คำแนะนำดีๆ ในการเป็นผู้บริหารโดย ดร.หริส สูตะบุตร


คำแนะนำดีๆๆ จาก ดร.หริส สูตะบุตร จากการบรรยายให้กับบุคลากร สวทช. ในโครงการเพิ่มพูนขีดความสามารถและเติมพลังในการทำงานสำหรับผู้บริหารระดับกลาง ประจำปี 2556

  1. ยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี
  2. เรื่องระเบียบ อย่าเชื่อความจำ
  3. อย่าคิดว่าทำดีที่สุดแล้ว เร็วเกินไป หรือกัดไม่ปล่อย
  4. อย่าดุใครโดยไม่จำเป็น
  5. ให้ผู้ที่ถูกสั่งให้ทำงาน เข้าใจเหตุผลที่ต้องทำ และเห็นด้วยว่าต้องทำ
  6. ช่วยคนอื่นทุกครั้งที่มีโอกาส และให้ความอบอุ่น เรื่องที่เกี่ยวกับคนต้องยอมให้เวลา ปัญหาเล็กจะได้ไม่กลายเป็นปัญหาใหญ่
  7. คิดถึงส่วนรวมก่อนเสมอ
  8. ต้องถ่องแท้
    1. ได้ยินอะไรเกี่ยวกับเพื่อนร่วมงาน อย่าเพิ่งเชื่อ หาข้อมูลให้ชัดเจนก่อน ขอให้ใช้ระบบบวกและลบสะสม
    2. การจะพูดจะเขียนต้องชัดเจน เข้าใจได้ง่าย
    3. อย่าพูดครึ่งจริงครึ่งเท็จ
    4. อย่าทึกทัก
  9. การแทงหนังสือต้องสื่อความหมายชัดเจน และมีข้อมูลพอให้ผู้รับหนังสือทำงานต่อได้
  10. ต้องรู้หลักการของกฏระเบียบสำนักงาน
  11. ต้องรู้งานของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาระดับรองลงไปดีพอ เพื่อจะได้ให้คำแนะนำได้อย่างรวดเร็ว และต้องร่วมรับผิดชอบเมื่อมีปัญหา
  12. เมื่อลูกน้องมาหารือ เรื่องงานของเขา เช่น งานกฏหมาย งานพัส ต้องไม่ตอบกลับว่า งานของคุณ คุณน่าจะรู้ดี มาถามผมทำไม
  13. พยายามรับคนดี คนเก่งเข้ามาทำงาน ควรเลือกคนที่มีศักยภาพที่จะเก่งกว่าเราเข้าทำงาน
  14. Succession plan เป็นส่วนหนึ่งของานบริหาร
  15. เมื่อจะแก้ปัญหาต้องคิดทั้งระบบ
  16. แตกปัญหาใหญ่ให้กลายเป็นปัญหาย่อย แล้วแก้แต่ลปัญหา
  17. รู้จักถาม รู้จักฟัง รู้จักแขวน
  18. พยายามไม่แสดงอารมย์
  19. คิดทุกคำที่พูด ไม่พูดทุกคำที่คิด หรือ “ทุกคนมีคอลัมน์ซ้าย”
  20. ใช้ประโยชน์จากความเห็นที่แตกต่าง
ทั้งนี้ มีสองข้อที่เกี่ยวข้องกัน คือ กฎระเบียบสำนักงาน คือ

  • เรื่องระเบียบ อย่าเชื่อความจำ
  • ต้องรู้หลักการของกฏระเบียบสำนักงาน

นับว่าเป็นหัวข้อที่น่าสนใจมาก เพราะพบว่าหลายๆ ครั้งที่คนที่ก้าวมาเป็นผู้บริหาร มักจะละเลยเพราะในระดับปฏิบัติการอาจจะไม่ได้ใส่ใจเรื่องนี้มาก แต่ในฐานะผู้บริหารคงไม่ได้เสียแล้ว อย่าลืมว่าองค์กรที่อยู่ ณ ตอนนี้เป็นองค์กรที่มีกรอบระเบียบที่ชัดเจน การขึ้นมาตำแหน่งบริหาร คือ การได้รับมอบหมายจากผู้บริหารระดับสูง (ทั้งด้วยความไว้วางใจ ความเชื่อถือ) ให้มาช่วยกำกับดูแลสายงานตามที่มอบหมาย … ไม่ใช่การให้มาควบคุม (ไม่ได้ก้าวมาเป็นเจ้าสัวของบริษัทส่วนตัวที่จะทำไรก็ได้ตามอำเภอใจ)

ผู้บริหารที่มารับตำแหน่ง จึงควรใส่ใจกฎระเบียบต่างๆ ให้มา รู้ที่มา หลักการ การปฏิบัติ การใช้งาน สำคัญคือ อย่าเชื่อว่าเคยรู้มาอย่างนั้น อย่างนี้ หากมีประเด็นที่ต้องดำเนินการ ก็ควรกลับไปเปิดดูระเบียบและศึกษาให้ถ่องแท้ก่อน

การที่ผู้ก้าวมาเป็นผู้บริหาร แล้วลืมตัว “คิดว่ามีอำนาจเบ็ดเสร็จ” ก็เพราะลืมไปว่า “องค์กรมีกฎระเบียบ” อยู่ก่อนแล้ว ถ้าเป็นแบบนี้จริง ก็คงเกิดความวุ่นวายแน่นอน …

ฝากไว้กับน้องๆ ที่จะต้องเติบใหญ่ให้ลองศึกษา ทบทวน วิเคราะห์ และนำไปประยุกต์ใช้กันนะครับ

หมายเลขบันทึก: 543385เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2013 15:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กรกฎาคม 2013 15:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณครับ ได้ทบทวนตัวเองบ้าง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท