ถูกต้อง...กับ...ถูกคน


การตัดสินใจอย่างถูกต้องเเละถูกคน



ในการตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น...... หลายคนอาจมองว่าเป็นสิ่งที่ง่ายไม่ต้องคำนึงถึงอะไรมากมายเเต่ผมกลับมองว่ามันเป็นสิ่งที่ยากพอสมควร.....เพราะว่าในการที่จะตัดสินใจได้นั้นจะต้องมองรอบด้านมองตามความเหมาะสมเเล้วยังมีปัจจัยทีสำคัญอยู่อีก 2 ปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้องอีกซึ่งนั่นคือ ความถูกต้องของเหตุผลเเละการตัดสินใจนั้นคนอื่นๆต้องยอมรับการตัดสินใจนี้ด้วย.... โจทย์  คือ ??? ... เราจะตัดสินใจอย่างเหมาะสมได้อย่างไร..... เเล้วสิ่งที่เรียกว่าความเหมาะสมนั้นคืออะไร...... 
ในการที่จะตัดสินใจสิ่งใดนั้นมีหน้าต่าง 4 บาน ดังนี้
1.ความมีเหตุผล  คือ  การมองเเก่นของสิ่งที่จะตัดสินใจว่ามันคืออะไร.  เป็นอย่างไร   จะถูกต้องได้อย่างไรเเละจะถูกคนได้อย่างไร
2.ความเป็นกลาง  คือ  การมองทุกสิ่งอย่างทัดเทียม   จากการวิเคราะห์การที่จะถูกต้องได้อย่างไรเเละจะถูกคนได้อย่างไรเเล้วให้หาความเป็นกลางของทั้งสองสิ่งว่าสิ่งใดสามารถคล้องเกี่ยวกันได้ในหลักเหตุผลระหว่างถูกต้องกับถูกคน
3.บริบทของสังคม  คือ  การมองสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว   สถานะการณ์เป็นอย่างไร   ทำไมต้องตัดสินใจ  
3.1  จุดเด่น  คือ  ข้อดีของผลลัพธ์ที่ได้จากการตัดสินใจ / ดีอย่างไร / ดีกับใคร 
3.2  จุดด้อย  คือ  ข้อเสียของผลลัพธ์ที่ได้จากการตัดสินใจ / เสียอย่างไร / เสียกับใคร 
3.3  ทุน        คือ  ความหนักเเน่นของผู้ตัดสินใจ / ความรอบคอบ / ความเป็นกลาง / ความมีเหตุมีผล
3.4  โอกาส   คือ  การวิเคราะห์หาปัจจัยความรอบคอบของการตัดสินใจเป็นการประเมินการตัดสินใจของตนเองก่อนที่จะตัดสินใจ
4.ผลที่จะเกิดขึ้น   คือ   การมองถึงที่จะตามมาหลังจากที่เราตัดสินใจ  ว่าจะเกิดขึ้นกับตนเองอย่างไรเเละเกิดขึ้นกับสังคมอย่างไร
ในการที่จะตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่งนั้นเป็นสิ่งที่ยากพอสมควร..... เครื่องมือการคิดนี้ก็เป็นเพียงเเค่ส่วนหนึ่งของการตัดสินใจเท่านั้น...... เเต่เเก่นของการตัดสินใจที่เเท้จริง  คือ  ความคิดของตนเองที่วิเคราะห์ว่าเหมาะสมเเล้วสมควรเเล้ว.... ดังนั้นความเหมาะสมไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นรูปธรรมเราสามารถวิเคราะห์ความเหมาะสมได้ในความคิดเราเอง.......... 

หมายเลขบันทึก: 544050เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2013 06:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กรกฎาคม 2013 06:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เเต่เเก่นของการตัดสินใจที่เเท้จริง  คือ  ความคิดของตนเองที่วิเคราะห์ว่าเหมาะสมเเล้วสมควรเเล้ว.... ดังนั้นความเหมาะสมไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นรูปธรรมเราสามารถวิเคราะห์ความ เหมาะสมได้ในความคิดเราเอง.....

 

คิดว่าไม่นะ อย่างนั้นก็เอาเราเป็นสำคัญใช่ไหม

แล้วความเป็นธรรม ความมีคุณธรรม ความเป็นกลางอยู่ไหน

ไหมฯ

  • มีนักพูดเคยแบ่งลักษณะการพูดไว้ 3 แบบ ได้แก่ พูดแบบไม่ได้เตรียม  พูดแบบเตรียมตัว และพูดแบบอ่านหรือดูสคลิป 
  • หากเทียบเคียงการพูด เป็นการตัดสินใจ อาจแบ่งได้เป็น การตัดสินใจทันที การหยุดพิจารณาไตร่ตรองก่อน และการตัดสินใจอย่างเป็นทางการ
  • โดยมากการตัดสินใจเป็นแบบแรก ซึ่ง ความจริงไม่จำเป็นต้องเป็นแบบแรก ดังนั้นการฝึกให้มีประสบการณ์และสติสัมปชัญญะ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องฝึกฝน ให้การตัดสินใจเป็นแบบที่ 2 และ 3
  • การพิจารณาตามเจ้าของบันทึกเขียน มักเป็นเน้นแต่ "ฐานคิด" เช่นการคิดถึง SWOT มีเพียงคำเดียวที่สะท้อน "ฐานใจ" คือคำว่า เป็นกลาง แต่พอมาเขียนคำอธิบาย ก็ใช้ "การคิด" ไปพิจารณา "ความเป็นกลางอีก" 
  • ความเป็นกลาง ไม่น่าจะใช่ กลางระหว่างสองสิ่ง หรือระหว่างสองอย่างเช่น ถูกต้องหรือถูกคน แต่เป็นการตัดสินใจ ด้วย "ใจที่เป็นกลาง" ต่างหาก
  • การมองความเป็นกลางที่พระพุทธเจ้าสอน น่าจะใช้ได้ดี  นั่นคือ ตัดสินใจอย่างไม่มี "อคติ ๔" ได้แก่ ไม่เอียงเพราะรัก โกรธ โลภ หรือ โหลง นั่นเอง .....ซึ่งจะรู้ได้ก็ต้อง สังเกตที่ใจตนเองล้วนๆ 

หรือ แสนว่าไงครับ

เป็นการมองถึงความคิดของสังคมส่วนใหญ่ครับ... เพราะไม่มีเหตุผลใดที่ถูกเเละผิดขึ้นอยู่กับสังคมนั้นๆ... ภาพข้างต้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการตัดสินใจให้เข้ากับสังคม..ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท