ปั่น.....แบบธรรมดาไปจนถึงปั่นอรหันต์ ปั่นกันอย่างไร



คำสำคัญ (Tags): #ปั่น#รู้ทัน
หมายเลขบันทึก: 543480เขียนเมื่อ 24 กรกฎาคม 2013 14:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 กรกฎาคม 2013 20:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ที่เรียนว่าจะมีการพดถึงอรหอย อาจฟังมาผิด หรือ มีน้องสมีคำมาแทน หรือเปล่าไม่แน่ใจ ขออภัย อาจเป็นวันพรุ่งนี้ก็ได้ครับ

เจาะข่าวเด่น ของสรยุทธ์

ที่กล่าวไว้นำมาฝากกันได้แล้วครับ

(พรุ่งนี้ยังมีอีกตอนครับ)

 

เจาะข่าวเด่น ของสรยุทธ์ ตอนที่ 2

จาก http://hilight.kapook.com/view/87893

ประวัติ หลวงปู่พุทธะอิสระ เจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย จ.นครปฐม


หลวงปู่พุทธะอิสระ

หลวงปู่พุทธะอิสระ

หลวงปู่พุทธะอิสระ


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

ขอขอบคุณภาพประกอบจาก เฟซบุ๊ก หลวงปู่พุทธะอิสระ (Buddha Isara)  

            ประวัติ หลวงปู่พุทธะอิสระ เจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย จ.นครปฐม กับเส้นทางสายธรรมะตั้งแต่เริ่มบวชเรียนครั้งแรก เมื่ออายุ 20 ปี จนกระทั่งดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดมาจนถึงปัจจุบัน  

            จากกรณี หลวงปู่พุทธะอิสระ เจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย ต.ห้วยขวาง อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม แสดงธรรมโดยกล่าวพาดพิงถึง หลวงพ่อเกษม จิณฺณสีโล แห่งสำนักสงฆ์ป่าสามแยก จ.เพชรบูรณ์ ว่าเป็นพระที่ไม่รู้ซึ้งในศาสนา พร้อมทั้งต้องการให้มีการโต้ธรรมะกัน ซึ่งทางหลวงพ่อเกษมก็รับคำท้า แต่หลวงปู่พุทธะอิสระ ได้ขอพักการโต้ธรรมะไว้ก่อน เนื่องจากต้องการแฉกรณีของ หลวงปู่เณรคำ ฉัตติโก วัดป่าขันติธรรม โดยเผยว่า มีนักธุรกิจหญิงซื้อกระเป๋าหลุยส์ และเครื่องบินเจ็ทให้นั้น 

            ทั้งนี้ เมื่อย้อนกลับไปวันที่ 21 มกราคม 2556 ยังพบอีกว่า หลวงปู่พุทธะอิสระ คือเจ้าอาวาสวัดที่ออกมาประกาศขายวัด โดยตั้งราคาไว้ที่ 2,000 ล้านบาท เพราะทนกลิ่นเหม็นจากโรงงานอาหารสัตว์ไม่ไหว นอกจากนี้ หลวงปู่พุทธะอิสระ ยังเคยเจาะเลือดทำน้ำมนต์เพิ่มพุทธคุณและทำวัตถุมงคล พระหลวงปู่ทวด รุ่นประสะโลหิต ซึ่งหลายฝ่ายเชื่อว่า วัตถุมงคลชิ้นนี้เป็นหนึ่งในของวิเศษที่ทำให้ นายสนธิ ลิ้มทองกุล รอดชีวิตจากเหตุถูกลอบยิงเมื่อปี 2552 นั่นเอง และเนื่องจากชื่อของหลวงปู่พุทธะอิสระเป็นที่สนใจมากขึ้น ดังนั้นเราจึงนำประวัติของหลวงปู่พุทธะอิสระมาฝากกันค่ะ   


หลวงปู่พุทธะอิสระ

ประวัติ หลวงปู่พุทธะอิสระ

            หลวงปู่พุทธะอิสระ หรือ พระสุวิทย์ ธีรธมฺโม (ฉายาปัจจุบัน) เป็นชาวกรุงเทพฯ โดยกำเนิด แต่บรรพบุรุษตั้งรกรากอยู่ที่ จ.นครปฐม โยมพ่อชื่อ นายชมภู โยมแม่ชื่อ นางอัมพร นามสกุล ทองประเสริฐ เกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2499 แต่ไปแจ้งเกิดช้า ดังนั้นในใบสุทธิพระจึงระบุว่า เกิดวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2502 ส่วนการศึกษาเล่าเรียนทางโลก ไม่จบชั้นประถมปีที่ 4 ขณะที่การศึกษาเรียนทางธรรม จบนักธรรมเอก

            หลวงปู่พุทธะอิสระ เริ่มบวชเรียนครั้งแรกเมื่ออายุ 20 ปี โดยบวชที่วัดคลองเตยใน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ โดยมี พระครูธีราภินันท์ เจ้าอาวาสวัดคลองเตยใน เป็นพระอุปัชฌาย์ แต่บวชได้เพียงพรรษาเดียวก็สึกออกไปเป็นทหาร 2 ปี หลังเสร็จภารกิจทางทหาร ก็กลับมาบวชใหม่ที่วัดเดิม เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2526 โดยได้รับฉายาว่า "ธมฺมธีโร" แปลว่า "ปราชญ์ทางธรรม" ส่วนที่มาของฉายานั้น สืบเนื่องจากในครั้งหนึ่ง ท่านได้มีโอกาสไปแสดงธรรมที่วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี ซึ่งการแสดงธรรมครั้งนั้นจับใจผู้ฟังมาก จนชาวบ้านต่างคิดว่า ท่านน่าจะเป็นพระอาวุโส จึงมีการเรียกท่านว่า "หลวงปู่" ต่อ ๆ กันมา จนถึงบัดนี้

            หลวงปู่พุทธะอิสระ อยู่วัดคลองเตยในได้ประมาณ 6 ปี ก็มาสร้างวัดอ้อน้อย ที่ ต.ห้วยขวาง อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม ในปี 2532 โดยอุบาสิกาทองห่อ วิสุทธิผล เป็นผู้บริจาคที่ดินผืนนี้ให้สร้างวัด จนเสร็จเป็นรูปเป็นร่างภายใน 3 ปี จนได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ยกฐานะขึ้นเป็นวัด ชื่อว่า "วัดอ้อน้อย" (ซึ่งตอนแรกยื่นเสนอชื่อวัด ธรรมอิสระ แต่ไม่ผ่านเนื่องจากมีเหตุหลายปัจจัย) และเมื่อสร้างวัดเรียบร้อย หลวงปู่พุทธะอิสระก็ให้พระลูกศิษย์ดูแลวัด ส่วนท่านก็ออกธุดงค์เพื่อฝึกฝนปฏิบัติธรรมอย่างจริงจังเป็นเวลากว่า 5 ปี

            ต่อมาหลวงปู่พุทธะอิสระได้กลับมาปกครองดูแลวัดอ้อน้อย เมื่อได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสเมื่อวันที่ 1  เมษายน  2538 ท่านได้ทำนุบำรุงวัดจนเจริญเรื่อยมา และเมื่อพระอุโบสถสร้างเสร็จเรียบร้อย จึงได้จัดพิธีผูกพัทธสีมาปิดทองฝังลูกนิมิตในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2542 โดยสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ได้เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานจุดเทียนชัยในพิธีดังกล่าว

            ในวันที่ 1 ตุลาคม 2542 หลวงปู่พุทธะอิสระ ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะ ต.ห้วยขวาง แทนเจ้าคณะตำบลคนเก่าที่มรณภาพไป ซึ่งในใบแต่งตั้งเจ้าคณะตำบลนี้ได้ลงอายุและพรรษาของท่านมากกว่าความเป็นจริงประมาณ 4-5 ปี ทั้ง ๆ ที่ท่านเองไม่ทราบมาก่อน จากนั้นปลายเดือนธันวาคม 2543 ท่านได้ยื่นหนังสือลาออกจากทุกตำแหน่งกับเจ้าคณะจังหวัดแต่ไม่ได้รับการอนุมัติ

            กระทั่งวันที่ 13 กันยายน 2544 มีใบปลิวเถื่อนโจมตีว่า ท่านโกงพรรษา ดังนั้นท่านจึงทำการประกาศลาออกจากทุกตำแหน่งต่อหน้าพระสังฆาธิการใน จ.นครปฐม ที่มาประชุมกันที่วัดวังตะกู จ.นครปฐม และยื่นหนังสือลาออกอย่างเป็นทางการกับเจ้าคณะ จ.นครปฐม ในวันที่ 16 กันยายน 2544 และได้รับการอนุมัติในวันที่ 18 กันยายน 2544 ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวถูกเรียกว่า การสึกลดพรรษา เพราะหลังจากที่หลวงปู่พุทธะอิสระขอลาสึกแล้ว ก็ทำการบวชใหม่ทันที โดยท่านชี้แจงว่า ตนเองยังไม่มีคุณสมบัติ คุณธรรมพอที่จะเป็นพระเถระ จึงทำการศึกแล้วบวชใหม่เพื่อลดอหังการ มนังการ และมานะทิฐิของตนเอง

หลวงปู่พุทธะอิสระ

            อย่างไรก็ตาม ในภายหลังหลวงปู่พุทธะอิสระก็กลับมาปกครองดูแลวัดอ้อน้อยจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ ตั้งแต่บวชอยู่ที่วัดคลองเตยใน ท่านก็แสดงธรรมให้ญาติโยมที่มาทำบุญได้ฟังธรรมจนเป็นที่ศรัทธาเลื่อมใสของผู้คน และเมื่อมาเป็นเจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย และเจ้าคณะตำบลห้วยขวาง อ.กำแพงแสน จ. นครปฐม ท่านได้ดำริและริเริ่มจัดทำโครงการต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ของประชาชนมากมาย และบางงานก็ยังสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน เช่น โครงการบรรพฃาและอุปสมบทพระภิกษุ สามเณร ภาคฤดูร้อน และ โครงการแจกมหาทานแก่ครอบครัวผู้ยากไร้ โดยจัดมอบข้าวสาร อาหารแห้ง ยารักษาโรค และเงินจำนวนหนึ่ง เนื่องในโอกาสวันสำคัญทางศาสนาต่าง ๆ เป็นต้น

            สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาเรื่องธรรมมะและกิจกรรมทางพุทธศาสนาของวัดอ้อน้อย สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.onoi.org หรือ เฟซบุ๊ก หลวงปู่พุทธะอิสระ (Buddha Isara)  


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท