เปิดภาคเรียนใหม่กับรายวิชาใหม่ IS1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ตอนที่ ๖ "พบเพื่อนครูสอน IS จากโรงเรียนในภาคใต้"


                  

          จากการที่ได้มีโอกาสไปร่วมประชุมเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (Independent Studies : IS) ในช่วงวันที่ ๑๔ - ๑๕ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ที่โรงแรมสยามธานี จังหวัดสุราษฏร์ธานี ซึ่งจัดโดยสำนักมัธยมศึกษาตอนปลาย จุดประสงค์เพื่อให้การจัดหลักสูตรการเรียนการสอนในรายวิชาดังกล่าวเป็นไปในทิศทางเดียวกันดังนี้

                         
          รายวิชาการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์รู้ จัดเป็นรายวิชาเพิ่มเติมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ และ ปี ๕ (บางโรงเรียนจัดในระดับ ม.๑ กับ ม.๔ และบางโรงเรียนจัดในระดับ ม.๓ กับ ม.๖) ซึ่งสอดคล้องกับโรงเรียนส่วนใหญ่  จำนวนหน่วยการเรียนสามารถจัดได้ ๑.๐ - ๑.๕ หน่วยการเรียน ส่วนใหญ่จัด ๑.๐ หน่วยการเรียน แต่โรงเรียนเราเลือก ๑.๕ หน่วยการเรียนเนื่องจากเป็นวิชาที่เน้นกระบวนการ และจากประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนของครูนกพบว่า ๑.๕ หน่วยการเรียนหรือ ๓ คาบ/สัปดาห์ กำลังเหมาะสมคือ คาบแรกชี้แนะหรือแนะนำทักษะ หรือกระบวนการที่ต้องการปลูกฝังหรือฝึกฝน  คาบที่สองนักเรียนปฏิบัติงานกลุ่ม และคาบที่สามคือนำเสนองานแต่ละกลุ่มเพื่อวิพากษ์ร่วมกันภายในชั้นเรียน
                          
           สาระหลักของรายวิชานี้คือต้องการให้นักเรียนกำหนดประเด็นปัญหาที่ตนสนใจ หรืออยากรู้  ทั้งสามารถตั้งสมมติฐานและสืบค้นข้อมูลเพื่อกระจ่างความสงสัยหรือความอยากรู้ได้อย่างมีระบบ
          จากนั้นนักเรียนจะต้องนำประเด็นปัญหา จุดประสงค์ที่ครอบคลุมไปถึงการบริการให้เกิดประโยชน์กับชุมชน(เพื่อ IS3 ซึ่งบูรณาการกับกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์) ตลอดจนข้อมูลที่สืบค้นได้ ไปเรียนต่อในรายวิชาการสื่อสารและนำเสนอ (IS2) ในภาคเรียนที่ ๒ ของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ พร้อมกับนำองค์ความรู้ที่ได้นำเสนอไปปฏิบัติในกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์บรูณาการกับ IS3  การบริการสู่สังคม
          จากการฟังและการปฏิบัติด้วยตนเองทำให้ครูนกเตรียมกลับมาขยายผลเพื่อครูที่สอนวิชาการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (IS1) ที่โรงเรียนเราจะได้เกิดความมั่นใจโดยทำบทสรุปพร้อมบอกเล่าในรูป PPT (หากท่านใดจัดการเรียนการสอน IS1 จะนำไปใช้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ยินดีค่ะเชิญดาวน์โหลดได้)  รู้แล้วบอกต่อเพื่อก่อประโยชน์เป็นเรื่องที่ครูนกยินดีค่ะ

         
 
          
          

หมายเลขบันทึก: 542852เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2013 16:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ตุลาคม 2013 20:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

มีอะไรก็เล่าแบ่งปันนะคะ สอนมา 2 ภาคเรียน IS 1 IS 2   ใช้กระบวนการบันได 5 ขั้น  แต่เด็กจะไม่รับเท่าไหร่นะ จึงต้องการให้ทุกรายวิชาสอนด้วย กระบวนการนี้เพื่อให้เด็กเรียนรู้ได้เร็วพร้อมที่จะเขียนรายงานเชิงวิชาการและนำเสนอ นะคะ  ขอบคุณครูนกที่แบ่งปันนะคะ

สวัสดีค่ะ คุณครูtoom


เป็นครั้งแรกที่ลงมือสอน IS1 หลังจากไปที่ไปคลุกคลีกับหลักสูตรโรงเรียนมาตรฐานสากลมาตั้งแต่เริ่มต้น TOK EE GE และ CAS จนกระทั่งเกิดมิวเตชั่นมาเป็น IS อยากเห็นทักษะที่เกิดขึ้นกับเด็กๆ ค่ะ น่าจะทำให้ประเทศไทยไปรอดถ้าเขารู้จักแสวงหาและสร้างองค์ความรู้นะค่ะ มาร่วมลุ้นแม้ผลลัพธ์จะต้องรอเป็นปี

แสวงหาต้องคู่คุณธรรมด้วยค่ะ

เมื่อเช้าพี่แวะมาเรียนรู้แล้ว แต่ยังติดเรื่องเรียนส่วนตัว

อยากเรียนถามความไม่เข้าใจค่ะ

1.คาบละกี่นาที

กระบวนการทั้ง 5 ขั้นตอนที่น้องๆกล่าวถึง

แต่ละขั้นมีวิธีการอย่างไร

บางทีพี่อาจนำไปปรับใช้กับผู้สูงอายุได้ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

 

สวัสดีค่ะ คุณครู 
krutoiting

-  คาบละกี่นาที (ขึ้นกับวัยของผู้เรียนนะค่ะ หากเป็นระดับประถมศึกษาคาบหนึ่งจะประมาณ ๓๐ นาที ที่ครูนกสอนเด็กโตค่ะมัธยมศึกษาจะใช้คาบละ ๕๐ นาทีค่ะ)
-  กระบวนห้าขั้นหรือบันไดแห่งการเรียนรู้ จริงๆแล้วคือกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นะค่ะเริ่มต้นจาก สังเกตเห็นปัญหา ตั้งสมมติฐาน ทดลองรวบรวมข้อมูล สรุป ที่สำคัญองค์ความรู้ที่ได้มีประโยชน์ต่อผู้อื่น หรือบริการสังคมได้ จุดนี้น่าจะเป็นการปลูกฝังคุณธรรมหรือความมีจิตอาสา
-  แต่ละขั้นตอนเป็นอย่างไร เป็นไปตามธรรมชาติของแต่ละขั้นนะค่ะ ครูนกขออนูญาตเพิ่มเติมสั้นเช่น การสังเกตปัญหา ครูนกฝึกทักษะการสังเกตผ่านอายตนะ  จนกระทั่งนักเรียนเกิดทักษะนะค่ะ

ขอบคุณมากๆ ค่ะที่สนใจ ยินดีตอบค่ะถ้าตอบได้

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท