Thai DPP : ความก้าวหน้าของจังหวัดนครนายก (1)


หวังความยั่งยืน เจ้าหน้าที่ทำได้ ถ่ายทอดได้ ชุมชนมีส่วนร่วม ถ่ายทอดได้

สัปดาห์นี้ทีมอำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก กำลังจัดค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสำหรับกลุ่มเสี่ยง โดยแบ่งเป็น 2 รอบต่อเนื่องกัน คุณแอน อังศุมาลิน มั่งคั่ง หัวหน้าทีมส่งรูปภาพการทำงานและกิจกรรมผ่าน Line มาให้ดู ทีมเตรียมงานและทำงานกันเองทุกอย่าง หนักและเหนื่อยแน่นอน แต่คุณแอนบอกว่า “กลุ่มเสี่ยงสารภาพบาปแล้วให้คำมั่นสัญญาก็ชื่นใจแล้ว” นี่คือกำลังใจของคนทำงาน

ดิฉันและ ศ.นพ.วิชัย เอกพลากร ได้ไปเยี่ยมทีมจังหวัดนครนายกตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน 2556 แต่ไม่ได้เขียนบันทึกสักที คราวนั้นได้ไปพบ นพ.แสวง หอมนาน นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครนายก เพื่อชี้แจงการดำเนินงานและขอการสนับสนุนเพราะมีความจำเป็นต้องขยายพื้นที่ เนื่องจากคัดกรองทั้งอำเภอปากพลีแล้วยังได้กลุ่มตัวอย่างไม่ครบ ซึ่งนายแพทย์ สสจ. และ คุณมณี ผลภาษี หัวหน้ากลุ่มงานควบคุมโรค ยินดีให้การสนับสนุน

นพ.แสวง หอมนาน บอกว่าขอบคุณกัลยาณมิตร พื้นที่ยังขาดองค์ความรู้ ปัญหาของผู้ป่วยส่วนใหญ่ในพื้นที่คืออะไร เจ้าหน้าที่มีความพยายามจะทำอะไรบ้าง ท่านเป็นคนจังหวัดเพชรบุรี เดินทางระหว่างนครนายกและเพชรบุรีเกือบทุกสัปดาห์ จบแพทย์รามาฯ อยากจะทำเรื่อง Rapid survey สำรวจสภาวะสุขภาพของคนนครนายก....

อาจารย์วิชัยเล่าให้ทีมจังหวัดนครนายกฟังว่าโครงการ Thai DPP เป็นงานที่แปลกเพราะไม่ใช่งาน top down การจัดการกลุ่มเสี่ยงยังเป็นปัญหา การนำไปสู่การปฏิบัติ ยังไม่มีแนวปฏิบัติที่ดี ถ้าทำได้และพิสูจน์ได้ว่า KM มีประสิทธิผล ก็เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรมของบ้านเรา สปสช. ต้องการ pool เครื่องมือที่จะเอาไปใช้ได้ ขณะนี้โครงการอยู่ใน stage ของการ recruit คน โดยใช้มาตรฐาน OGTT การ recruit คนก็หินเหมือนกันเพราะบ้านเรายังไม่ได้ทำ OGTT

เป้าหมายจริงๆ ต้องการได้วิธีการที่จะนำไป practice จริง ไม่ใช่ research ขึ้นหิ้ง การที่เครือข่ายเบาหวานเป็นทีมหลักเพราะคุ้นเคยกับ KM คนพื้นที่คิดเครื่องมือ/วิธีการกันเอง... อยากให้งานเป็นไปราบรื่น สังเกตพบว่าถ้า รพ.รับ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลและแพทย์ เอาด้วย งานก็จะไปได้ดี...หวังความยั่งยืน เจ้าหน้าที่ทำได้ ถ่ายทอดได้ ชุมชนมีส่วนร่วม ถ่ายทอดได้ ซึ่งท่านนายแพทย์ สสจ.บอกว่ายินดีถ้าประชาชนได้ประโยชน์

คุณมณีเล่าว่าได้วางแผนการสนับสนุนไว้อย่างไรบ้าง นพ.สสจ. ยังบอกว่าเงินไม่ใช่ตัวหลัก ไม่เอาเงินมาล่อ คนทำงานจะได้ความรู้และประสบการณ์ติดตัว เอาเงินแผนงานโครงการที่มีอยู่มาใช้ได้ ทำงานแล้วเงินไม่พอให้บอก อยากให้โครงการนี้ go on ทั้ง 4 อำเภอด้วยซ้ำ

คุณแอนบอกว่าควรเลือกที่ที่ contact กับชุมชนดี รพ.สต. มีเจ้าหน้าที่ที่อยากทำ หากลุ่มเป้าหมายจาก HosXP เชิญคนอายุ 40-50 ปี มา จาก 2,000 คน ได้ 1,200 คน เริ่มต้นนัดรวม ทีมจาก รพ. ไปช่วย ครั้งที่ 3, 4 รพ.สต. นัดเอง




เราทั้งหมดกินอาหารกลางวันร่วมกันที่ร้านใกล้ๆ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 

วัลลา ตันตโยทัย


หมายเลขบันทึก: 544140เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2013 22:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กรกฎาคม 2013 22:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณ คุณลูกหมูเต้นระบำค่ะ

เป็นกำลังใจให้ท่านได้พัฒนาต่อไปสำเร็จนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท