การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาและภูมิปัญญาท้องถิ่น


ก่อนที่จะทราบเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาท้องถิ่นนั้น เราจะต้องทำความเข้าใจก่อนว่า

ภูมิปัญญาท้องถิ่น คืออะไร

รัตนะ บัวสนธิ์ (2535 : 14-15) ให้ความหมายภูมิปัญญาท้องถิ่นว่า หมายถึง กระบวน

ทัศน์ของบุคคลที่มีต่อตนเอง ต่อโลกและสิ่งแวดล้อมซึ่งกระบวนทัศน์ดังกล่าวจะมีรากฐานจาก

คำสั่งสอนทางศาสนา คติ จารีตประเพณีที่ได้รับการถ่ายทอดสั่งสอนและปฏิบัติสืบเนื่องกันมา

ปรับปรุงเข้ากับบริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลงแต่ละสมัยทั้งนี้โดยมีเป้าหมายเพื่อความสงบสุขของ

ในส่วนที่เป็นชุมชน และปัจเจกบุคคล ซึ่งกระบวนทัศน์ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นจำแนกออกได้ 3 ลักษณะดังนี้

1.ภูมิปัญญาเกี่ยวกับการจัดความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติแวดล้อม

2. ภูมิปัญญาเกี่ยวกับระบบสังคมหรือการจัดความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์

3. ภูมิปัญญาเกี่ยวกับระบบการผลิตหรือการประกอบอาชีพที่มีลักษณะมุ่งเน้นระบบ

การผลิตเพื่อพึ่งพาตนเอง

 

อังกูล สมคะเนย์ (2535 : 15) ได้จัดกลุ่มภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

1.เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคติ ความคิด ความเชื่อและหลักการ ที่เป็นพื้นฐานขององค์ความรู้ที่เกิดจากการถ่ายทอดกันมา

2. เป็นเรื่องของศิลปะ วัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณี

3. เป็นเรื่องของการประกอบอาชีพในแต่ละท้องถิ่นที่ได้รับการพัฒนาให้เหมาะสมกับ

สมัย

4. เป็นเรื่องของแนวความคิด หลักปฏิบัติ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ชาวบ้านนำมา

ใช้ในชุมชน ซึ่งเป็นอิทธิพลของความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 

สรุปได้ว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายถึง ความสามารถในการใช้พื้นฐานความรู้ที่ได้จาก

ทางตรงและทางอ้อมนำมาประยุกต์ใช้สร้างสรรค์งานเพื่อพัฒนาในการดำรงชีวิตของคนในท้องถิ่น

ให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข

ส่วนการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นตามที่ได้อ่านทำความเข้าใจหนังสือชื่อ การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น (Curriculum Development for local) ของ ผศ.ดร.ฆนัท ธาตุทอง ขอสรุปตามความเข้าใจดังนี้

 

ขั้นตอนการวางแผนพัฒนาหลักสูตร

ขั้นที่ 1 ออกแบบหลักสูตร ชี้แจงทำความเข้าใจ ประชุม ศึกษากฎหมาย ข้อมูลพื้นฐานและความต้องการของท้องถิ่น

ขั้นที่ 2 จัดทำเอกสารหลักสูตร จัดทำเอกสารหลักสูตรสถานศึกษาโดยกำหนดองค์ประกอบที่สำคัญของหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นความเป็นท้องถิ่น รวมถึงออกแบบการสอนโดยพิจารณาจากมาตรฐานการเรียนรู้ของทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ จากนั้นจึงจัดทำ เอกสารหลักสูตรระดับห้องเรียน

ขั้นที่ 3 การบริหารจัดการหลักสูตรท้องถิ่น การวางแผนการใช้หลักสูตร การประชาสัมพันธ์ การเตรียมบุคลากร และการจัดสภาพแวดล้อม

ขั้นที่ 4 การสนับสนุนส่งเสริมการใช้หลักสูตรท้องถิ่น

ขั้นที่ 5 การจัดการเรียนการสอน

ขั้นที่ 6 การประเมินก่อนนำไปใช้

ขั้นที่ 7 การประเมินการใช้หลักสูตร

ขั้นที่ 8 การประเมินสัมฤทธิผล

หลักสูตรท้องถิ่นมีความหลากหลายแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับสถาพของท้องถิ่นนั้นๆ การเรียนแบบตามหลักสูตรท้องถิ่นจะเรียนแบบบูรณาการไม่แยกส่วนเพื่อให้มองเห็นภาพรวมและสอดคล้องกับสภาพจริง เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงได้เรียนรู้จริงจาก ภูมิปัญญาในท้องถิ่น ประเพณี วัฒนธรรม หรือว่าการประกอบอาชีพ การที่เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงนั้นจะทำให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้มาแก้ไขปัญาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพเนื่องจาก  เพราะว่า ถ้าคนเรารู้จริงในบางสิ่ง เห็นการเชื่อมโยงของระบบ เวลาเกิดปัญหาใดๆก็จะสามารถแก้ปัญหานั้นได้อย่างตรงจุดนั่นเอง

 

อ้างอิง

รัตนะ บัวสนธิ์. (2531). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นระดับประถมศึกษาแนวคิดและปฏิบัติการสารพัฒนาหลักสูตร. กันยายน-ตุลามคม 2531.... เอกสารอัดสำเนา

 

ฆนัท  ธาตุทอง. (2550). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น.กรุงเทพมหานคร : เพชรเกษมการพิมพ์

 อังกูล สมคะเนย์. (2535). สภาพและปัญหาการนำภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้พัฒนาหลักสูตรในโรงเรียน ประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอุบลราชธานีปริญญานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต . (สาขานิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตรกรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.ถ่ายเอกสาร.

หมายเลขบันทึก: 545467เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2013 15:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 สิงหาคม 2013 15:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท