หลักการใช้และผลิตสื่อ/นวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้


ก่อนที่จะทราบว่าหลักการใช้สื่อ ผลิตสื่อคืออะไร นวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้คืออะไร เราต้องรู้ความหมายของมันก่อน

สื่อ ในที่นี่คือ สื่อการเรียนการสอนหมายถึง  ตัวกลางหรือสิ่งที่นำเนื้อหาสาระ หรือข้อมูลจากผู้ส่งไปยังผู้รับ ในการสื่อความหมายนั้นสื่อเปรียบเหมือนพาหนะที่จะนำสาร ( Message ) จากผู้ส่งไปยังผู้รับ ในทางการเรียนการสอนนั้น เมื่อมีการนำสื่อมาใช้เป็นเครื่องช่วยการถ่ายทอดของผู้สอน  จึงเรียกสื่อนั้นว่า "สื่อการสอน" กลางหรือช่องทางที่บรรจุเนื้อหาสาระ หรือสิ่งที่ผู้สอนต้องการถ่ายทอดไปยังผู้เรียน ช่วยทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ 

Carlton W.H. Erickson นักวิชาการทางด้านการใช้สื่อ กล่าวถึงเกณฑ์การเลือกสื่อการสอนดังนี้

 

1. สื่อการสอนมีประโยชน์ต่อหน่วยการสอนและมีกิจกรรมในการแก้ปัญหาหรือให้ประสบการณ์เฉพาะหรือไม่
2. เนื้อหาวิชาที่จะสื่อความหมายด้วยการใช้สื่อการสอนนี้เป็นประโยชน์และสำคัญแก่นักศึกษาในชุมนุมและสังคมหรือไม่
3. สื่อการสอนมีความเหมาะสมกับจุดประสงค์ของการสอน หรือเป้าหมายของผู้เรียนหรือไม่
4. สื่อการสอนช่วยให้มีการตรวจสอบระดับความแตกต่างของจุดประสงค์ของการสอน ในด้านเกี่ยวกับความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติและทักษะการฝึกปฏิบัติหรือไม่
5. สื่อการสอนช่วยให้นักศึกษาได้คิดตอบสนอง อภิปรายและศึกษาค้นคว้าหรือไม่
6. สื่อการสอนได้ช่วยแก้ปัญหาในการเรียนเนื้อหา และช่วยเสริมกิจกรรมนักศึกษาหรือไม่
7. สื่อการสอนช่วยให้การเสนอแนวคิดมีความสัมพันธ์กันหรือไม่
8. สื่อการสอนได้ช่วยในการเสนอเนื้อหาความรู้เกี่ยวกับระดับอุณหภูมิ น้ำหนัก ความลึก ระยะทาง การกระทำกลิ่น เสียง สี ความมีชีวิตและอารมณ์ได้ดีหรือไม่
9. สื่อการสอนมีความแน่นอนและทันสมัยหรือไม่
10. สื่อการสอนสอดคล้องกับจุดประสงค์ของการสอนที่พึงปรารถนาได้หรือไม่
11. สื่อการสอนช่วยให้แสดงถึงรสนิยมยินดีหรือไม่
12. สื่อการสอนสามารถใช้ในห้องเรียนธรรมดาได้หรือไม่ ความรู้ในเนื้อหาในสื่อการสอนมีตัวอย่างมากพอหรือไม่

หลักเกณฑ์ของการเลือกสื่อการสอน ของ Carlton W.H. Erickson ทั้ง 13 ประการข้างต้น พอสรุปเป็นหลักสำหรับการพิจารณาเลือกสื่อเพื่อใช้ในการเรียนการสอนได้ดังนี้

1. รูปแบบของขบวนการเรียนการสอน (Types of Learning)
2. ระดับของประสิทธิภาพของสื่อ (Degrees of Proficiency)
3. ประเภทของสื่อ (Types of Media)
4. ราคาในการผลิต (Production Cost)
5. การเลือกสื่อให้สัมพันธ์กับรูปแบบการเรียน (Learning Type-Media Matches)

หลักการในการผลิตสื่อ

 

1. ต้องออกแบบให้ตรงกับจุดมุ่งหมาย เหมาะสมกับผู้เรียน
2. ผลิตโดยคำนึงถึงประโยชน์ที่จะนำไปใช้งาน
3. สามารถนำไปใช้ได้ง่าย วิธีการใช้ไม่ยุ่งยาก มีคู่มือประกอบการใช้งาน
4. การสื่อบางประเภทไม่จำเป็นต้องแสดงรายละเอียดมากนัก
5. คำนึงถึงความประหยัดทั้งงบประมาณและเวลาให้เหมาะสม

 นวัตกรรมการศึกษา

 

 นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation ) หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กําลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ ( Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต [Internet] เหล่านี้ เป็นต้น

สรุป

ดิฉันคิดว่า ในการเลือกใช้สื่อหรือนวัตกรรม ผู้สอนควรจะศึกษาเกี่ยวกับเนื้อหาวิชา ผู้เรียน วิธีการสอนรวมถึงความพร้อมด้านอื่นๆ เพื่อสามารถเลือกใช้สื่อหรือนวัตกรรมให้ตรงกับจุดมุ่งหมาย ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับนักเรียน 

 

 

 

อ้างอิง

ณรงค์ สมพงษ์. (2530).  สื่อเพื่องานส่งเสริมเผยแพร่.กรุงเทพมหานคร : งานการพิมพ์ฝ่ายสื่อการศึกษา

สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทาลัยเกษตรศาสตร์.

 

ลัดดา ศุขปรีดี. (2523). เทคโนโลยีการเรียนการสอน.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

http://www.elearning.msu.ac.th/opencourse/0503780/Unit06/unit06_005.htm

 

 

หมายเลขบันทึก: 545521เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2013 23:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 สิงหาคม 2013 23:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท