รูปแบบการเรียนรู้และการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน


ดิฉันได้ลองศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนรู้จากในอินเตอร์เน็ตและในหนังสือ ดิฉันเองก็หาข้อสรุปไม่ได้ว่ารูปแบบการเรียนรู้จริงๆนั้นมีกี่แบบกันแน่ เพราะว่า มันเยอะมาก ดิฉันขอลิสแค่รายชื่อนักทฤษฎีการเรียนรู้และรูปแบบที่พบเจอมา ซึ่งรายละเอียดต่างๆก็แตกต่างกันออกไป มีดังนี้

 

Grasha & Reichman แบ่งรูปแบบการเรียนของผู้เรียนออกเป็น 6 แบ

1. แบบอิสระ (Independent) 2. แบบพึ่งพา (Dependent) 3. แบบร่วมมือ (Collaborative) 4. แบบหลีกเลี่ยง (Avoidance) 5. แบบแข่งขัน (Competitive) 6. แบบมีส่วนร่วม (Participant)

 

Gregorc จัดรูปแบบการเรียนเป็น 4 แบบ โดยยึดทฤษฎีของ Kolb เป็นหลัก

1. แบบการจัดลำดับเชิงนามธรรม (The Abstract Sequential Learner)

2. แบบการสุ่มเชิงนามธรรม (The Abstract Random Learner)

3. แบบการจัดลำดับเชิงรูปธรรม (The Concrete Sequential Learner)

4. แบบการสุ่มเชิงรูปธรรม (The Concrete Random Learner)

 

Renzulli & Smith ศึกษารูปแบบการเรียน โดยสำรวจความชอบในกิจกรรม

การเรียนของผู้เรียนที่แสดงออก และได้สรุปรูปแบบการเรียนไว้ 9 แบบ

1. แบบที่ผู้เรียนชอบทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเป็นอิสระในงาน

2. แบบที่ผู้เรียนชอบตอบคำถามที่มีผู้ถามในชั้นเรียน

3. แบบที่ผู้เรียนชอบการได้ฟังเพื่อนในชั้นเรียนแนะนำคำตอบ

4. แบบที่ผู้เรียนพอใจที่ได้พูดโต้ตอบกับผู้สอนหรือผู้เรียนคน

5. แบบที่ผู้เรียนสนุกสนานกับการเรียนเนื้อหาสาระ

6. แบบที่ผู้เรียนชอบทำงานตามลำพัง

7. แบบที่ผู้เรียนชอบที่จะตอบกลุ่มคำถามที่ง่าย

8. แบบที่ผู้เรียนจะตั้งใจฟังการบรรยายของอาจารย์

9. แบบที่ผู้เรียนชอบการมีส่วนร่วมในการแสดงบทบาท

 

Bandt & Others ได้จำแนกแบบการเรียนเป็น 12 แบบ

1. แบบลวงตา (Illusionist) 2. แบบนักใฝ่สันติ (Pacifist) 3. แบบนักคิด (Idea man) 4. แบบนักสืบ (Detective) 5. แบบนักโทษทางปัญญา (Cognitive prisoner) 6. แบบผู้ชำนาญเฉพาะ (Technician)

7. แบบโดดเดี่ยว (Isolationist) 8. แบบนักปรับปรุง (Revisionist) 9. แบบมายา (Shadow)

10. แบบปิดบัง (Mask) 11. แบบนักปฏิบัติ (Pragmatist) 12. แบบนักสร้างสรรค์ (Innovator)

 

Kolb, Rubin & McIntyre ได้แบ่งรูปแบบการเรียนรู้ออกเป็น 4 แบบ

1. แบบคิดอเนกนัย (Divergent Learning Style) 2. แบบดูดซึม (Assimilative Learning Style)

3. แบบคิดเอกนัย (Convergent Learning Style) 4. แบบปรับปรุง (Accommodation Learning Style)

 

Honey & Mumford ได้แบ่งรูปแบบการเรียนออกเป็น 4 แบบ

1. Activist หมายถึง ผู้เรียนที่ชอบการเรียนรู้ประสบการณ์

2. Reflector หมายถึง ผู้เรียนที่ชอบการคิดพิจารณาไตร่ตรองในหลายๆ แง่มุม

3. Theorist หมายถึง ผู้เรียนที่ชอบการวิเคราะห์ และการ

4. Pragmatist หมายถึง ผู้เรียนที่ชอบการทดลองว่าแนวคิด ทฤษฎี และเทคนิควิธีการ

ต่างๆ ที่ได้เรียนไปแล้วสามารถนำไปปฏิบัติได้ผลดีจริงหรือไม่

 

McCarthy แบ่งรูปแบบการเรียนออกเป็น 4 แบบ โดยใช้แนวคิด

ที่ได้จากทฤษฎีวงจรการเรียนรู้จากประสบการณ์ของ Kolb สรุปได้ดังนี้

1. แบบจินตนาการ (Imaginative Learners)

2. แบบวิเคราะห์วิจารณ์ (Analytic Learners)

3. แบบสามัญสำนึก (Common Sense Learners)

4. แบบมีพลัง (Dynamic Learners)

 

Dunn and Dunn ซึ่งระบุว่าแบบการเรียนหมาย ถึงวิถีทางที่บุคคลใช้ในการเรียนรู้ โดยเริ่มตั้งแต่การกำหนด สมาธิในสิ่งที่จะเรียน (concentrate) ประมวลผล (process) เข้าถึงแก่น (internalize) และการจดจำ(retain) โดยทำการ จำแนกสิ่งเร้าที่มีผลต่อการเรียนรู้ออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ สิ่งแวดล้อม ความรู้สึก ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ลักษณะทาง สรีรวิทยา และลักษณะทางจิตวิทยา

 

VARK (VARK Model : Visual, Aural, Read/Write, Kinesthetic) จำแนกบุคคลโดยพิจารณา จากลักษณะของประสาทสัมผัสที่รับข้อมูล ได้แก่ การมอง เป็นรูปภาพ (visual) การฟัง (aural) การอ่าน-เขียน (read/ write) และการปฏิบัติ (kinesthetic)

 

นอกจากนี้ยังมีแบบการเรียนอีกหลายประเภทที่ ถูกศึกษาและเผยแพร่อยู่ในเอกสารวิชาการต่างๆ อย่างไร

แต่จากการสังเกตจากการค้นคว้าพบว่า  รูปแบบการเรียนรู้ของ Kolb เป็นแบบการเรียนที่ถูกอธิบาย ไว้อย่างชัดแจ้งที่สุดแบบหนึ่งและมีการนำไปประยุกต์ใช้กับ การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

 

ต่อจากเรื่องรูปแบบการเรียนรู้จะสอดคล้องกับการพัฒนาการจัดเรียนการสอนดังนี้

 

ดิฉันคิดว่า ผู้เรียนมีรูปแบบการเรียนที่แตกต่างกันออกไปไม่เหมือนกัน การที่เราศึกษาเรื่องรูปแบบการเรียนรู้นั้นเพื่อให้เข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล ถ้าถามว่ารู้แล้วยังไงต่อ รู้แล้วเราก็จะสามารถนำไป วิเคราะห์ได้ว่าผู้เรียนถนัดทางด้านไหน ชอบวิธีการเรียนแบบใด ครูก็จะได้วางแผนในการจัดการเรียนการสอนได้สอดคล้องและเหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียนซึ่งท้ายที่สุดอาจทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ผู้เรียนมีความสุข อยากเรียนรู้มากขึ้นด้วย

 

แหล่งที่มา 

http://edu.chandra.ac.th/teacherAll/mdra/data/learnstyle.doc.

http://archive.lib.cmu.ac.th/full/T/2551/edsc0351ms_ch2.pdf

http://ejournals.swu.ac.th/index.php/hm/article/viewFile/625/621

http://www.nakhamwit.ac.th/pingpong_web/PDF/Re_2.pdf

 

สมชายสุริยะไกร. (2554).แบบการเรียนของนักศึกษาเภสัชศาสตร์: ทฤษฎีและข้อค้นพบ. . เภสัชศาสตร์อีสาน. 1,  (1-10).

 

หมายเลขบันทึก: 545502เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2013 21:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 สิงหาคม 2013 21:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท