Thai DPP : ความก้าวหน้าของจังหวัดนครนายก (2)


งานนี้เป็นงานเชิงคุณภาพ อย่าคิดว่าเป็นงานใหม่ ทัศนคติในการทำงานสำคัญ ถ้ามีทัศนคติต่องานนี้ว่าเป็นงานวิจัย จะเป็นยาดำ แล้วหลุดไปสู่กลุ่มเสี่ยง.

ตอนบ่ายเราไปพบทีมของอำเภอปากพลีที่ รพ.ปากพลี โรงพยาบาลปากพลีเป็นโรงพยาบาลชุมชนเล็กๆ อยู่ในชุมชนจริงๆ ดูร่มรื่น มีอาณาเขตติดกับสำนักงานสาธารณสุขอำเภอปากพลี เดินถึงกันได้ นพ.สมาน ฟอนฟัก ผอ.รพ.ปากพลี คุณวีระ กิตติวิทยากุล สสอ.ปากพลี (ปัจจุบันย้ายไปอำเภอบ้านนา) คนทำงานจาก 9 รพ.สต. และของ รพ. มาเข้าประชุมด้วย

การพูดคุยกันจึงได้รู้เพิ่มเติมว่าอาจารย์วิชัยเคยทำงานอยู่อำเภอวังน้ำเย็น อาจารย์วิชัยได้ให้ข้อมูลแก่ผู้ที่มาร่วมประชุมว่าโครงการนี้เป็นงานที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง... สปสช.คาดหวังค่อนข้างเยอะว่าจะขยายผล อาจารย์วัลลาได้รู้จักกับทีม DM ที่เข้มแข็งที่สุด ทีม KM ที่เข้มแข็งที่สุด กำลังสร้างประวัติศาสตร์การทำงานวิจัยที่สำคัญ

พื้นที่ที่ทำงานค่อนข้างยากคือจังหวัดในภาคกลาง ที่นี่ นายแพทย์ สสจ. ไม่ขัด แต่ต้องคุยกับพื้นที่ เห็นแล้วว่าทีมปากพลีเข้มแข็งและผู้บริหาร (ผอ.รพ. และ สสอ.) สนับสนุน ซึ่งคุณหมอสมานเสริมว่าเราทำงานเชิงคุณภาพ เราจะภูมิใจ




ภายในห้องประชุมของ รพ.ปากพลี นพ.สมาน ฟอนฟัก (ผอ.รพ.) อยู่หัวโต๊ะ


คุณแอนนำเสนอข้อมูลผลการคัดกรอง และวิธีการทำงานว่ามีการเตรียมตัวอย่างไร มีการทำประชาคม พื้นที่ไหนทำงานก็ลงแขกช่วยกัน พื้นที่อำเภอปากพลีมีสัดส่วนผู้สูงอายุสูง จึงคัดกรองไม่ได้จำนวนตามเป้าหมาย การจัดค่ายจะแบ่งเป็นโซนเหนือและโซนใต้ ใช้ห้องประชุมของ รพ. ใช้คำเชิญว่า “มาเข้าโครงการป้องกันเบาหวาน” การเก็บข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญ เราซักซ้อมคำตอบสำหรับคำถาม (ถ้ามี) เช่น โดนเจาะเลือดบ่อยๆ จะได้อะไร ... เราจะทำให้คุณไม่เป็นเบาหวาน

คุณวีระ สสอ. เล่าว่าทำงาน NCD เชิงปริมาณมานานพอควร งานนี้เป็นงานเชิงคุณภาพ อย่าคิดว่าเป็นงานใหม่ ทัศนคติในการทำงานสำคัญ ถ้ามีทัศนคติต่องานนี้ว่าเป็นงานวิจัย จะเป็นยาดำ แล้วหลุดไปสู่กลุ่มเสี่ยง... ต้องคิดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อเขา จะทำอย่างไรให้กลุ่มเสี่ยงที่คัดกรองมาเข้าใจว่าไม่ใช่งานวิจัย แต่เป็นการทำอย่างไรให้วิถีชีวิตไม่เป็นเบาหวาน ต้องมีทัศนคติที่ดีต่อโครงการ ฝากทุกคนให้มีทัศนคติที่ดี... อย่ามองว่าเป็นภาระที่เพิ่มขึ้น ใจพวกเราต้องมาก่อน ถ้าเกิดปัญหาในการจัดการ ผอ. และ สสอ. เต็มที่... ต้องมีเทคนิคในการคุย แล้วทุกอย่างจะผ่าน

คุณหมอสมานยังเพิ่มเติมว่าเวลาที่คัดกรอง บางคนต้องตรวจซ้ำ อย่าเพิ่งบอกชาวบ้านว่าเป็นหรือไม่เป็น DM ควรบอกว่าสงสัยว่าจะเป็น เราคุยกันว่าคนที่มามั่ง ไม่มามั่ง (มาร่วมกิจกรรม) ก็เก็บไว้ก่อน ผอ. แนะว่าต้องบอกว่าให้มาให้ครบ จะได้ประโยชน์ มาพร้อมกันสนุกนะ มาคนเดียวโดนซ่อม ห้องประชุมของ รพ. ยินดีเปิดให้ตลอดเวลา

เรายังคุยกันอีกว่า กิจกรรมต้องให้ เร้าใจ มาแล้วติดใจอยากมาอีก น่าจะหาชื่อให้กลุ่มเสี่ยง จะได้รู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกัน



หน้าสำนักงานสาธารณสุขอำเภอปากพลีกับคุณวีระ (สสอ.) และทีมงาน รพ.สต.


วัลลา ตันตโยทัย


หมายเลขบันทึก: 544142เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2013 22:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กรกฎาคม 2013 22:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท