รูปแบบการเรียนรู้และการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน


รูปแบบการเรียนรู้ หมายถึง สภาพลักษณะของการ เรียนการสอนที่ครอบคลุมองค์ประกอบสำคัญ ซึ่งได้รับ การจัดไว้อย่างเป็นระเบียบ ตามหลักปรัชญา ทฤษฎี
หลักการ แนวคิด หรือความเชื่อต่าง ๆ
ตัวอย่างรูปแบบการเรียนรู้
1. แบบบรรยาย (Lecture method)
2. แบบอภิปราย (Discussion method)
3. แบบการอภิปรายกลุ่มย่อย (Small group discussion)
4. แบบสาธิต (Demonstration method)
5. แบบแสดงบทบาทสมมติ (Role playing)
6. แบบการแก้ปัญหาโดยใช้สารสนเทศ (Information problem-solving approach: big 6 skill)
7. แบบการแสดงละคร (Dramatization method)
8. แบบสถานการณ์จำลอง (Simulation)
9. แบบเกมส์ (Games)
10. แบบเน้นกระบวนการ (Process)
11. แบบกระบวนการกลุ่ม (Group process)
12. แบบร่วมมือ (Cooperative learning)
13. แบบการแข่งขันเกมส์เป็นทีม (Team Games Tournaments: TGT)
14. แบบใช้คำถาม (Questioning method)
15. แบบเน้นความสามารถผู้เรียนตามศักยภาพ (Student teams achievement divisions)
16. แบบต่อเต็ม (Jigsaw)
17. แบบเทคนิคเรื่องราว (Storyline)
18. แบบมุ่งประสบการณ์ภาษา (Concentrated language encounters)
19. แบบชี้แนะ (Direct instruction)
20. แบบสำรวจคำถามและอ่าน (SQ3R)
21. แบบอุปนัย (Inductive method)
22. แบบนิรนัย (Deductive method)
23. แบบค้นพบ (Discovery method)
24. แบบวิทยาศาสตร์ (Scientific method)
25.แบบแก้ปัญหา (Problem solving method)
และอีกมากมายหลายรูปแบบซึ่งได้จำกัดความในรูปแบบการเรียนรู้ดังนี้
จึงได้จัดหมวดหมู่ของรูปแบบเหล่านั้นตามลักษณะของวัตถุประสงค์เฉพาะหรือเจตนารมณ์ของรูปแบบ ซึ่งสามารถจัดกลุ่มได้เป็น 5 หมวดดังนี้
1. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านพุทธิพิสัย(cognitive domain)
2. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านจิตพิสัย(affective domain)
3. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านทักษะพิสัย(psycho-motor domain)
4. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาทักษะกระบวนการ(process skill)
5. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการบูรณาการ(integration

 

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน
1. กลุ่มรูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการคิด เช่น การสอนตามหลักการเรียนรู้ของกาเย่ หรือที่หลักสูตรแกนกลางนำมาใช้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งจะเน้นกระบวนการคิด
2. กลุ่มรูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นการมีส่วนร่วม เช่น การสอนที่เน้นการเรียนแบบร่วมมือซึ่ง เป็นการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาบุคคลทั้งด้านความรู้ ทัศนคติ และทักษะได้เป็นอย่างดี ผ่านการสังเคราะห์จากผลวิเคราะห์ของการศึกษาวิจัยรูปแบบการเรียนรู้หลายรูปแบบ (meta analysis) จนได้โครงสร้างพื้นฐานของการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ซึ่งประกอบด้วย วงจรการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ (experiential learning) ผสมผสานกับกระบวนการกลุ่ม (group process)
3. กลุ่มรูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาพฤติกรรม และค่านิยม เช่น การแสดงบทบาทสมมติ ซึ่ง การจัดการเรียนรู้แบบแสดงบทบาทสมมติ คือ กระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยการให้ผู้เรียนสวมบทบาทในสถานการณ์จำลองซึ่งมีความใกล้เคียงกับความเป็นจริงและแสดงออกตามความรู้สึกนึกคิดของตน และนำเอาการแสดงออกของผู้แสดง ทั้งทางด้านความรู้ ความคิด ความรู้สึกและพฤติกรรมที่สังเกตพบมาเป็นข้อมูลในการอภิปราย เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์
    ดังนั้นรูปแบบการเรียนรู้และการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนซึ่งในการพัฒนารูปแบบการสอนก็ต้องขึ้นว่าในแต่ละยุคแต่ละสมัยเราจะพัฒนาจากแบบเดิมให้ดีอย่างไร การพัฒนาจะต้องคอยดูผลและติดตามด้วยว่าดีจริงหรือไม่ถ้าการพัฒนาไม่ดีขึ้นจากเดิมก็ต้องหาและแก้ไขกันต่อไป ซึ่งหลักในการพัฒนาก็ต้องนำหลักการมาจากรูปแบบการเรียนรู้ที่จะนำหลักการมาพัฒนาต่อไป

หมายเลขบันทึก: 546275เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2013 20:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 สิงหาคม 2013 20:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เห็นนามสกุลโดนใจไครกันน่ะ

นามออกว่า"กระแสสินธ์ ถิ่นลุ่มน้ำ

จึงรีบค้นหามาติดตาม

หนุ่มคนงาม นามศรัณย์ กระแสสินธ์

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท