๑๗๓. ธรรมะกับชีวิตประจำวัน


ธรรมะกับชีวิตประจำวัน

         สมัยเมื่อย้อนหลังไปเกือบ ๓๐ ปี ฉันไม่เคยนึกหรอกว่า...การที่ผู้ใหญ่ เช่น พ่อ แม่ ครู อาจารย์ สอนเรา บอกเราว่าให้ท่องบทสวดมนต์ ให้ไหว้พระ ฉันเคยเรียนวิชาศีลธรรมในสมัยนั้น ฉันโดนอาจารย์ให้หัดนั่งสมาธิ ตอนนั้นฉันไม่มีสมาธิ ไม่เคยรู้จักคำว่า "นั่งนิ่ง ๆ" คือ ท่านั่งฉันนิ่งแต่ใจฉันไม่เคยนิ่ง ฉันคิดฟุ้งเฟ้อไปในอากาศ เรียกว่า "จิตล่องลอย" ไม่อยู่กับตัว เพียงแต่ฉันนั่งนิ่งได้เท่านั้น หรือช่วงนี้ฉันยังเป็นเด็กอยู่ ยังไม่มีความรับผิดชอบ... แต่ใจของฉันไม่นิ่ง...ฉันเรียนวิชาศีลธรรม ก็ได้แต่ท่องจำเหมือนนกแก้ นกขุนทอง ความคิดของฉันในช่วงนั้น เรียนก็เพื่อให้สอบผ่าน ฉันสอบวิชาศีลธรรม หน้าที่พลเมืองคราวใด ฉันได้ A ตลอด จะว่าฉันชอบรึ? ก็เปล่า...แต่ฉันทำเพื่อให้ผ่าน ๆ เพื่อนบางคนบ่นให้ฉันฟังว่า วิชาพวกนี้ "น่าเบื่อ" ชะมัด เข้าเรียนคราวใด ง่วงนอนทุกที...แต่สำหรับฉัน ๆ ไม่ได้มีความคิดเช่นนั้น ฉันไม่ง่วง ฉันก็สามารถฟังครูบรรยายได้จนจบชั่วโมง ถามว่า...ฉันชอบหรือเปล่า? ฉันตอบเลยว่า "เปล่า" แต่ฉันก็ไม่รู้ตัวเช่นกันว่า "ฉันทำคะแนนได้ A ได้อย่างไร"

        ตอนวัยรุ่นหรือตอนทำงานใหม่ ๆ ฉันก็ยังไม่ชอบเรื่องเกี่ยวกับธรรมะ เพราะในหัวสมองของฉัน ถ้าพูดถึงธรรมะ ฉันจะนึกถึงและมองเห็นแต่ภาษาบาลี นั่นคือ จินตนาการของฉันที่ถ้าเอ่ยถึงธรรมะ ฉันจะนึกเช่นนั้น...แต่ต่อมาเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยกลางคน ผนวกกับตำแหน่งในหน้าที่การงานสูงขึ้น ฉันมีความรับผิดชอบในหน้าที่โดยการพัฒนามนุษย์ให้มีจิตที่สูงขึ้น ฉันเข้ามาพัวพันกับเรื่อง "ศาสนา" + "การปฏิบัติ" ในทางพุทธศาสนามากขึ้น ฉันเริ่มเข้าใจในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามากขึ้น...ในความจริงเมื่อตอนเด็ก ๆ มาถึงตอนก่อนเริ่มเข้าสู่วัยกลางคน ฉันไม่รู้ตัวเองหรอกว่า "ใจส่วนลึก ๆ นั้น ฉันชอบ ฉันเข้าใจ ธรรมะ" เพียงแต่ฉันยังไม่เข้าถึงแก่นแท้ของธรรมะ...ถ้าฉันไม่ชอบ ฉันไม่สนใจ ไม่เข้าใจธรรมะ ฉันจะทำคะแนนวิชาศีลธรรมให้ได้ A หรอก...นี่เอง ที่ฉันไม่รู้ตัวของฉันเอง...ในชีวิตจริง ๆ ของฉันแล้ว ทุกขณะจิตที่ฉันปฏิบัติ ฉันนำหลักธรรมะ ต่าง ๆ ที่พระพุทธเจ้าสอนนำมาปฏิบัติต่อตัวเอง เช่น การไม่พูดโกหก การไม่ดื่มสุราของมึนเมา การไม่ลักทรัพย์ เรียกว่าศีล ๕ ฉันทำได้ ตลอดจนถึง การเอาใจเขามาใส่ใจเรา การไม่เลือกปฏิบัติ การยินดีที่คนได้ดี การทำความดีต่อผู้อื่น การไม่เบียดเบียนคนอื่นทั้งกายและวาจา การช่วยเหลือผู้อื่น และอีกหลาย ๆ เรื่อง ฉันได้นำมาปฏิบัติกับชีวิตจริงของฉัน

        สิ่งเหล่านี้นี่เองที่ฉันถือว่า "ธรรมะ" ที่ฉันได้นำมาปฏิบัติต่อชีวิตประจำวัน ต่อการปฏิบัติงานในแต่ละวัน การนั่งสมาธิ พระท่านสอนทำให้จิตนิ่ง แต่สำหรับฉัน ๆ นิ่งได้ทุกขณะจิต พอจิตจะไม่นิ่ง ฉันก็ฝึกโดยการดึงจิตกลับมาอยู่กับตัว ไม่คิดฟุ้งซ่านให้จิตออกนอกตัวฉัน นี่คือ การฝึกจิต เวลาฉันไปนั่งสมาธิ พระท่านบอกว่าให้นั่งดูจิตตนเอง ฉันก็สามารถทำได้ ทำแล้วเกิดสุขใจ + ชอบ + ใจรัก ทำแล้วทำให้ใจเกิดสุข มีความสุขที่ได้ปฏิบัติ แม้แต่เวลาทำงาน ฉันชอบสอนลูกน้องให้นึกถึง "ใจเขา ใจเรา คนเราเกิดมาไม่เหมือนกัน จะให้ได้ดั่งใจเราคงไม่ได้"...การไปปฏิบัติธรรมก็เช่นกัน เมื่อตัวเราไปปฏิบัติธรรมแล้ว ก็ควรนำหลักของการปฏิบัติธรรมนั้นกลับมาใช้กับตัวเราเพื่อให้เกิดผลดีต่อตัวเราสำหรับการใช้ชีวิตประจำวัน

        ฉันก็ยังอดแปลกใจ ฉันเองไม่ได้ว่า ทำไมฉันไม่เคยคิดอิจฉา ริษยาคนอื่น ฉันจะมีจิตที่นิ่ง จิตของฉันอยู่ที่ตัวฉันเอง ฉันรู้ ฉันไม่เคยส่งจิตออกนอก เวลาจิตออกนอกตัวฉันก็พยายามดึงจิตกลับมายังตัวฉันเป็นแบบนี้เรื่อย ๆ นี่กระมัง!!! ที่พระท่านบอกว่า "ให้หมั่นฝึกเข้าไว้" แต่สำหรับฉันในความรู้สึกว่า "สบายมาก และฉันก็คิดดีต่อผู้อื่นเสมอ ไม่เคยคิดร้าย" และเหล่านี้เองที่ฉันมีความคิดว่า ฉันใช้ธรรมะเข้ามาในชีวิตประจำวันของฉันเอง ถ้าทุกคนฝึกแบบนี้ได้ ฉันคิดว่า สังคมคงมีความสุขมาก ๆ เพราะทุกวันนี้ "ตัวฉัน ๆ คิดว่า ฉันมีความสุข สุขจากการได้พิจารณาและดูในตัวเรามากกว่าที่จะดูผู้อื่น"...นี่คือ "ตัวฉัน"

 

 

หมายเลขบันทึก: 546182เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2013 20:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 สิงหาคม 2013 13:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ศาสนาค่อยๆซึมซับสู่ตัวตนของอาจารย์โดยไม่รู้ตัวนะคะ.. ชื่นชมจริงๆเลย

kunrapee ทำไม่ค่อยได้ค่ะ ต้องค่อยๆฝึกต่อไป

แต่ที่ได้ทำคือรู้สึกตัวบ่อยขึ้น เร็วขึ้นว่าเราโกรธ โมโห อิจฉา อยากได้ อยากเป็น

นั่นสิค่ะ คุณ kunrapee  ในสมัยเด็ก ๆ พี่ยังสงสัยเลยค่ะว่า แม่พาไปวัดทำไม? ไม่เห็นจะรู้เรื่องเลย พอโตขึ้น ได้เรียนรู้ชีวิตและสัจธรรมมากขึ้นจึงทราบว่า ตนเองได้ปฏิบัติอยู่ แต่เราไม่รู้ตัวเองค่ะ...กลับคิดว่า ทำไมเราไม่เหมือนอื่น ๆ คริ ๆ ๆ...

ขอขอบคุณสำหรับดอกไม้กำลังใจค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท