The Reader: ช่วงรักต่างวัย กับ อาชญากรสงคราม: การศึกษาในเชิงการตีความ 2


    

      หากมองกันในแง่มุมพระพุทธศาสนา ความรักของคนสองคนทั่วๆไป อาจก่อตัว มาจาก ความรู้สึกดีๆที่มีให้กัน ความชอบอะไรที่คล้ายๆกัน เช่นคนหนึ่งชอบอ่าน ชอบโชว์ อีกคนก็ชอบฟัง ชอบรับ หรือกระทั่ง มีเสน่ห์การดึงดูดบางอย่าง ทำให้คนสองคนเกิดความหลงใหลไปกับสิ่งที่เรียกว่า กามารมณ์

     ความรักของ ฮันนาและ ไมเคิล มีจุดเริ่มต้นมาจาก อารมณ์ชั่วขณะที่กำลังจะแตกพานเนื้อหนุ่มของฝ่ายชายเพิ่งได้จะลองลิ้มชิมรส หลงใหลไปกับความรู้สึกที่ได้อยู่ใกล้ผู้หญิงคนแปลกหน้าสักคนหนึ่ง  แม้จะทั้งๆที่รู้ว่าผู้หญิงตรงหน้าเขาจะมีอายุรุ่นราวคราวน้าแต่เรื่องของความชอบ และใช่ ก็ไม่อาจเป็นอุปสรรคขัดขวางช่องว่างทางวัยที่เด็กวัย 15คนหนึ่ง ยังไม่อาจแยกแยะออกว่า สิ่งไหนที่เรียกเป็น ความพอใจและสิ่งไหน มันคือ ความเข้าใจ ที่ผู้ใหญ่เขารู้กัน เมื่อว่าด้วยเรื่องของความรัก

     ความที่ยังเยาว์วัยของไมเคิล อาจจะมิใช่ปัญหาสมการรักอันยุ่งเหยิงนี้อีกต่อไป หากฝ่ายสาวยังพอใจที่จะหยุดความสัมพันธ์เพียงแค่คนที่เคยให้ความช่วยเหลือ เท่านั้น แต่เมื่อตรงหน้าของฮันนา คือ ภาพของเด็กหนุ่มที่หน้าตาหล่อเหลา และไม่เคยผ่านการเสียความบริสุทธิ์จากที่ไหนมาก่อนสาวโสด วัย 36 ที่ไม่เคยคิดว่าชีวิตของตัวเองจะมีผู้ชายสักคน ต้อนรับรักเธอด้วยหัวใจอันบริสุทธิ์ เช่นนี้ มีหรือจะยอมปล่อยวางโอกาสที่ไม่น่ามีหลงเหลือให้อีกแล้ว ไป เพียงเพราะถ้ายอมเข้าใจในความถูกต้องเหมาะสมกันจริงๆอาจจะมีความหมายเท่ากับ ชีวิตที่เหลือจนวันตาย ไม่อาจมีใครให้เคยได้รักเลยสักคน ในฉากนี้ดูแล้วค่อนข้างจะเห็นใจ ความอยากรู้ของไมเคิล และความปรารถนาของฮันนาอย่างแรงกล้า เกินกว่าที่คนทั้งโลกจะหักห้ามใจไหว 
     แม้ ฮันนา จะดูเหมือนเป็นผู้หญิงธรรมดาๆคนหนึ่ง ในวัย 36 ที่ย่อมอยากจะมีสัมพันธ์แห่งรักกับผู้ชายดีๆสักคนที่พร้อมจะยอมและรับเธอเป็นผู้หญิงของเขา อย่างมิปริปากบ่น แต่เมื่อเราได้ลองสำรวจจิตใจของหญิงสาวผู้นี้กันอย่างลึกๆแล้วความต้องการในความรักของเธอ ก็มีเงื่อนไขอันแปลกประหลาดมากพอๆ กับสิ่งที่เธอขอให้ไมเคิล ทำให้เธอทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ คือ การอ่านหนังสือบทกวี ที่ไมเคิลจะพาติดตัวตามมาหลังจากการเลิกเรียนของเขาเสมอๆมันอาจไม่แปลกสักเท่าไหร่หรอกที่สาวเจ้าดูจะพออกพอใจ ในกิจกรรมที่ เธอยินดีจะเป็นผู้รับ เพราะผู้หญิงทั่วๆไปก็ชอบพอที่จะขอเป็นฝ่ายรับ จากผู้ชาย เสียมากอยู่แล้ว แต่ถ้ามันไม่มีความบังเอิญว่าการชอบเป็นผู้รับ ของ ฮันนา ได้มีความเกี่ยวข้องกับความลับบางอย่างที่เธอพอใจจะปกปิดมันไว้กับใครต่อใครเรื่อยมา ไม่ว่าจะทำไปด้วยความอายหรือว่าความอดสูในตัวเองก็ตาม  มองในแง่นี้อาจถือได้ว่าฮันนาเป็นผู้แลกเปลี่ยนที่มีลักษณะการแลกเปลี่ยนระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งมีความเท่าเทียมกัน ในแง่นี้ฮันนาก็ได้แลกของบางอย่างอย่างสมน้ำสมเนื้อที่สุด 
     ความไร้เดียงสาในความผิดของฮันนาเทียบได้กับศัพท์ทางกฎหมายอาญาคำว่า“Innocent Agent”  ความน่าเห็นใจที่ผู้ชมมีต่อตัวละครของฮันนาซึ่งกระทำผิดเกณฑ์ทางศีลธรรมและกฎหมายโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ความน่าเห็นใจดังกล่าวกำลังถูกส่งต่อถึงชาวเยอรมันยุคอดีตซึ่งถูกมองด้วยสายตาอคติว่ามีส่วนผิดในการกระทำทารุณฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

  

หมายเลขบันทึก: 542774เขียนเมื่อ 18 กรกฎาคม 2013 19:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 กรกฎาคม 2013 19:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

คิดอย่างนักจิตวิทยา...เป็นเรื่องปกติเพราะชีวิตจริงของคนเรา...มีหลายอย่างที่ปิดบังซ่อนเร้นและหลายอย่างที่เปิดเผย...ทุกคนมีหน้าต่างในการปิดซ่อนเร้นและเปิดเผยนะคะ...ขอบคุณค่ะอาจารย์

ก็เหมืนกับ หน้าต่างโจฮารี ใช่ไหมครับ บางครั้งเรารู้ตัวตน แต่ไม่อยากเปิดเผย หรือบางครั้งเราไม่รู้ตัวตนของเรา แต่คนอื่นเขารู้ ฟูโกต์วิจารณ์นักจิตวิทยาพวกนี้มาก อย่างไรก็ตามสุดท้ายฟูโกต์เหมือนจะมีการเปลีี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในชีวิตของเขา ไว้ว่างๆผมค่อยนำเสมอมาเสนอในบันทึกของผมนะครับ ชอบครับที่หลายท่านชอบอ่านงานของผม ขอบพระคุณ ดร.พจนาอีกครั้งนะครับ

วิเคราะห์ได้ลึกซึ้ง  อ่านไป ภาพในหนังก็โผล่มา

ชอบหนังสือมากกว่าหนังเยอะเลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท