การประท้วง การชุมนุมโดยสงบ และการเดินขบวนในระบอบประชาธิปไตย ตอนที่ 5


7 กฎหมายที่ใช้โดยอนุโลมที่กับการชุมนุมโดยสงบ

เมื่อมาพิจารณากับกฎหมายของประเทศไทยนั้น ก็มีกฎหมายหลายฉบับ ที่สามารถนำมาบังคับใช้ กับผู้ชุมนุมได้ อันเป็นการสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ ฯ มาตรา 63 วรรคสอง หากการชุมนุมเข้าหลักเกณฑ์ ดังกล่าวข้างต้น เช่น
 1. พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2542 มาตรา 108 “ห้ามมิให้ผู้ใดเดินแถว เดินเป็นขบวนแห่ หรือเดินเป็นขบวนใด ๆ ในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจร เว้นแต่ (1) เป็นแถวทหารหรือตำรวจที่มีผู้ควบคุมตามระเบียบแบบแผน (2) แถวหรือขบวนแห่ หรือขบวนใดๆที่เจ้าพนักงานจราจรได้อนุญาตและปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานจราจรกำหนด” และมาตรา 109 “ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำด้วยประการใดๆ บนทางเท้าหรือทางใดๆ ซึ่งจัดไว้สำหรับคนเดินเท้าในลักษณะที่เป็นการกีดขวางผู้อื่น โดยไม่มีเหตุอันสมควร”
 2. ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 372 “ ผู้ใดทะเลาะกันอย่างอื้ออึงในทางสาธารณะหรือสาธารณสถาน หรือกระทำโดยประการใดให้เสียความสงบเรียบร้อยในทางสาธารณะหรือสาธารณสถาน ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท”
 3. พระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ. 2493โดยได้วางหลักการไว้ว่า การจะใช้เครื่องขยายเสียงต้องขออนุญาตจากเจ้าพนักงานเสียก่อนจึงจะใช้เครื่องขยายเสียงได้ โดยใบอนุญาตจะกำหนด เวลา และสถานที่ที่จะใช้เครื่องขยายเสียงและหากใช้เสียงดังก่อความเดือดร้อนรำคาญมากเกินไป ก็อาจสั่งให้ลดความดังของการใช้เครื่องขยายเสียงลงได้
 4. พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 มาตรา 39 “ ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการปิดกั้นทางหลวง หรือวางวัตถุที่แหลมคมหรือมีคม หรือนำสิ่งใดมาขวางหรือวางบนทางหลวง หรือกระทำด้วยประการใดๆ บนทางหลวงในลักษณะที่อาจเกิดอันตรายหรือเสียหายแก่ยานพาหนะหรือบุคคล”

 ซึ่งในต่างประเทศเองก็ได้มีการยอมรับถึงข้อยกเว้นดังกล่าว ในการที่รัฐจะกำหนดมาตรการนำมาใช้บังคับกับผู้ชุมนุม อาทิ เช่น
 - ประเทศไอร์แลนด์ ได้บัญญัติรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ ในเรื่องเสรีภาพในการชุมนุม ว่าสามารถกระทำได้แต่ต้องไม่เป็นการรบกวนแก่บุคคลอื่น
 - ประเทศฝรั่งเศสเอง ก็มีมาตรการบังคับทางอาญา มาลงโทษแก่ผู้ชุมนุมได้ หากการชุมนุมมีลักษณะที่เป็นการขู่เข็ญ หรือ ข่มขู่ ผู้อื่น ตาม The Nouveau Code Penal มาตรา 431-1
 - หรือในบางคดีของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้วางหลักการไว้ว่า การชุมนุมที่ยึดเอาทางสาธารณะที่ประชาชนสัญจรไปมาเป็นเวลานานโดยอ้างสิทธิว่าเป็นที่สาธารณะนั้น เป็นเรื่องที่ทุกประเทศไม่อาจยอมรับได้หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายต้องเข้าไปดำเนินการตามความเหมาะสมต่อไป เช่น คดี Adderley ศาลสูงได้กล่าวว่า “ อาณาบริเวณที่เลือกไว้สำหรับการเดินขบวน เพื่อสิทธิของพลเมือง โดยสันตินั้น ไม่เพียงแต่จะต้อง มีเหตุผล เท่านั้น แต่ยังจะต้องเหมาะสมอีกด้วย .....” โดยศาลสูงในคดีนี้ เห็นว่าข้อโต้แย้งที่ตั้งสมมติฐานว่า ประชาชนสามารถประท้วง หรือแสดงความคิดเห็นตามสิทธิที่มีอยู่ในรัฐธรรมนูญ ได้ทุกเวลา ทุกวิธี และทุกสถานที่ เป็นสมมติฐานที่ขาดเหตุผล

 ที่กล่าวมาทั้งหมด นี้เป็นเพียงแนวทางตามหลักกฎหมายของประเทศไทยและต่างประเทศว่ามีหลักเกณฑ์เช่นไร เพื่อเป็นแนวทางหนึ่งของรัฐในการหาวิธีการเหมาะสมในการกำหนดมาตรการสำหรับประเทศไทย ต่อไป

อย่างไรก็ตามปัญหาที่จะเสนอต่อไปมีดังนี้ถ้าจะมีการประท้วง การชุมนุม เหมือนในเหตุการณ์ปี 2553 สมควรที่ผู้ชุมนุม หรือรัฐบาล หรือผู้อำนวยการให้การชุมนุมเป็นไปได้ และประชาชนกลุ่มที่ 3 ที่ไม่เกี่ยวกับข้อเสนอของผู้ชุมนุม เมื่อมาต้องใช้ที่สาธารณะเหล่านี้ และสื่อมวลชนจะต้องทำอะไร และอย่างไร คือบันทึกที่จะได้นำเสนอต่อไป

หนังสืออ้างอิง

จันทจิรา เอี่ยมมยุรา.เสรีภาพในการชุมนุมในที่สาธารณะ : หลักทั่วไปและข้อจำกัด.http://www.enlightened-jurists.com/directory/94/ เข้าถึงเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

จันทจิรา เอี่ยมมยุรา.หลักทั่วไปของเสรีภาพในการชุมนุมสาธารณะในที่สาธารณะ. http://www.enlightened-jurists.com/page/127 เข้าถึงเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

จันทจิรา เอี่ยมมยุรา.ข้อจำกัดเกี่ยวกับเสรีภาพในการชุมนุมสาธารณะในที่สาธารณะ http://www.enlightened-jurists.com/page/128/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B0.html เข้าถึงเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ภาสพงษ์ เรณุมาศ. เสรีภาพในการชุมนุม (Freedom of Assembly) ตามรัฐธรรมนูญ.http://www.pub-law.net/publaw/view.aspx?id=1230 เข้าถึงเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

วิกิพีเดีย. การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553.http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4_%E0%B8%9E.%E0%B8%A8._2553 เข้าถึงเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2556



หมายเลขบันทึก: 545158เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2013 17:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 สิงหาคม 2013 17:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ในความเป็นจริง พี่กำลังคิดว่า กฎหมายใดๆ ในบ้านเรา ไม่มีการบังคับใช้นะ  ไม่รู้ว่าเรายังเป็นนิติรัฐอยู่หรือเปล่า

อีกหน่อยพรรคการเมืองต้องทำ ๒ อย่าง (นอกจากมีเงินเยอะๆ) คือ

- มีกองกำลัง  

- มี สส. ที่พร้อมจะถอดเกือก แก้ผ้า ในสภา

เพราะกฎหมายเกี่ยวกับการชุมนุมอ่อนแอ กลไกการควบคุมจริยธรรมนักการเมืองอ่อนแอ

คิดให้ขำๆ ได้ แต่ก็เจ็บปวดอยู่นะในฐานะพลเมือง

ขอบคุณสำหรับความเห็นของคุณ Nui ที่ให้ผมได้พิจารณาต่อไปครับ ความจริงกฎหมายเรื่องนี้กำลังอยู่ในระหว่างในการประชุมในรัฐสภาของเรา แต่ไม่รู้ว่าทำไมจึงไม่ได้รับการศึกษาหรือการถกเถียงต่อในรัฐสภาครับ สำหรับความเห็นของคุณผมคิดว่าถ้าเป็นอย่างที่คุณว่าไว้ กล่าวคือ มีกำลัง และ มี่ี ส.ส. กระทำสิ่งที่ไม่เป็นที่สุำภาพแก่่ผู้อื่น สิ่งนั้นย่อมไม่เป็นการประท้วงในระบบประชาธิปไตยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท