น้ำเกี๋ยน ตำบลสุขภาพดี วิสาหกิจชุมชนยั่งยืน


“น้ำเกี๋ยน” ตำบลเล็กๆ ในจังหวัดน่าน หลายคนรู้จักในนามชุมชนเข้มแข็ง ชุมชนป้องกันยาเสพติด ชุมชนจัดการตนเอง และอีกหลายๆ อย่างที่รู้จักกัน เนื่องจากที่นี่มีกระบวนการเรียนรู้และจัดการตนเองมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าผู้นำจะเปลี่ยนไปกี่รุ่น แต่รากฐานการพัฒนาชุมชนที่เน้นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ยึดเอาทุนทางสังคมที่มีอยู่เป็นตัวเชื่อมร้อยคน ร้อยแผน ร้อยกิจกรรม สร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับคนในชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อไปสู่ภาพฝันร่วมกันของคนในชุมชนที่ว่า “กินอิ่ม นอนอุ่น ฝันดี”

เช่นเดียวกับการกลุ่มชีววิถี กลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่เป็นผลพวงของการพัฒนาชุมชน ที่แกนนำเห็นว่า ชาวบ้านมีค่าใช้จ่ายในการซื้อน้ำยาต่างๆมาใช้ในครัวเรือน เช่น ยาสระผม น้ำยาล้างจาน น้ำยาทำความสะอาด ผลซักฟอก เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นสารเคมีในขณะที่ภูมิปัญญาดั้งเดิมของชุมชนที่มีการนำเอาสมุนไพรมาผลิตและใช้เอง แต่ปัจจุบันมีเริ่มเหือดหายไป จึงต้องการที่จะรื้อฟื้นภูมิปัญญาท้องถิ่นเหล่านี้ให้กลับมา เพื่อ ต้องการลดรายจ่ายในการซื้อน้ำยาต่างๆมาใช้ในครัวเรือน ลดการใช้สารเคมีในครัวเรือน และนำสมุนไพร ในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

จึงเริ่มส่งเสริมการรวมกลุ่มการผลิตน้ำยาสะอาดมาใช้ในครัวเรือน โดยไปศึกษาเรียนรู้จากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอสองแคว และส่งเสริมการใช้ในชุมชน ปรากฏว่าได้ผลดี ชุมชนให้การตอบรับที่ดี จึงได้รวมกลุ่มผลิตเพื่อจำหน่ายสร้างรายได้เสริมให้กับสมาชิก โดยรวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชนในปี ๒๕๕๐ มีสมาชิกเริ่มต้น 79 คน ทุนเริ่มต้นจากการระดมจากสมาชิก เพียง 59,900 บาท เริ่มต้นลองผิดลองถูก ศึกษาเรียนรู้จนได้สูตรที่ได้ประสิทธิภาพ พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายตามความต้องการของตลาด ส่งเสริมการขายไปสู่ตลาดบน เช่น ห้างต่างๆ ในกรุงเทพฯ ปัจจุบัน ปี 2556 มีสมาชิก 340 คน มีสินทรัพย์ 1.5 ล้านบาท

สำหรับการตลาดนั้นได้ใช้หลากหลายรูปแบบ เช่น ขายในชุมชนให้ได้ก่อน (ใช้ก่อน), ขายให้คณะดูงาน ซึ่งมีทุกเดือน, จำหน่ายตามงานแสดงสินค้าในจังหวัด, จำหน่ายที่ศูนย์โอทอปน่าน และร้านค้าต่างๆหลายแห่ง, ร้านสะดวกซื้อ ขนาดใหญ่ 200 สาขาใน กทม., จำหน่ายทางเว็บไซด์ ส่งไปรษณีย์ให้ลูกค้าต่างจังหวัด, จำหน่ายงานแสดงสินค้าตามต่างจังหวัด /ต่างประเทศ เป็นต้น

การจัดสรรผลกำไร

1. ปันผลให้สมาชิกในอัตราร้อยละ 24 ของทุนเรือนหุ้น (เฉลี่ยร้อยละ2 ต่อเดือน)

2. โบนัสกรรมการบริหารร้อยละ 10 ของผลกำไร

3. โบนัสกรรมการฝ่ายผลิตร้อยละ 7.4 ของผลกำไร

4. ทุนขยายกิจการ ร้อยละ30 ของผลกำไร

5. ทุนสำรอง ร้อยละ 20 ของผลกำไร

6. ทุนสวัสดิการ ร้อยละ 5 ของผลกำไร

7. ทุนสาธารณะประโยชน์ร้อยละ 5 ของผลกำไร

ผลกำไรที่นำไปทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

1. สาธารณประโยชน์ ได้แก่ สนับสนุนทุนสาธารณประโยชน์, สนับสนุนทุนด้านสาธารสุข, สนับสนุนทุนการศึกษาเด็ก, สนับสนุนในงานประเพณี/วัฒนธรรมชุมชน

2. อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติละสิ่งแวดล้อมได้แก่ ปลูกพืชสมุนไพร, อนุรักษ์ป่าชุมชนและพืชสมุนไพรในป่าชุมชน, ผลิตปุ๋ยหมักจากเศษพืชที่ทำผลิตภัณฑ์

ผลดีที่เกิดขึ้น

1. สร้างรายได้ให้แก่คนในครอบครัวและชุมชน

Øชาวบ้านทั่วไป มีรายได้จากการนำสมุนไพรมาจำหน่ายให้กลุ่มสมุนไพรบางชนิดที่ไม่เคยมีราคาก็สามารถจำหน่ายได้เฉลี่ยปีละจำนวน80ราย เป็นเงิน2 -3 แสนบาท/ต่อปี

Øฝ่ายผลิตมีรายได้ วันละ 200 บาท และได้รับโบนัสสิ้นปีเฉลี่ยคนละ 2,500 - 9,000 บาท

Øสมาชิกได้รับเงินปันผลสิ้นปี ในอัตราร้อยละ 24 ของทุนเรือนหุ้น

Øจำหน่ายผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน มีรายได้ มากกว่า 2 ล้านบาท/ปี

2. ลดรายจ่ายในครัวเรือน

Øสมาชิกผลิตน้ำยาเอนกประสงค์ใช้ในครัวเรือนตนเอง จำนวน 316 ครัวเรือนๆละ 300 บาท/ปี รวมลดรายจ่ายชุมชน 1,137,600 บาท/ปี

Øสมาชิกซื้อผลิตภัณฑ์จากกลุ่มราคาต้นทุน316 ครัวเรือน สามารถลดรายจ่ายครัวเรือนละ250 บาท/เดือน รวมลดรายจ่ายชุมชน 948,000 บาท/ปี

3. พืชสมุนไพรในท้องถิ่น ได้นำมาใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า จากเดิมที่ไม่มีมูลค่าใดๆเช่น ใบหมี่ มะเฟืองและยังเป็นการสืบสานภูมิปัญญาของผู้เฒ่าผู้แก่

4. มีการออม :มีการระดมหุ้นการสร้างทุนสำรอง กองทุนออมทรัพย์

4.ด้านการบริหารจัดการองค์กร

Øมีโครงสร้างการบริหารจัดการที่ชัดเจน

Øมีแผนพัฒนาวิสาหกิจชุมชนและแผนธุรกิจ

5. ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

- สมาชิกปลูกพืชสมุนไพรทุกครัวเรือน และมีแปลงขยายพันธุ์สมุนไพรของกลุ่ม

6. การเอื้ออาทร/การแบ่งปัน

- สนับสนุนทุนสาธารณประโยชน์จากผลกำไรทุกปี

- สวัสดิการสมาชิก ร้อยละ 5 ของผลกำไร

- สนับสนุนทุนด้านสาธารณสุข

ผลสำเร็จที่ภูมิใจ

1. ชนะเลิศระดับชาติ : วิสาหกิจชุมชนดีเด่นด้านการบริหารจัดการโดยใช้ข้อมูลทางบัญชีประจำปี 2555 กรมตรวจบัญชีสหกรณ์

2. ชนะเลิศระดับเขต : วิสาหกิจชุมชนดีเด่นด้านการบริหารจัดการโดยใช้ข้อมูลทางบัญชีประจำปี 2555 สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ เขตที่ 6

3. ประกาศเกียรติคุณ : วิสาหกิจชุมชนตังอย่างที่มีการบริหารจัดการที่ดีตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาน่าน

4. ชนะเลิศระดับจังหวัด : แผนธุรกิจดีเด่นระดับจังหวัดปี 2555สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดน่าน

และอีกหลายรางวัลแห่งความภาคภูมิใจ

จากการพัฒนาที่ต่อเนื่อง โดยมี รพ.สต.เป็นแกนหลักสำคัญในการช่วยการพัฒนา ทำให้กลุ่มชีววิถีได้รับการยอมรับให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านวิสาหกิจชุมชนและการเรียนรู้ด้านสุขภาพ และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมกลุ่มชีววิถี ในวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่กลุ่มและชุมชนเป็นล้นพ้น

และจากตัวอย่างของกระบวนการพัฒนาชุมชนด้านเศรษฐกิจชุมชนที่คืนกำไรสู่ชุมชนในการจัดการสุขภาวะของคนในชุมชน ทำให้ที่นี่ได้รับการยกย่องให้เป็นต้นแบบของชุมชนจัดการสุขภาพดีวิสาหกิจชุมชนยั่งยืนตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข เป็นพื้นที่ศึกษาดูงานของพื้นที่ต่างๆ ในการจัดการสุขภาพ เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมอย่างเกื้อกูลกัน

ขอบคุณเรื่องราวดีดีและภาพจาก รพ.สต.น้ำเกี๋ยน และกลุ่มชีววิถี

หมายเลขบันทึก: 545983เขียนเมื่อ 19 สิงหาคม 2013 12:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มีนาคม 2015 15:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นบันทึกที่ดีและมีประโยชน์มากนะคะ

-สวัสดีครับ

-กิจกรรมน่าสนใจมาก  ๆครับ

-หากมีโอกาสคงได้ไปเยี่ยมชม"น้ำเกี๋ยน"

-ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท