ยุงลายเป็นเหตุรำคาญ


                                                          ยุงลายเป็นเหตุรำคาญ

                                              นายอานนท์ ภาคมาลี (หมอแดง)

                 


กรมอนามมัยชี้ยุงลายเป็นเหตุรำคาญ พบแหล่งเพาะพันธุ์ต้องตัดตอน/ฝ่าฝืนมีโทษตามกฎหมาย

หนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันที่ 27พฤษภาคม2556 เวลา14.09น.

สาระสำคัญ

กระทรวงสาธารณสุขเผยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องกำหนดให้แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายเป็นเหตุรำคาญในพระราชบัญญัติการสาธารณสุขพ.ศ.2535พร้อมแนวทางการปฏิบัติของเจ้าพนักงานท้องถิ่นเจ้าพนักงานสาธารณสุขและผู้ครอบครองอาคารหากไม่มีการควบคุมและป้องกันแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายให้ดำเนินการตามบทลงโทษตามกฎหมายได้ทันที

ข้อเท็จจริง

1.นายแพทย์ณรงค์สายวงศ์รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยถึงแนวทางการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าจากสถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออกที่รุนแรงในขณะนี้เป็นปัญหาสาธารณสุขที่ต้องป้องกันเฝ้าระวังอย่างเข้มแข็ง พร้อมเร่งกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในภาชนะหรือเศษวัสดุที่มีน้ำขังและเมื่อมีการตรวจพบลูกน้ำหรือตัวโม่งยุงลายถือเป็นเหตุรำคาญ ซึ่งราชการส่วนท้องถิ่นเจ้าพนักงานท้องถิ่นและเจ้าพนักงานสาธารณสุขสามารถดำเนินการควบคุมได้ทันทีตั้งแต่

1.ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในท้องถิ่นทราบถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออกลักษณะอาการการควบคุมและป้องกันแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายรวมทั้งผลทาง กฎหมายที่กำหนดให้แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายเป็นเหตุรำคาญ

2.ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นเจ้าพนักงานสาธารณสุขเฝ้าระวังโรคและควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในเขตท้องที่ที่รับผิดชอบ 

3.หากพบว่าอาคารหรือสถานที่ของเอกชนมีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายให้แจ้งหรือแนะนำให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่นั้นปรับปรุงแก้ไข 

 4.หากเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารไม่ให้ความร่วมมือหรือไม่ปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกคำสั่งตามมาตรา 28ให้ปรับปรุงแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนด หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามจะมีบทลงโทษโดยปรับไม่เกิน2,000 บาทหรือจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือทั้งจำทั้งปรับได้ตามมาตรา74

2.กรณีที่ตรวจพบแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในที่หรือทางสาธารณะเจ้าพนักงานท้องถิ่นสามารถดำเนินการได้ทันทีหากทราบว่าแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายนั้นเกิดจากการกระทำของบุคคลใดให้ออกคำสั่งตามมาตรา 27ให้บุคคลนั้นปรับปรุงแก้ไขตามระยะเวลาที่กำหนด ถ้าไม่ปฏิบัติตามให้ท้องถิ่นสั่งการให้ดำเนินการลงโทษตามบทบัญญัติมาตรา 74ข้างต้นได้เช่นกัน แต่หากไม่ปรากฏว่าเกิดจากบุคคลใดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งการให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขของท้องถิ่นดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์นั้นได้โดยการถมระบายน้ำ ทิ้งคว่ำหรือใส่สารเคมีกำจัดลูกน้ำแล้วแต่กรณีที่เหมาะสม 

3.กรณีที่เป็นอาคารรกร้างว่างเปล่าหรือก่อสร้างไม่เสร็จ โดยไม่ปรากฏเจ้าของชัดเจนและเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายให้ราชการส่วนท้องถิ่นดำเนินการทำลายแหล่งพันธุ์ยุงลายนั้นได้ เพราะหากมีการเฝ้าระวังที่ดีจะป้องกันไข้เลือดออกไม่ให้แพร่ระบาดได้ โดยอาจไม่ต้องใช้มาตรการกฎหมาย

วิธีการตรวจและเฝ้าระวังแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายนั้น  สามารถดำเนินการได้โดยประชาชนอาจให้ความร่วมมือในการตรวจดูภาชนะ หรือเศษวัสดุที่มีน้ำขังทั้งในหรือนอกอาคารว่ามีลูกน้ำหรือตัวโม่งยุงลายหรือไม่  ซึ่งจากสถิติทั่วไปพบว่าลูกน้ำในภาชนะหรือเศษวัสดุที่มีน้ำขังจะเป็นลูกน้ำยุงลายร้อยละ 95 ขึ้นไปหากพบว่ามีลูกน้ำหรือตัวโม่งให้ประชาชนเทน้ำทิ้งและเปลี่ยนน้ำในภาชนะทุกๆ 7 วัน  ก็จะเป็นการป้องกันมิให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในครัวเรือนและชุมชนได้

นอกจากนี้ การดำเนินการเมื่อเปิดภาคเรียนควรมีการคัดกรองหรือวัดไข้เด็ก  หากพบว่าเด็กนักเรียนมีไข้ร่วมกับไอหรือเจ็บคอให้สวมหน้ากากอนามัย  แต่หากมีเพียงอาการไข้อย่างเดียว ให้สงสัยอาจเป็นไข้เลือดออก  ควรแนะนำให้ทายากันยุงเพื่อลดการแพร่เชื้อจากผู้ป่วยไปสู่ยุงและยุงกัดเด็กคนอื่นและให้นักเรียนแกนนำสุขภาพแจ้งการป่วยของเพื่อนนักเรียน ควรปลูกตะไคร้หอมเพื่อใช้สำหรับกันยุงในห้องเรียนและขอความร่วมมือให้นักเรียนแกนนำสุขภาพรณรงค์ควบคุมลูกน้ำยุงลายเป็นประจำสัปดาห์ละ1 ครั้ง โดยเฉพาะสัปดาห์ที่มีฝนตก ควรกำจัดขยะและภาชนะเหลือใช้ที่จะกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายภายใน 7 วัน ที่สำคัญการนอนกลางวันของเด็กในศูนย์เด็กเล็กควรตรวจดูมุ้งลวดของอาคารศูนย์เด็กเล็กไม่ให้ชำรุดหากไม่ได้อยู่ในห้องที่มีมุ้งลวดควรให้เด็กนอนในมุ้งและแนะนำผู้ปกครองให้ดูแลเด็กที่นอนกลางวันในบ้านโดยให้นอนกางมุ้งเพื่อป้องกันยุงกัด รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด

ประกาศราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 119 ตอนพิเศษ 62 ง วันที่ 8 กรกฎาคม 2545

ข้อเสนอแนะ

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรคดังนั้นประชาชนควรร่วมกันกำจัดกำจัดขยะและภาชนะเหลือใช้ที่มีน้ำขังซึ่งจะกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทั้งภายในบ้านและในชุมชนโดยยึดหลัก3วิธีง่ายๆในการกำจัดลูกน้ำยุงลายได้แก่

1.เก็บขยะนำเศษภาชนะหรือวัสดุเหลือใช้ที่จะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงไปขายเป็นรายได้เสริม2.เก็บบ้านให้ปลอดโปร่งขัดล้างคว่ำภาชนะใส่น้ำเปลี่ยนน้ำในแจกันทุกสัปดาห์

3.เก็บน้ำทั้งน้ำกินน้ำใช้ให้มิดชิดปิดฝาโอ่งฝาถัง

รวมถึงสอนให้บุตรหลานรับรู้อันตรายของโรคไข้เลือดออกควบคุมป้องกันตนเองไม่ให้ยุงกัดและช่วยกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง

 วิเคราะห์โดย:นายอานนท์ ภาคมาลี

   นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการ

                                               คำสั่งให้ปรับปรุงแก้ไขการก่อเหตุรำคาญ

                                                        (กรณีเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย)


ที่............/..............                                                         ที่ทำการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพระพุทธบาท

                                                              วันที่ .................. เดือน ...........................................พ.ศ......................


เรื่อง คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ระงับเหตุรำคาญ

เรียน ........................................................

ตามที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพระพุทธบาท ได้ตรวจพบว่าอาคาร (หรือสถานที่) ที่ท่านเป็นเจ้าของ (หรือครอบครอง) มีภาชนะ…......................................................................ซึ่งมีน้ำขังจนทำให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายซึ่งเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก อันเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน จึงถือว่าเป็นเหตุรำคาญตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ที่ ............../................. เรื่อง กำหนดให้แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายเป็นเหตุรำคาญฯ ตามบทบัญญัติมาตรา ๒๕(๕) แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.๒๕๓๕ ประกอบกับเจ้าพนักงานผู้รับการแต่งตั้ง ได้ตรวจแนะนำตามอำนาจหน้าที่ มาตรา ๔๔(๓) แล้ว ปรากฏว่าท่านมิได้ปรับปรุงแกไขตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในคำแนะนำ นั้น(เป็นข้อสนับสนุนให้ใช้ดุลยพินิจออกคำสั่งนี้ ซึ่งอาจมีเหตุผลอื่นก็ได้ตามข้อเท็จจริง)

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ (หรือมาตรา ๒๗ แล้วแต่กรณี) แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.๒๕๓๕ จึงมีคำสั่งให้ท่านปรับปรุงแก้ไขและระงับเหตุรำคาญดังนี้

๑)...................................................................................................................................................

.......................................................................................................................................................

๒)..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................

  

ทั้งนี้ ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกำหนด........................วัน นับแต่วันที่ได้รับคำสั่งนี้ หากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งภายในระยะเวลาดังกล่าว จะมีความผิดซึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินสองพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา ๗๔

 อนึ่งหากท่านไม่พอใจคำสั่งหรือเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม ท่านมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับทราบคำสั่งนี้

 จึงเรียนมาเพื่อโปรดดำเนินการตามคำสั่งข้างต้นด้วย

                                                                                           ขอแสดงความนับถือ

                                                                                          (นายอานนท์ ภาคมาลี)

                                                                   ตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการ เจ้าพนักงานท้องถิ่น


หมายเลขบันทึก: 544116เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2013 19:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กรกฎาคม 2013 19:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

-สวัสดีครับ

-รูปยุงน่ากลัวมาก ๆครับ เลือดเต็มท้อง..น่าตบจริง ๆ ครับ ฮ่า ๆ

-ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะครับ

ขอบคุณยุงลาย เอ๊ย..! คุณหมอแดงที่นำเรื่องราวดี ๆ มาฝากกันเสมอมา

...รำคาญและกลัวอันตรายด้วยนะคะ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท