่มและผู้บำบัด
2. ส่งเสริมให้ผู้รับบริการมีช่วงความสนใจประมาน 20 นาทีหันเหความสนใจไม่เกิน 2 ครั้ง เพื่อให้ผู้รับบริการได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมอย่างเหมาะสม เตรียมความพร้อมสำหรับการกลับไปประกอบอาชีพเดิมซึ่งต้องมีช่วงความสนใจที่เหมาะสมในการทำกิจกรรมการเตรียมวัตถุดิบ
3. การส่งเสริมให้ผู้รับบริการตระหนักถึงโทษของการดื่มสุราและปรับเปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับการดื่มสุราด้วยกิจกรรม การอ่านบทความเกี่ยวกับสุรา และให้สมาชิกกลุ่ม(ผู้ดื่มสุรา)เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน
4. กิจกรรมการทำอาหาร เพื่อให้ผู้รับบริการได้แสดงบทบาทของตนเองเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง
5. การจัดการเวลา และการส่งเสริมให้แสดงความสนใจในการทำกิจกรรมยามว่างที่เหมาะสม
โดยขณะเข้าร่วมกิจกรรม (A=Action) ผู้รับบริการให้ความร่วมมือในการทำทุกกิจกรรมดี ไม่ปฏิเสธการเข้าร่วม สามารถเริ่มต้นและสิ้นสุดกิจกรรมได้ แต่ในบางขั้นตอนหรือบางกิจกรรมต้องได้รับความช่วยเหลือเช่น กิจกรรมการจัดบอร์ด ผู้บำบัดต้องช่วยเหลือในขั้นตอนการตัดกระดาษ เป็นต้น

 

หมายเลขบันทึก: 546438เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2013 17:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 สิงหาคม 2013 17:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

 .... ขอบคุณบันทึกนี้ค่ะ ....  ABCD และ FEAST  ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท