ปัญหาในการพัฒนาหลักสูตร


สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้ผมจะมาพูดเกี่ยวกับเรื่อง "ปัญหาในการพัฒนาหลักสูตร" ก่อนที่จะพูดเกี่ยวกับข้อมูลที่ค้นคว้ามา จากประสบการณ์ของผมในการทำงานในฐานะครู ผมเห็นเลยว่าปัญหาในการพัฒนาหลักสูตรคือ

1. ครูหลายท่านไม่รู้ว่าตัวเองต้องสามารถทำหลักสูตรได้

2. ครูหลายท่าน ทำหลักสูตรไม่เป็น

3. ครูหลายท่านทำหลักสูตรได้ แต่เนื่องจากการทำหลักสูตรต้องอาศัยการร่วมคิดร่วมทำ ในขณะที่ครูบางท่านพอทำไม่เป็น ก็ปฏิเสธงานเลยว่าไม่ทำ ทำให้การพัฒนาหลักสูตรเป็นไปได้ช้าหรือยากลำบาก

ส่วนสำหรับข้อมูลที่ไปค้นมานะครับ สุภาพร แพรวพนิต (ไม่ระบุปีที่พิมพ์ อ้างถึงใน กนิษณ์ฐา ทองดี, 2553) ได้กล่าวถึงปัญหาของการพัฒนาหลักสูตรไว้ว่ามีดังต่อไปนี้

  1. ปัญหาขาดครูที่มีคุณสมบัติเหมาะสม

ปัญหาของการพัฒนาหลักสูตร  คือปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการยกระดับของหลักสูตรจากระดับที่เป็นขึ้นสู่อีกระดับหนึ่ง  ปัญหาอันเกิดจากการร่วมคิดร่วมทำ  ร่วมกันสร้างหลักสูตร และร่วมกันนำหลักสูตรไปใช้  มีดังนี้

  2. ปัญหาการจัดอบรมครู

  3. ปัญหาการไม่ยอมรับและไม่เปลี่ยนแปลงบทบาทการสอนของครูตามแนวหลักสูตร

  4. ศูนย์การพัฒนาหลักสูตร  ไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตน

  5. ขาดการประสานงานที่ดีระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ

  6. ผู้บริหารต่าง ๆ ไม่สนใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร

  7. ปัญหาขาดแคลนเอกสาร เนื่องจากขาดงบประมาณและการคมนาคมขนส่งไม่มีประสิทธิภาพพอ

นอกจากนี้ Skilbeck  (1984 อ้างถึงใน ชัยวัฒน์, สุทธิรัตน์, 2548)  และ Marsh et al. (1990 อ้างถึงใน ชัยวัฒน์, สุทธิรัตน์, 2548)  สรุปปัญหาอุปสรรคของการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาในต่างประเทศ  ไว้ดังนี้ (ชัยวัฒน์  สุทธิรัตน์, 2545  อ้างถึงใน ชัยวัฒน์, สุทธิรัตน์, 2548)

1. ครูมีความรู้และความสามารถด้านการพัฒนาหลักสูตรไม่เพียงพอในด้านการวางแผน  ออกแบบ  การนำหลักสูตรไปใช้  และการประเมินผลหลักสูตร ครูขาดความมั่นใจ  และวิตกกังวลในการดำเนินการพัฒนาหลักสูตร  ดังนั้น จึงควรมีโปรแกรมพัฒนาความรู้และความสามารถของครูและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในด้านการพัฒนาหลักสูตรก่อนพัฒนาหลักสูตร

2.ครูขาดแรงจูงใจและมีเจตคติทางลบต่อการพัฒนาหลักสูตร  โรงเรียนที่ล้มเหลวเกี่ยวกับโครงการการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา เนื่องมาจากการที่ครูมีเจตคติทางลบและเกิดการต่อต้านจากครู ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของผู้บริหารที่จะส่งเสริมและสนับสนุนบรรยากาศของโรงเรียนตั้งแต่เริ่มต้น และมีการพัฒนากลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องให้มีเจตคติ และแรงจูงใจที่ดีต่อการพัฒนาหลักสูตร

3. โครงสร้างการบริหารงานของโรงเรียนไม่เอื้อต่อการพัฒนาหลักสูตรโดยโครงสร้าง

ของโรงเรียน และการบริหารจัดการเป็นสายงานบังคับบัญชาแบบดั้งเดิม

4.   ขาดการวางแผนด้านเวลา  การที่ไม่มีการวางแผนเรื่องเวลาในการทำงานพัฒนาหลักสูตร ไม่ลดคาบสอน เพื่อวางแผนการทำงานร่วมกัน การสะท้อนความคิดและการพัฒนาหลักสูตร ซึ่งเวลานี้เกี่ยวพันไปถึงเจตคติ และระดับแรงจูงใจของครู  ครูและผู้มีส่วนร่วมบางส่วนจึงอาจมีปฏิกิริยาต่อต้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาได้

5.  ขาดผู้เชี่ยวชาญสนับสนุน  โดยขาดผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้  ความเข้าใจ และทักษะในการให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนาหลักสูตร

6.  ขาดงบประมาณสนับสนุน ในการเตรียมวัสดุอุปกรณ์ และเงินสนับสนุนช่วยเหลือครูแต่ละวันในการพัฒนาหลักสูตร

7.  บรรยากาศของโรงเรียนที่ไม่ส่งเสริมการทำงาน เนื่องจากขาดผู้นำที่มีประสิทธิภาพและเกิดจากมีผู้ต่อต้านในการพัฒนาหลักสูตร

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์ (2548) ได้สรุปปัจจัยหลักที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา มี 3 ประการ  คือ
แรงจูงใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ความสนใจในแนวคิดของนวัตกรรม  และการควบคุมการทำงาน และมีปัจจัยสนับสนุน 6 ประการคือ รูปแบบของกิจกรรม บรรยากาศของโรงเรียน บุคคลผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง  เวลา ทรัพยากร รวมทั้งการสนับสนุนจากภายนอก

จากการที่ผมได้ทำงานจริง เมื่อได้อ่านข้อมูลจากที่ได้ค้นคว้ามาแล้วก็ค่อนข้างเห็นด้วย บางครั้งการทำหลักสูตรก็ทำได้ด้วยความลำบากเนื่องจากไม่มีผู้บริหารมาสนับสนุน เพื่อนร่วมงานก็มองว่าเราหางานมาให้ทำ สร้างภาระให้กับพวกเขา ทั้งๆที่พวกเขาไม่เคยรู้ว่ามันเป็นภาระหนึ่งของครูที่ครูทุกคนต้องทำอยู่แล้ว อีกทั้งจุดประสงค์ที่ให้ครูทำหลักสูตรเอง เพื่อให้เหมาะสมกับบริบทของครูผู้สอนและโรงเรียนนั้นๆ ซึ่งหากมองตามเจตนาแล้วผมคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีมาก แต่ถ้ามองในทางปฏิบัติแล้ว ค่อนข้างจะสร้างภาระให้กับครูไม่น้อยทีเดียว จากเดิมที่ครูต้องทั้งเขียนแผนการสอน ทั้งสอน ทั้งตรวจงาน ทั้งดูแลนักเรียน ทั้งงานเก็บใบตอบรับต่างๆของโรงเรียน ออกข้อสอบ ประเมินผลการเรียนนักเรียน ทำวิจัยในชั้นเรียน และอื่นๆอีกมากมาย ต้องบวกการเขียนหลักสูตรเพิ่มเข้าไปอีก ซึ่งต้องยอมรับตรงๆว่าเป็นภาระที่ค่อนข้างใหญ่พอสมควร

รายการอ้างอิง

กนิษณ์ฐา ทองดี. (2553). ปัญหาและแนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตร. คัดมาเมื่อ 2 สิงหาคม 2556, จาก http://www.learners.in.th/blogs/posts/408465

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2548). การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา : ฝันที่ยังไปไม่ถึง. คัดมาเมื่อ 2 สิงหาคม 2556, จาก http://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3&source=web&cd=3&cad=rja&sqi=2&ved=0CDoQFjAC&url=http%3A%2F%2Frppiyachan.files.wordpress.com%2F2010%2F07%2Fe0b980e0b89be0b8a3e0b8b5e0b8a2e0b89ae0b980e0b897e0b8b5e0b8a2e0b89a.doc&ei=2Nj7Uf3BMYaFrAfYv4CQBA&usg=AFQjCNGJBnn7V2gtLiJBfxjzgIidIKIcow&bvm=bv.50165853,d.bmk

หมายเลขบันทึก: 544465เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2013 23:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 สิงหาคม 2013 23:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท