การประเมินผลหลักสูตร


จากที่ได้อ่านจากหนังสือและบทความในอินเตอร์เน็ต ดิฉันขอสรุปตามความเข้าใจของตนเองว่า

การประเมินหลักสูตร เป็นการรวบรวมข้อมูลจากหลายๆด้านมามาประกอบการตัดสินใจ ใช้เพื่อพิจารณาว่าหลักสูตรที่สร้างขึ้นมานั้นมีความสัมพันธ์กันหรือไม่ ตรงตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้หรือเปล่า หรือว่าควรจะพัฒนาปรับปรุงด้านใด

 

สุทธนู ศรีไสย์(2550, หน้า 129)กล่าวไว้ว่า การประเมินหลักสูตร ควรดำเนินการอย่างน้อยใน 3ด้าน ใหญ่ๆ ดังนี้

1.หลักสูตรที่กำหนดไว้  - - เป้าหมายหรือแผนของหลักสูตรกำหนดไว้อย่างไร

2.หลักสูตรที่ตั้งใจจะให้ ( - - ผู้สอนจะสอนอะไร

3.หลักสูตรที่จะได้รับ ( - - ประสบการณ์ที่ผู้เรียนจะได้รับคืออะไร

จุดมุ่งหมายของการประเมินหลักสูตรที่สำคัญ คือ

1.การประเมินผลเพื่อตัดสินคุณค่า เป็นความต้องการประเมินผลหลักสูตรในภาพรวม ดังเช่น พิจารณาว่าผลผลิตหรือผลลัพธ์ที่ได้จากหลักสูตรเป็นไปตามความต้องการที่สถานศึกษากำหนดหรือไม่

2.การประเมินเพื่อการปรับปรุง เป็นการประเมินผลที่มุ่งพิจารณาเป็นบางด้านของหลักสูตร

การประเมินผลภายนอก

                        การประเมินผลจากภายนอกมีผลกระทบอย่างมากต่อสถาบันการศึกษา กรอบการประเมินภายนอกจะเน้นอยู่ที่การประเมินภาพรวมของโรงเรียน ภาควิชา ครูผู้สอน การปรับปรุงวิธีการวัดผล ผลการทดสอบ รวมทั้งการจัดอันดับสถาบันการศึกษา เป็นต้น การประเมินภายนอกต้องตอบคำถามพื้นฐานที่สำคัญ 4 คำถามดังต่อไปนี้ Tyler อ้างจาก Kelly (1999, p,14)

1.อะไรคือจุดมุ่งหมายทางการศึกษาที่สถาบันการศึกษาควรจะกำหนดไว้เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุผล

2.อะไรคือประสบการณ์ทางการศึกษาที่สถาบันการศึกษาต้องจัดเพื่อให้บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้

3.ประสบการณ์ทางการศึกษาเหล่านั้น สามารถจัดให้มีประสิทธิผลได้อย่างไร

4.เราพิจารณาได้อย่างไรว่าจุดมุ่งหมายเหล่านั้นบรรลุผลแล้ว

 

การประเมินผล ผลผลิต

หลักการของ ราล์ฟ ไทเลอร์ กล่าวไว้ว่า การประเมินผลควรเน้น ผลลัพธ์ที่เกิดจากการปฏิบัติของผู้เรียน  การใช้ข้อมูลการปฏิบัติของผู้เรียนมีความสำคัญและมีประโยชน์มากต่อการประเมินผล ผลผลิต เราต้องการประเมินบางสิ่งบางอย่างจากผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากผู้เรียนว่าตรงกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรที่กำหนดไว้หรือไม่

 

การประเมินผลกระบวนการ

แนวทางของสเต็ก กล่าวไว้ว่า เป็นกระบวนการที่ตอบสนองความต้องการและความสนใจในทันทีทันใดของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือผู้มีส่วนได้เสีย ส่วนแนวทางของ พาเล็ท และฮามิลตัน ชี้ให้เห็นว่า การประเมินกระบวนการควรเกี่ยวข้องอยู่กับ การอธิบายและแปลความหมายข้อมูลมากกว่าการวัดและการพยากรณ์เพื่อทำนายอนาคต กระบวนการติดสินใจเกี่ยวกับหลักสูตร รวมทั้งจุดแข็ง จุดอ่อนของกระบวนการนั้นๆ วิธีการประเมินส่วนมากเป็นการรวบรวมข้อเท็จจริงจากเอกสารและความคิดเห็นจากเพื่อนร่วมงาน และผู้ใต้บังคับบัญชา

 

การประเมินผลภายใน

กิจกรรมการจัดการประเมินผลภายในเน้นรายละเอียดจากการตอบคำถามหลักดังนี้

1.จุดมุ่งหมายและจุดเน้นของการประเมินผลคืออะไร

2.เกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินใจคืออะไร

3.หลักฐานใดบ้างที่จะต้องมีการรวบรวม และจะต้องใช้วิธีการใดบ้างสำหรับรวบรวมหลักฐานเหล่านี้

4.ต้องใช้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องคนใดบ้าง มาทำหน้าที่ที่ปรึกษาสำหรับการประเมินผล

5.ใครบ้างจะเป็นผู้รับผิดชอบและตัดสินใจในการประเมินผล

6.จะต้องใช้ทรัพยากรใดและในช่วงเวลาใดบ้าง

7.ผลการประเมินจะมีผลต่อการปฏิบัติอย่างไ

สรุป

การประเมินผลหลักสูตร

การประเมินหลักสูตรมีจุดมุ่งหมายเพื่อค้นหาข้อบกพร่องและปัญหาต่าง ๆ เพื่อนำไปปรับปรุงให้ดีขึ้น หรือพิจารณาเพื่อที่จะใช้ต่อหรือว่ายกเลิกไป

 

สุทธนู ศรีไสย์. 2550. การจัดการและการวางแผนพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ : ม.ป.ท.

 

http://thanyaporn01.blogspot.com/2009/11/blog-post.html

หมายเลขบันทึก: 545468เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2013 15:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 สิงหาคม 2013 15:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท