คณะทำงานเพื่อจัดทำรายงานเรื่องการจดทะเบียนการเกิดในประเทศไทย
โครงการจัดทำรายงานการศึกษาปัญหาการจดทะเบียนการเกิดในประเทศไทย คณะอนุกรรมการเด็กฯ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

ทำไมคณะอนุกรรมการเด็กฯ ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจึงต้องผลักดันงานศึกษาเรื่องการจดทะเบียนการเกิด ?


แม้ประเทศไทยจะได้ตั้งข้อสงวนในข้อ 7 แห่งอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ค.ศ.1985 ว่าด้วย การทะเบียนการเกิดให้แก่เด็ก อันทำให้ประเทศไทยไม่ต้องถูกผูกพันโดยบทบัญญัติดังกล่าว ดังนั้น การที่เจ้าหน้าที่รัฐไทยปฏิเสธสิทธิของเด็กที่จะได้รับการทำทำทะเบียนการเกิด จึงยังถือเป็นการกระทำของรัฐไทยที่เป็น “การละเมิดพันธกรณีระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี”

           ปรากฎมีข้อเท็จจริงว่าเด็กและเยาวชนจำนวนไม่น้อยในประเทศไทยที่ประสบปัญหาความไร้รัฐ  อันเนื่องมาจากความไม่มีทะเบียนการเกิดที่ออกโดยรัฐ  ทั้งที่มีหลักฐานเพียงพอว่าเป็นบุคคลที่เกิดในประเทศไทย  ทั้งที่ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางแพ่งและสิทธิทางการเมือง ค.ศ.1966  ตั้งแต่วันที่  30 มกราคม พ.ศ.2540  และข้อ 24 (2)  แห่งกติกานี้ได้กำหนดว่า  “เด็กทุกคนย่อมมีหลักฐานทางทะเบียนทันทีที่ถือกำเนิดและย่อมได้รับการตั้งชื่อ”  และข้อ 23 (1)  แห่งกติกานี้กำหนดว่าครอบครัวเป็นหน่วยธรรมชาติและหลักมูลของสังคมและมีสิทธิได้รับความคุ้มครองจากสังคมและรัฐ

       แม้ประเทศไทยจะได้ตั้งข้อสงวนในข้อ แห่งอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ค.ศ.1985  ว่าด้วย การทะเบียนการเกิดให้แก่เด็ก  อันทำให้ประเทศไทยไม่ต้องถูกผูกพันโดยบทบัญญัติดังกล่าว  ดังนั้น การที่เจ้าหน้าที่รัฐไทยปฏิเสธสิทธิของเด็กที่จะได้รับการทำทำทะเบียนการเกิด  จึงยังถือเป็นการกระทำของรัฐไทยที่เป็นการละเมิดพันธกรณีระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี

และโดยเหตุเกิดการละเมิดดังกล่าวขึ้น  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  จึงต้องเข้าทำการศึกษาปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยที่มาตรา 15 (2)  แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ.2542  บัญญัติให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบและรายงานการกระทำ  หรือละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน  หรืออันไม่เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี  และเสนอมาตรการการแก้ไขที่เหมาะสมต่อบุคคลหรือหน่วยงานที่กระทำ  หรือละเลยการกระทำดังกล่าวเพื่อดำเนินการ  ในกรณีที่ปรากฏว่าไม่มีการดำเนินการตามที่เสนอให้รายงานต่อรัฐสภาเพื่อดำเนินการต่อไป

            คณะอนุกรรมการด้านเด็ก เยาวชนและครอบครัว  ร่วมกับคณะอนุกรรมการด้านราชทัณฑ์และสถานพินิจ  ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  จึงจัดทำโครงการศึกษาสถานการณ์ด้านการจดทะเบียนการเกิดของเด็กในประเทศไทยนี้ขึ้น

         

 

หมายเลขบันทึก: 54379เขียนเมื่อ 13 ตุลาคม 2006 00:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2012 18:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท