แนวคิดเรื่อง parody ตอนที่ 5


     กลับมาที่ parody และ pastiche อีกครั้งนะครับ แนวคิดแรกจะมองและใช้คำว่า

     งานที่ลอกเลียนงานทางศิลปะ ดนตรี และวรรณกรรมในอดีต หรือ pastiche Jameson ใช้คำว่า pasticheแทนคำว่า parody. Jameson ได้นิยาม parody ไว้ว่ามันจะเป็นเหมือนกับการล้อเลียนอดีตที่ว่างเปล่า (blank parody) โดยไม่มีการแขวะในทางการเมือง โดยนัยนี้ parody ของ Jameson จะเป็นกลาง ไม่มีคุณค่าหรือปราศจากคุณค่า ไม่มีการวิพากษ์ว่าดีว่าชั่ว  มีลักษณะเฉพาะตัว ปราศจากแรงขับทางการเมือง ว่างเปล่าจากผู้หัวเราะ หรือเสียงหัวเราะ ทั้งนี้เพราะ parody หรือ pastiche จะมีแต่สนามทางรูปแบบ ความแตกต่างจากกันที่อ้อมค้อม และไม่มีเกณฑ์ที่แน่นอน ดังนั้นการผลิตทางวัฒนธรรมของโพสต์โมเดิร์นจะมีลักษณะการใช้รูปแบบของอดีต มีการอ้างอิงถึงรูปแบบอย่างไม่มีหลักเกณฑ์

      ในโลกของการเลียนแบบ (pastiche) เราจึงรักที่จะมีความเชื่อมโยงกับอดีต ซึ่งอดีตในที่นี้จะเต็มไปด้วยรูปแบบต่างๆ (a series of styles) และอดีตนี้ก็จะมีผลอยู่เพียงชั่วขณะหนึ่ง เพราะว่ามันมีการกล่าวถึงอดีตที่เป็นประวัติศาสตร์เฉพาะของมันเท่านั้น ในสถานการณ์เช่นนี้ “อดีตจึงเป็นตัวหมายถึง (referent) จะพบว่าตนเองถูกใส่วงเล็บและสุดท้ายก็จะหายไปในที่สุด เหลือไว้แต่เพียงตัวบทเท่านั้น เราจึงไม่เข้าใจ “อดีต” ได้นอกจากก็จะผ่านประเภทของอดีตที่นักประวัติศาสตร์เขียนไว้ให้ รหัสซึ่งพร้อมที่จะเป็นสินค้า

     เช่นเราจะเห็นได้จากการที่เราวุ่นวายอยู่กับตลาด ในขณะเดียวกันก็กินอาหารเจพร้อมๆกันไปด้วย หรือว่าเราอาจกินอาหารเจในตอนเช้า อ่านกามาสูตราในตอนบ่าย และร่วมรักกับเพื่อนหญิงที่เราไม่เคยรู้จัก และใช้ท่าในกามาสูตราแบบจีน เป็นต้น


หมายเลขบันทึก: 544010เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2013 16:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 กรกฎาคม 2013 16:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท