ห้องเรียนวิทยาศาสตร์มีอะไรมากกว่าที่นักเรียนคิด


                      

          ด้วยวันนี้ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อดแปลกใจทำไมgoogle ไม่มี logo พิเศษ)  ทำให้ครูนกคิดถึงห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในยุคสังคมก้มหน้ามากกว่าปกติ 
          จากการสังเกตพฤติกรรมเด็กๆ ที่สอนในปีการศึกษานี้ทำให้ครูนกตั้งคำถามกับเด็กๆ ว่า "ลูก ชอบการทดลองกันหรือเปล่า" เพราะสังเกตเห็นความเฉยชา  การไม่ร่าเริง  การขาดความกระตือรือร้น  หรือแววตาที่ไม่สงสัยใดๆเลย  ซึ่งก่อนหน้านี้จะไม่พบในลูกศิษย์ แต่ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๕  พบว่าจำนวนนักเรียนที่กล้าบอกว่า ไม่ชอบการทดลอง เป็นจำนวน ๓ - ๕ คนต่อห้อง หากมองตัวเลขอาจจะน้อยเชิงปริมาณ แต่หากเพ่งให้ลึกซึ้งก็น่าใจหายเพราะนักเรียนกลุ่มนี้เป็นนักเรียนแผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ดังนั้นภารกิจของครูเคมีอย่างครูนกต้องเพิ่มสอนอย่างไรจึงจะทำให้เด็กมีทัศนคติเชิงบวกกับการทดลอง
          สิ่งที่ได้ลงมือกระทำเพื่อสร้างทัศนคติเชิงบวก
-  ให้กำลังใจผ่านการสนทนา  เช่น ไม่เป็นไรลองทำดูใหม่    ทำอุปกรณ์แตกก็จะไม่ตำหนิ(แต่เน้นว่าหากทำอะไรแตกต้องเก็บเศษแก้วให้หมดเพราะน้องๆ หรือคนอื่นที่ใช้ห้องเรียนแล้วไม่ทราบเหตุการณ์จะไม่ระวังอาจจะได้รับอันตราย)    จากนั้นให้เหตุผลว่า สารเคมีเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมเราต้องรอบคอบในการทดลองหากไม่จำเป็นก็ต้องไม่ทำซ้ำเพียงเพราะเราไม่รอบคอบ  หรืออุปกรณ์ที่เราใช้อย่างระมัดระวังก็จะทำให้รุ่นน้องมีใช้ต่อไป ประหยัดเงินส่วนนี้เพื่อซื้ออุปกรณ์ชิ้นอื่นที่สำคัญกว่า

-  แก้ไขมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน เช่น  น้ำมีสีใส....ต้องพูดคุยกันว่า สีใสไม่ใช่สี  การใช้แท่งแก้วคนซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งสองด้านขึ้นกับสถานการณ์และเนื้อสารที่เกี่ยวข้อง  ฯลฯ

-  สอนด้วยเหตุผลไม่ใช่ความจำ เช่น การรินกรดลงไปน้ำ...ไม่ใช่เทน้ำใส่ในกรด...ซึ่งครูต้องอธิบายเหตุผลไม่ใช่แค่เน้นว่าต้องทำแบบนั่น

-  ทักษะบางอย่างครูต้องให้โอกาส ต้องยอมสิ้นเปลือง เช่น การจุดไม้ขีดไฟ (สมัยครูนกถือว่าเป็นเรื่องเด็กๆ) แต่เด็กปัจจุบันไม่เคยใช้ไม้ขีดดังนั้นการจุดไม้ขีดเป็นเรื่องราวใหญ่โตและแปลกใหม่สำหรับเด็กบางคน   การใช้ตะเกียงแอลกอฮอล์ ณ เวลานี้ครูนกจะไม่มองว่า นักเรียนมีประสบการณ์แล้ว แต่ย้ำทุกครั้งเพราะมองว่าเป็นอุปกรณ์ที่นักเรียนไม่ได้ใช้ในชีวิตประจำวัน(แบบสมัยโบราณ)  ดังนั้นการการจุด การดับ การปรับระดับเปลวไฟเป็นเรื่องราวที่เราต้องถ่ายทอด

          สิ่งที่ครูนกคาดหวังในการทำปฏิบัติการแต่ละครั้ง หลักใหญ่คือ ทักษะที่นักเรียนได้รับ รองลงไปคือ ความรู้ โดยเฉพาะสมรรถนะสำคัญของนักเรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งมี ๕ ประการพบได้และปลูกฝังได้ในห้องเรียนวิทยาศาสตร์
            - การส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา (ใครแก้ปัญหาเก่งจะทำการทดลองได้อย่างราบรื่น)
            - การส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูง (วิเคราะห์ผลการทดลอง อภิปรายอย่างสร้างสรรค์)
            - การส่งเสริมทักษะชีวิต (เด็กหลายคนไม่เข้าใจใส่น้ำสองในสาม
ของบีกเกอร์ หลายคนจะกลัวการจุดไม้ขีดไฟ...ห้องเรียนวิทย์ช่วยได้)
            - การส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยี (การบันทึกภาพด้วยsmart phone/การทดลองเสมือนจริง/การค้นข้อมูลแบบฉุกเฉิน)
             - การส่งเสริมทักษะการสื่อสาร (การเขียนรายงานการทดลอง....เป็นการจัดระบบความคิดเพื่อสื่อสารข้อมูลที่ได้จากการลองมือทดลองเพื่อเชื่อมโยงสู่หลักการ กฏ หรือทฤษฎีต่างๆ)

                           

          ดังนั้นการสอนวิทยาศาสตร์สิ่งสำคัญคือ การทดลอง ค่ะ นักเรียนจะได้ Learning by doing สิ่งที่ครูต้องกระทำคือออกแบบการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับธรรมชาติของเด็กๆ และบริบททางสังคม  เนื้อหาสาระอาจจะดั้งเดิม แต่ทักษะเพิ่มเติมได้ทุกวันเพื่อให้ศิษย์ของเราก้าวสู่สังคมอาเซียนได้อย่างเข้มแข็ง   ดังคำขวัญวันวิทยาศาสตร์ปีนี้ "ทันโลก ทันวิทย์ จุดประกายความคิดสู่อาเซียน" 

หมายเลขบันทึก: 545830เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2013 09:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 สิงหาคม 2013 10:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

เด็กสมัยนี้ขาดทักษะหลายๆอย่างแบบไม่น่าเชื่อครับ อย่างลูกสาวผู้เขียน ใช้ไม้ขีดเป็น แต่ที่จุดแบบแก้ส ใช้ไม่เป็นกล้าๆกลัวๆ

ก็แปลกดี...ว่าเพราะอะไร

 

สวัสดีค่ะ คุณ
พ.แจ่มจำรัส

ค่ะ ถ้าสังเกตจะพบว่า.....เขาขาดทักษะหลายๆ อย่าง
- การใช้เชือกมัดของ....
- การกวาดพื้น

ฯลฯ.......น่าเป็นห่วงค่ะ เพราะต่อไปภัยพิบัติจะเกิดมากขึ้น รุนแรงขึ้น ดังนั้นทักษะพื้นฐานของชีวิตหลายอย่างเด็กๆต้องมี

เรียนแบบนี้น่าสนุก

ขอเรียนด้วยคนค่ะ

-สวัสดีครับครู..

-"สิ่งที่คาดหวังในการทำปฏิบัติการแต่ละครั้ง หลักใหญ่คือ ทักษะที่นักเรียนได้รับ รองลงไปคือ ความรู้ "

-ขอบคุณครับ

สุดยอดคุณครูเลยค่ะ เดี๋ยวนี้คุณครูเหนื่อยมากเลยนะคะ

สวัสดีค่ะ คุณครูkrutoiting


ยินดีรับค่ะ...แต่ต้องมาสอนร่วมกับครูนกนะค่ะ

   

 

สวัสดีค่ะ น้อง
เพชรน้ำหนึ่ง

 ครูนกก็อยากให้ครูเคมีหรือครูวิทยาศาสตร์คิดเช่นนี้.....การทดลองสำคัญที่สุดเพราะพัฒนาได้หลากหลายทักษะ

สวัสดีค่ะ คุณkunrapee  ครูนกเองกลับถึงบ้านก็เหมือนใบไม้โรยแล้วค่ะ...หลับชาร์จพลังอย่่างเดียว

เลิศ  สุดยอด   ห้ามท้อถอยนะคะ  สู้ ๆ ค่ะคุณครูนก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท