แนวคิดเรื่อง parody ตอนที่ 4


     การเวียนหัวของ Jameson นี้เกิดมาจากเมื่อเขาได้มาพบกับโลกของวัฒนธรรมโพสต์โมเดิร์นก็เหมือนกับความไม่สามารถของเขาที่จะค้นหาความสัมพันธ์กับโลกที่ไม่มีศูนย์กลาง โลกที่เต็มไปด้วยเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ (computer network) และบริษัทข้ามชาติ (multinational cooperation) นี้ได้ ทฤษฎีที่เกี่ยวกับโพสต์โมเดิร์นก็ไม่ได้ให้ทางออกไว้ เป็นเพียงแต่คำบอกอาการ (symptom) ไม่ได้ให้การรักษา (cure) ไว้

     ดูเหมือนว่า Jameson จะมีชื่อเสียงในเรื่องความแตกต่างระหว่าง parody และ pastiche สิ่งหนึ่งที่โพสต์โมเดิร์นมีชื่อเสียงมากในการเรื่องตัวประธาน (the subject or the ego) ในยุคสมัยใหม่เราเชื่อในเรื่องของประธานมาก ศิลปิน เช่น เฮมมิ่งเวย์ มีความเป็นประธานและอัตลักษณ์สูง ถึงแม้ว่าเขาจะมีความแปลกแยกจากโลกทุนนิยมค่อนข้างสูงมาก เพราะว่าเขามีความเป็นอัตลักษณ์ ดังนั้นเขาจึงมีรูปแบบ หรือสไตล์ (style) ที่จะมีความเป็นตัวประธานในการลอกเลียนงานศิลปะในอดีต (parody) อยู่สูงเช่นกัน นั่นคือคุณสามารถที่จะสร้างความขบขันให้แก่เฮมมิ่งเวย์โดยการเลียนแบบ ยกตัวอย่างเช่นทุกๆปีจะมีนักเขียนเลียนแบบเฮมมิ่งเวย์ในลักษณะขบขัน 

     แต่ความเป็นโพสต์โมเดิร์นต้องการทำลายภาษาและตัวประธาน โดยที่ทั้งคู่จะมีอาการคล้ายคนบ้า Jameson เชื่อว่าการลอกเลียนงานศิลปะในอดีต (parody) และ การประชดประชัน (satire) มีความเป็นไปได้ในยุคที่ต้องการความเป็นปกติทางด้านภาษา (linguistic normality)ในยุคโพสต์โมเดิร์นนี้

     ในฐานะที่เป็นชาวมาร์กซิสต์ที่เชื่อในเรื่องโลกถูกผลักโดยพลังทางประวัติศาสตร์ การบ่นของ Jameson ก็คือในยุคโพสต์โมเดิร์นการตระหนักรู้ในพลังทางประวัติศาสตร์กำลังจะหมดความสำคัญลง 

     แต่ Jameson ก็เชื่อว่าการตระหนักรู้ในพลังทางประวัติศาสตร์ก็คือความต้องการที่เราจะเชื่อมภาษาและตัวตนในโลกโพสต์โมเดิร์นนี้เข้าด้วยกัน สิ่งที่เราต้องการก็คือสุนทรียศาสตร์แห่งแผนที่ในเชิงปัญญา (aesthetics of cognitive mapping) เพื่อเป็นตัวแทนในเชิงจินตนาการของเราให้เข้ากับความเป็นจริง ในที่สุดเราต้องการการเป็นชาวมาร์ก การที่เป็นชาวมาร์กเพราะว่ามาร์กซิสต์พยายามชี้ให้เราเห็นว่าอะไรคือสิ่งที่เป็นจริง และอะไรคือสิ่งที่เป็นอุดมการณ์ และเป้าหมายสุดท้ายก็คือการฟื้นฟูจิตสำนึกทางประวัติศาสตร์และความเป็นปกติทางด้านภาษาและตัวตน


หมายเลขบันทึก: 543695เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2013 19:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 กรกฎาคม 2013 19:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท