การประชุมปฏิบัติการเชิงลึก (Deepening Workshop) กลุ่มภาคใต้ โครงการจัดทำแนวทางส่งเสริมองค์ความรู้ ด้านการท่องเที่ยวและกีฬาเชิงบูรณาการรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (จ.สุราษฎร์ธานี)


สวัสดีครับ ชาว blog

วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม 2556 ผมเเละทีมงานมาจัดประชุมปฏิบัติการเชิงลึก (Deepening Workshop) กลุ่มภาคใต้ โครงการจัดทำแนวทางส่งเสริมองค์ความรู้ ด้านการท่องเที่ยวและกีฬาเชิงบูรณาการรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (จ.สุราษฎร์ธานี)  ณ โรงแรมดิโอวาเลย์ 

เพื่อเป็นการเผยแพร่แนวทางส่งเสริมองค์ความรู้ เป็นการให้ความรู้ในรูปเเบบการเสวนา เเลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการเรียนรู้สามารถนำข้อมูลที่ได้จากการสัมมนาและสร้างความเข้มเเข็งของเครือข่าย ด้านการท่องเที่ยวเเละกีฬามาสร้างมูลค่าเพื่อให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์จาก AEC ได้เต็มที่

ภาคเหนือจัดที่จังหวัดลำปาง ประกอบด้วย  ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ เชียงราย แพร่ พะเยา น่าน แม่ฮ่องสอน

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจัดที่จังหวัดอุบลราชธานี ประกอบด้วย อุบลราชธานี  ยโสธร สุรินทร์ กาฬสินธุ์ มหาสารคาม อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์  มุกดาหาร

ภาคใต้จัดที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประกอบด้วย สุราษฎร์ธานี สงขลา ชุมพร พัทลุง นครศรีธรรมราช

ภาคตะวันออกจัดที่จังหวัดชลบุรี ประกอบด้วย ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ปราจีนบุรี สระแก้ว

ภาคกลางที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยกรุงเทพฯ และจังหวัดในเขตภาคกลาง

ผมจึงเก็บภาพบรรยากาศเเละแนวคิดของการประชุมในวันนี้มาฝากครับเเละผมจะรายงานบรรยากาศในการจัด Deepening Workshop ในครั้งต่อๆไปมาฝากทุกครั้งครับ

                                                                                                       จีระ หงส์ลดารมภ์












หมายเลขบันทึก: 543562เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2013 10:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กรกฎาคม 2013 12:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ทีมงานวิชาการ ChiraAcademy

สรุปประเด็นย่อที่น่าสนใจจากการประชุมปฏิบัติการเชิงลึก (((Deepening Workshop)

กลุ่มภาคใต้

 

 

กล่าวเปิด

โดย  ดร.เสกสรร  นาควงศ์

        รองปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

 

                   รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการส่งเสริมการท่องเที่ยวซึ่งเป็นภาคอุตสาหกรรมที่ สร้างรายได้ สร้างงาน สร้างอาชีพและกระจายรายได้ ให้แก่ประชาชน กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาซึ่งได้รับการมอบนโยบายจากรัฐบาลในการจัดทำ ยุทธศาสตร์บูรณาการการท่องเที่ยวเพื่อสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวสองล้าน ล้านบาทในปี 2558 ซึ่งเป็นปีที่ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการเตรียมความพร้อมให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้ตระหนักถึงการปรับตัวเพื่อรองรับสภาพการเปลี่ยนแปลงของการท่องเที่ยวและ กีฬาไทยในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน จึงได้มีการจัดการประชุมปฏิบัติการในวันนี้ขึ้น โดยมุ่งหวังให้เป็นกระบวนการหนึ่งในการส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการท่อง เที่ยวและกีฬาเชิงบูรณาการรองรับ การเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

 

ปาฐกถาพิเศษ

เรื่องโอกาสและความท้าทายของท่องเที่ยวและกีฬาไทยในเวทีอาเซียน

โดย ดร.เสกสรร นาควงศ์

        รองปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

 

สิ่งที่อยากฝากไว้

1.        สิ่งที่ทำในการวิจัย นอกจากเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ยังมีส่วนไหนอีกที่ประชาชนต้องตระหนัก ณ ส่วนนี้

2.        Sport Tourism อยากให้มองว่ากีฬาสร้างประโยชน์ต่อเศรษฐกิจอะไรได้บ้าง  กีฬาสร้างความสัมพันธ์ ระเบียบ วินัย  ได้อย่างไร

3.        การสำรวจตลาดแรงงานที่เกี่ยวข้องว่าต้องการบัณฑิต ลักษณะไหน รูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร ควรมีการทำแผนสำรวจระยะยาวในอีก 10 – 20 ปีข้างหน้าจะเป็นอย่างไร เช่น แพทยศาสตร์การกีฬา วิทยาศาสตรการกีฬา เทคโนโลยีการกีฬา แล้วให้ตลาดรองรับ ประเด็นสำคัญอยู่ที่การชี้แจง และที่หลักการและเหตุผล

4.        จะต้องลงทุนเท่าไหร่ ถึงต้องจ้างคนระดับนั้นมา เป็นเรื่องที่สมาคมต้องไปวิ่งหาคนที่ต้องหาคนเก่ง ๆเข้ามา เมื่อบาดเจ็บต้องส่งโรงพยาบาลทั่วไป ไม่ได้ส่งโรงพยาบาลกีฬา  สิ่งสำคัญควรเตรียมความพร้อมบุคลากรให้เพียงพอ

5.        ภาษาเป็นองค์ประกอบสำคัญ ต้องพัฒนาบุคลากรให้มีความพร้อม  มีการเตรียมความพร้อม แต่ยังไม่ได้เคลื่อนไหวใด ๆ ทั้งสิ้น  พัฒนาคนจะพัฒนาอย่างไร  จะร่วมกับกระทรวงแรงงานเพื่อพัฒนารองรับการแข่งขันตรงนี้อย่างไร

6.        วิธีการที่ทำได้คือ ทำ MOU ร่วมกับสถาบันการศึกษาที่เปิดหลักสูตรท่องเที่ยว แล้วเอาหลักสูตรอาเซียนมาดูว่าเราขาดอะไร เสริมอะไร ดูตรงจุดนั้น

7.        Deepening Workshop เป็นการลงลึกถึงรายละเอียดจริง ๆ เมื่อเกิดปัญหารัฐสามารถเข้ามาแก้ได้หรือไม่

8.        อยากให้เตรียมเรื่อง 32 อาชีพที่ทำร่วมกัน  

9.        ให้ทุกท่านได้แบ่งปันไอเดียที่เสนอแนะเพิ่มเติมสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ๆ

 

ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง โครงการจัดทำแนวทางส่งเสริมองค์ความรู้
ด้านการท่องเที่ยวและกีฬาเชิงบูรณาการรองรับการเปิดเสรีประชาคม-เศรษฐกิจอาเซียน

(ความเป็นมา และประเด็นสำคัญด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์)

โดย ศ.ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

 

สิ่งสำคัญที่อยากฝากไว้

-          ตัวละคร 4 ส่วน ทั้งเอกชน รัฐ ชุมชน ท้องถิ่น ประชาชน นักศึกษา  ให้มาผนึกกำลังกัน ช่วยเหลือกันเพื่อให้โครงการเกิด

-          อนาคตการท่องเที่ยวต้องเน้นที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และชุมชน

-          องค์ความรู้ในพื้นที่ที่น่าสนใจเสนอให้มากที่สุด

-          องค์ความรู้ต่าง ๆ ที่จำเป็น เช่น การตลาด การเงิน  โลจิสติกส์ต่าง ๆ

-          การเสนอโครงการเชื่อมกับที่อื่น ๆ

-          ต้องมองความยั่งยืนจากการขยายตัว เน้น Quality ไม่ใช่ Quantity  ต้องการคุณภาพ และสิ่งที่เป็นประโยชน์

-          การทำงานบ่ายวันนี้ เน้น Where are we ? และรองรับอาเซียน  ทำการท่องเที่ยวให้มีคุณค่า และเกิดมูลค่า

-          เราต้องให้การท่องเที่ยวต้องอยู่กับเราตลอดชีวิต ต้องเป็น Green Tourism และสร้างประโยชน์ให้เกิดขึ้น

-          ให้คิดนอกกรอบไว้

-          บางครั้งการท่องเที่ยวไทย More for less ต้องวางให้ดี

 

อยากให้ท่องเที่ยว และกีฬาสร้าง 3 V คือ

1. เพิ่มมูลค่าทางการท่องเที่ยวและกีฬา ที่ต่อยอดจากโครงการเดิม ปรึกษาหารือร่วมกัน

2. พัฒนาความคิดใหม่ และโครงการใหม่ ๆ ใช้เวลาในการคิดสร้างสรรค์ คิดโครงการใหม่ ๆการท่องเที่ยวในอนาคตในลักษณะช่วยเหลือกันให้มากที่สุด

3. การมีวัฒนธรรมในอาเซียนหลากหลายอีก 10 ประเทศ  เราต้องผสานความหลากหลายเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้ได้ และเราต้องเชื่อมโยงกับผู้นำท้องถิ่น และแนวร่วมในภาคส่วนต่าง ๆ

- เน้นความต่อเนื่องโดยใช้ระบบ ดิจิตอล เฟซบุ๊กส์เชื่อมโยงกัน

- การคิดโครงการร่วมกัน สู่การพัฒนาองค์ความรู้ ในการสร้างเครือข่ายต่าง ๆ ให้เกิดขึ้น

 

 

กรอบแนวคิดในการศึกษา

1. Where are we?

2. Where do we want to go ?

3. How to do it ?

4. How to do it Successfully?

            - จุดสำคัญคือ การสร้าง Network และสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน มีความรู้แล้ว มีความคิดแล้วต้องปฏิบัติให้เกิดมูลค่าเพิ่มขึ้นมา

            - อยากให้ทุกคนเป็นเหมือนแนวร่วม  ให้มีการร่วมมือกัน

            - เน้นอะไรที่เป็นรูปธรรม อาจมีการทำ Business Planning

           สรุป คือ ขอให้ทุกท่านรวมพลังมากที่สุด เอาพื้นฐาน Pre-Planning ภาคใต้เป็นหลัก

แสวงหาองค์ความรู้ การบริหารจัดการ รู้เขา-รู้เรา, เป็น Supply –Demand

ในอนาคต Value Creation กับ Value Diversity คือต้องคิดให้มีคุณภาพ  เราจะ Maximize จำนวนนักท่องเที่ยวหรือรายได้ ต้องคิดให้ดี

 

 

Key Words

1. สร้างมูลค่าเพิ่มจากการท่องเที่ยวและกีฬา

2. การบูรณาการท่องเที่ยวและกีฬา สิ่งสำคัญคือ

          - ความคิดสร้างสรรค์ต้องอยู่ในความคิดของทุกคน

          - การท่องเที่ยวเน้น Asean 

          - เน้นทฤษฎี 2 R คือ Reality , Relevance ต้องไม่ดาวกระจาย

3. ในอนาคตข้างหน้าจะกระจายไปทุกจุดของประเทศไทย เช่น นักท่องเที่ยวฝรั่งเศส ไม่ได้ไปที่ปารีส หรือที่อื่น ๆ อย่างเดียว แต่มาที่ชุมชนด้วยเราจะสร้างการท่องเที่ยวชุมชนให้เกิดขึ้นได้อย่างไรการ ท่องเที่ยวชุมชนต้องมีมาตรฐาน สร้าง Forever Thailand Tourism ต้องรู้มาตรฐานของโลก

กรอบแนวคิดในการศึกษา

1. Where are we?

2. Where do we want to go ?

3. How to do it ?

4. How to do it Successfully?

            - จุดสำคัญคือ การสร้าง Network และสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน มีความรู้แล้ว มีความคิดแล้วต้องปฏิบัติให้เกิดมูลค่าเพิ่มขึ้นมา

            - อยากให้ทุกคนเป็นเหมือนแนวร่วม  ให้มีการร่วมมือกัน

            - เน้นอะไรที่เป็นรูปธรรม อาจมีการทำ Business Planning

           สรุป คือ ขอให้ทุกท่านรวมพลังมากที่สุด เอาพื้นฐาน Pre-Planning ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นหลัก

แสวงหาองค์ความรู้ การบริหารจัดการ รู้เขา-รู้เรา, เป็น Supply -Demand

 

การอภิปราย เรื่อง องค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวและกีฬาไทยรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” 

ศักยภาพอาเซียน กับการท่องเที่ยวและกีฬาไทย

โดย ศ.ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

        เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

 

-          เวลาพูดถึงอาเซียนในการทำกีฬา ดูที่โอกาส และการคุกคาม

-          ถ้าเราจะฉกฉวยให้เกิดมูลค่าเพิ่ม เราต้องไปพัฒนาทุนมนุษย์ คือตัวละครที่อยู่ในห้องนี้ อย่างน้อย 4 กลุ่มด้วยกันคือ 1. นักธุรกิจ 2. นักวิชาการและนักศึกษา (เพราะนักศึกษาในอนาคตต้องอยู่กับเราด้านท่องเที่ยวและกีฬา) 3 ข้าราชการส่วนกลาง มาแต่ท่องเที่ยวกีฬาจังหวัด วัฒนธรรมจังหวัด 4.ผู้นำท้องถิ่น นายกอบต. นายกอบจ. ผู้นำเทศบาล

-          ข้อดีของการทำสมัชชา คือได้รวมพลังกันคือได้เอาข้อเสนอแนะไปทำให้สำเร็จ 3 V คือการทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มอย่างมาก

-          วิธีการหาความรู้ต้องมีการใฝ่รู้

-          วิธีการเรียน 4L’s  ต้องกระตุ้นให้คิด

4L’s

Learning Methodology คิดวิเคราะห์แลกเปลี่ยนกัน

Learning Environment มีบรรยากาศในการเรียน มี Feeling

Learning Opportunities มีการปะทะกันทางปัญญา ให้ทุกท่านแสดงความคิดเห็นสร้างโอกาสแบ่งปันความรู้กัน

Learning Communitiesเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ต่อไปหรือไม่

การเรียนเรื่องท่องเที่ยวและกีฬาต้องมองจากความจริง
จุดอ่อน จุดแข็ง คืออะไร ภาคการศึกษาที่ไม่ประสบความสำเร็จ คือ พูดเวอร์ไป

หาทางออกร่วมกัน

2R’s

Reality – รู้ความจริงเอาความจริงในภาคอีสานออกมามีอะไรบ้าง

Relevance – ตรงประเด็น จะทำอะไร และทำอย่างไร

สนุกในการหาความรู้ และมีจินตนาการมากขึ้น

2I’s

Inspiration

Imagination

จากทฤษฎี 8K’s สิ่งที่อยากนึกถึงคือ

สิ่งแรก เราต้องเป็นคนที่มีคุณธรรม จริยธรรม ต้องทำงานด้วยความถูกต้องโปร่งใส มีธรรมาภิบาล

สิ่งที่สอง ต้องคิดเป็น วิเคราะห์เป็น มีปัญญา มีความเข้าใจเรื่องท่องเที่ยวและกีฬาอย่างถ่องแท้ คิดเป็น วิเคราะห์เป็น

สิ่งที่สาม ต้องมี เครือข่ายที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยน ซึ่งตรงกับ  Vที่ คือความหลากหลายNetworkingและ Academic

สิ่งที่สี่ ต้องมี IT

สุดท้าย ต้องมี ความคิดสร้างสรรค์ ต้องมีความคิดใหม่ แตกต่างกับคนอื่น  

ทุนแห่งความยั่งยืน คือต้องมองระยะสั้นให้สอดคล้องกับความสำเร็จในระยะยาว

สรุปคือ ถ้าเราพัฒนาทุนมนุษย์ เราต้องมี Standard ,Quality, Excellence, Benchmarking , Best Practice

 

ยุทธศาสตร์ของการท่องเที่ยวไทย วิถีการท่องเที่ยวชุมชน และการพัฒนาอย่างยั่งยืน

โดย คุณภราเดช   พยัฆวิเชียร

        ประธานสถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน

 

แนวคิดที่จะนำไปใช้ในช่วงบ่ายอย่างไร

- เราจะพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างที่เป็นแบบเดิมไม่ได้อีกแล้ว

- แม้ว่ามีการเติบโต แต่เราไปเน้นที่ปริมาณ ไม่ดูพื้นที่เท่าที่ควร  ตัวอย่างการท่องเที่ยว ของฝรั่งเศส มี 80 ล้านคน แต่ไม่เกิดปัญหา อย่างปารีสคนมาเที่ยวน้อยกว่ากรุงเทพฯ แสดงให้เห็นถึงการท่องเที่ยวฝรั่งเศสมีการวางแผนแบบกระจายตัวต่างกับประเทศไทยที่กระจุกตัว

- ประเทศไทยจะเปิดกว้างมากก็ไม่ได้เนื่องจากมีข้อจำกัดทรัพยากร

- เราจะขายเยอะอย่างเดิมก็ไม่ได้ 

- เราจำเป็นต้องกระจายการท่องเที่ยวออกไปไม่ใช่แค่ 7 จังหวัด แต่จะมองเพียงแค่รัฐอย่างเดียวไม่รอด ความจริงการท่องเที่ยวเกิดแล้วโดยธรรมชาติกับต้นทุนที่มีอยู่ คือ วัฒนธรรม ชุมชน ท้องถิ่น  อยากให้ดูตัวอย่างที่สามชุก ท้องถิ่นมีโครงสร้างอยู่ แล้ว ทำอย่างไรให้กระจายไป ให้ดูตัวอย่างของฝรั่งเศสที่กระจายไปภาคเกษตร และชนบท ซึ่งความจริงแล้วประเทศไทยก็มีมากมายพอสมควร

- การท่องเที่ยวของฝรั่งเศสทำได้เพราะมีความพร้อมแต่ในไทยทำไม่ได้ เนื่องจาก 1. คนในชนบทมีความอ่อนด้อยในสถานทางเศรษฐกิจ 2. คนจนมีความอ่อนด้อยทางสถานะทางสังคม 3. เรามีภูมิปัญญาท้องถิ่นแต่ขาดความเชื่อมโยง เช่นเทคโนโลยี สื่อสารการตลาด เราทำอย่างไรให้ข้อด้อยตรงนี้หายไป  4. การสร้างสถานะทางสังคมที่ดี เราต้องสร้างเครือข่าย 

- การท่องเที่ยวโดยชุมชน ต้องสร้างให้เป็นพลังผลักดันให้เกิดถึงนโยบาย สู่อาเซียน เป็นการรวมกลุ่ม รวมถึงต่อรองกับประเทศอื่น

- ถ้าเราสามารถเปลี่ยนคุณค่า เป็นมูลค่าได้ จะได้ประโยชน์มากขึ้น

- เราต้องสร้างพันธมิตรธุรกิจ อย่างเช่นสายการบิน Star Alliance หมายถึงเราต้องไปรวมกับธุรกิจอื่นในการสร้างโครงการขับเคลื่อนให้ไปพร้อมกันได้

-องค์ความรู้โลกาภิวัตน์ ต้องสร้างเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ ที่ทำให้เข้มแข็ง

- สิ่งที่เราจะต้องช่วยกันคิดคือเราต้องมาดูว่าเรามีต้นทุนอะไรบ้าง อย่ามองว่าคนอื่นทำอะไร ทำแบบไหน เราต้องมองย้อนที่ตัวเองว่ามีจุดแข็ง จุดอ่อน ต้นทุนวัฒนธรรมทางธรรมชาติอย่างไร

เราสามารถต่อยอดสิ่งที่เป็นรูปธรรม นามธรรม เป็นสินค้าได้หรือไม่ อย่างไร

-          ที่สำคัญที่สุดคือการทำงานร่วมกันแบบไตรภาคคือ คือ ภาครัฐ ภาคเอกชน  และภาคชุมชนหรือประชาชน (Public ,Private,People Partnership) เราต้องหาพี่เลี้ยงหรือผู้ช่วย ผู้ช่วยที่ดีที่สุดที่ใกล้เคียงกับชุมชน คือสถาบันการศึกษา

Inclusive คือคิดอะไรต้องทำแต่แรก ไม่ใช่ Exclusive ที่ต้องมาถามเราอีกที

 

 “Sport Tourism ผสมผสานต่อยอดการพัฒนา

โดย  คุณธงชัย วัฒนศักดากุล

       เลขาธิการสมาคมบาสเกตบอลแห่งประเทศไทย

 

ประสบการณ์กีฬากับบริษัทต่างชาติต่อยอดได้อย่างไร

1. ตอนแรกคิดว่าได้โอกาสคือ ได้ทุนทางการศึกษา ได้โอกาสไปต่างประเทศ

2. การเล่นกีฬาเพื่อความเป็นเลิศทำอย่างไร จึงคิดกีฬาอาชีพอันหนึ่งมารองไว้

          ในวงการกีฬา มีหลายประเภท ประเภทที่เป็นบุคคลเห็นชัดกว่าประเภทที่เป็นทีม

ปัจจุบันกีฬาสร้างโอกาสให้กับพวกเราได้อย่างไร จะสร้างมูลค่าตรงนี้ได้อย่างไร

เช่นบาสเกตบอล เวลาจะสร้างมูลค่าเราจะประยุกต์ 3 V ให้เข้ากับเหตุการณ์ปัจจุบันได้อย่างไร  เล่นกีฬา เล่นเพื่อความเป็นเลิศ การเล่นสู่ทีมชาติ  การพัฒนาสู่ความเป็นอาชีพ  เราจะทำอย่างไรให้ผู้ที่อาวุโสเหล่านี้เล่นกีฬาอยู่ เล่นในสิ่งที่เขาชอบอยู่  เช่นการจัดการแข่งขัน  สร้างโอกาสเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว เช่นกีฬาผู้สูงอายุ เน้นการแข่งขันเชิงท่องเที่ยว

     &

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท