แนวคิดเรื่อง parody ตอนที่ 7


หน้าที่ของการประชดประชัด

การประชดประชันทำให้การอ้างอิงที่เป็นสหบท (intertexual reference) กลายเป็นบางสิ่งที่มากกว่าการเล่นเชิงสติปัญญา (academic play) หรือการถดถอยอย่างไม่มีวันกลับไปสู่ความเป็นตัวบท (texuality) นั่นหมายความว่าสิ่งที่เราเรียกว่าความสนใจของเราที่มีต่อกระบวนการทางภาพตัวแทนทั้งหมด ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบและวิถีการผลิตแบบใดก็ตาม ก็คือความเป็นไปไม่ได้ที่จะมองหาโมเดลของความมีอำนาจสมบูรณ์ (totalizing model) เพื่อที่จะแก้ไขความขัดแย้งที่โพสต์โมเดิร์นที่เป็นอยู่  

การเมืองแบบรหัสซ้อน (double-coded politics)

1. ในฐานะที่เป็นภาพหนึ่งการเขียนแบบประชดประชัน การลอกเลียนงานทางศิลปะในอดีตนั้นจะทำหน้าที่อยู่ 2 อย่างเกี่ยวกับเรื่องการเมือง นั่นคือ 1. จะให้หรือสร้างความชอบธรรม และ 2. ทุบทำลายสิ่งที่มันลอกเลียนแบบ

2. การลอกเลียนงานทางศิลปะในอดีตสามารถที่จะถูกใช้เทคนิคในการทบทวนตนเอง (self-reflexive technique) ซึ่งจะชี้ให้เห็นศิลปะในฐานะที่เป็นศิลปะ (art an art) และศิลปะในฐานะที่เป็นหรือมีการเชื่อมต่อกับสุนทรียศาสตร์ และความเป็นอดีตของทางสังคม การปรากฏขึ้นของการประชดประชันจะมีการนำเสนอสัญญะที่มีอยู่ภายใน (internalized signs) ของความมีสติสัปปชัญญะ (self-consciousness) ในเรื่องของวิธีการในการสร้างความชอบธรรรมของวัฒนธรรม

3. ยุทธวิธีทั้งหลายสำหรับการลอกเลียนงานทางศิลปะในอดีตสามารถนำมาใช้ได้ในศิลปินแบบสตรีนิยม (feminist artists) เพื่อที่จะแสดงให้เห็นถึงประวัติศาสตร์และอำนาจทางประวัติศาสตร์ (historial power) ของสิ่งที่เป็นภาพตัวแทนทางวัฒนธรรมอันหลากหลาย ในขณะเดียวกันก็จะมีการสร้างบริบทแบบประชดประชันเพื่อให้เราได้รื้อถอน (decontruct)ภาพตัวแทนอันนั้น

4. การเมืองของการเป็นภาพตัวแทน (the politics of representation) และภาพตัวแทนของการเมือง (the representation of politics) (สำหรับความหมายของสองสิ่งนี้ผมค่อยมานำเสนอนะครับ) สองสิ่งนี้บ่อยครั้งที่จะเชื่อมต่อไปยังงานเขียนที่ยอมรับกับทุกสิ่งว่าตนเป็นเพียงแค่งานเขียนหรือเรื่องสมมติและมีการเขียนแบบประวัติศาสตร์ (historiographic metafiction) การลอกเลียนงานศิลปะในอดีตจึงกลายมาเป็นการทบทวนอดีตอย่างประชดประชันทั้งในเรื่องของศิลปะและประวัติศาสตร์

 5. นอกจากนี้ Hutheon จะรื้อคิดทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ศาสนา การปกครอง ฯลฯ หรือการตีความทุกอย่าง การมองว่าสิ่งเหล่านี้เป็นผลมาจากอุดมการณ์ที่เรามี และมีต่อตัวเรา พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือไม่เชื่อในสัจธรรมหรือความจริง (truth)

เมื่อกล่าวมาถึงตรงนี้พวกเราเราจะตีความงานของนิสิตเหล่านี้อย่างไร ถ้าเป็นแบบ Jameson ก็จะไม่สะท้อนอะไรเลย ไม่มีแนวคิดทางการเมืองใดๆทั้งสิ้น เป็นการลอกเลียนที่ว่างเปล่า มีแต่ความคิดถึงแต่หนหลัง ช่วยให้เราเผชิญหน้ากับอดีตแบบเฉี่อยชา  แต่ถ้าเป็นแบบ Hutheon จะมีการเมืองอยู่ข้างใน ช่วยให้เราทบทวนการเมืองที่เป็นฮิตเลอร์ในตัวเราเองได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ ช่วยให้เราหัวเราะเยาะเย้ย และประชดประชัน “ความเป็นฮิตเลอร์” ในงานทางศิลปะได้มากขึ้น 


หมายเลขบันทึก: 544351เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2013 17:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 สิงหาคม 2013 17:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

มาติดตามอ่านบันทึกที่ดีมีประโยชน์...ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณมากครับท่านดร.พจนา แย้มนัยนา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท