เอ๊ะ...! มันเป็นภาษาไทยตรงไหนกันนี่..?


ผลจากการจัดกิจกรรมการศึกษาค้นคว้านอกห้องเรียน



กับคำทิ้งท้ายในบันทึก " กิจกรรมศึกษาค้นคว้านอกห้องเรียน : ต่อยอด "  คือ

ข้อความที่ว่า 


ดู ๆ แล้ว เนื้อหาไม่เกี่ยวกับวิชาภาษาไทยของคุณมะเดื่อเลยนะเนี่ยะ...มี

วิชาอะไรบ้างก็ดูกันเอาเองนะจ๊ะ


กับข้อความแสดงความคิดเห็นของคุณครูดาหลา บันทึก เดียวกัน คือ....


กำลังคิดว่าครูดาหลาจะเอาไปใช้สอนภาษาไทยได้อย่างไร เหลือเวลาอีก 2 

กว่า ...


ทำให้นึกย้อนไปถึงเมื่อครั้งที่ทีมงานโทรทัศน์ครู มาสัมภาษณ์คุณมะเดื่อเกี่ยว

กับกิจกรรมการเรียนการสอนนอกห้องเรียน : เที่ยวไปในบ้านเรา ว่า....



กิจกรรมของอาจารย์ที่จัดแบบนี้ อาจารย์คิดว่า ส่วนใดของกิจกรรมที่เป็น


ภาษาไทย..เพราะสาระที่นักเรียนได้ดูเหมือนจะเป็นวิชาสังคม ฯ และ 

กพอ.มากกว่า




  ความที่ต้องการให้เด็กได้นำเอาความรู้ในห้องเรียน + กระบวนการเรียนรู้จาก

ประสบการณ์ตรง ไปพัฒนาทักษะในการแสวงหาความรู้  ทำให้ไม่ได้นึกถึง

เรื่องนี้ ก่อนหน้าที่จะมีการบันทึกเทปโทรทัศน์

 ต่อเมื่อต้องตอบคำถามของ

น้อง ๆ จากโทรทัศน์ครู จึงทำให้นึกถึงเรื่องนี้



นั่นคือ  :  

            1. การที่นักเรียนต้องไปศึกษาค้นคว้าความรู้ต่าง ๆ ในท้ิองถิ่น ต้อง

พบปะ  พูดคุย  ซักถาม  จดบันทึก และเมื่อได้ข้อมูลมาแล้วก็ต้อง  ทำการ

วิเคราะห์ผล  การเขียนรายงาน  และรายงานด้วยวาจา จำเป็นที่จะต้อง 

อาศัย

ทักษะภาษาทั้ง 4  คือ

การฟัง การพูด การอ่าน  และการเขียน  อย่าง
สมบูรณ์ หากนักเรียนขาดทักษะใดทักษะหนึ่งงานการศึกษาค้นคว้าก็จะขาด
ความสมบูรณ์อย่างแน่แท้


           2. ไม่ว่านักเรียนจะเรียนวิชาใด  ภาษาไทยก็จำเป็นที่จะต้องบูรณาการ

อยู่ในวิชานั้น ๆ โดยอัตโนมัติ อย่างเป็นธรรมชาติอยู่แล้ว

  



    ด้วยเหตุที่กิจกรรมตามที่คุณมะเดื่อจัดนี้ สามารถแตกกอ ต่อยอดไปได้อีก

หลายวิชา  จึงมีคุณครูบางท่านนำเอาแนวทางนี้ ไปประยุกต์ใช้สอนนักเรียน 

ในสาระวิชาที่ตนรับผิดชอบ  โดยเฉพาะวิชา  สังคมศึกษา ฯ  และวิชาการงาน

อาชีพ ฯ  ซึ่งไปกันได้เป็นอย่างดีกับกิจกรรมนี้ทีเดียว




บางครั้งเราอาจจะจัดกิจกรรมตามแนวนี้ในรูปแบบของการบูรณาการสาระก็

น่าจะเป็นไปได้  

           เอาเป็นว่า....เผื่อว่า มีคุณครูท่านใดใช้แนวทางนี้ในการจัดกิจกรรมการ

สอนแล้วได้ผลเป็นอย่างไร  มีข้อสังเกตดี ๆ แปลกใหม่กว่านี้ ก็นำมาแลก

เปลี่ยนเรียนรู้กันบ้าง    จะเป็นแนวทางที่ดียิ่งขึ้นไปกว่านี้นะจ๊ะ  ขอบคุณล่วง

หน้าจ้ะ




หมายเลขบันทึก: 542707เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2013 22:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กันยายน 2013 21:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

จะเติมภาษาอังกฤษบ้างก็ได้นะคะคุณมะเดื่อ...ขอบคุณบันทึกดีๆค่ะ

สวัสดียามเช้าค่ะมาให้กำลังใจ ส่วนคำชี้แนะน้องคงด้อยประสบการณ์กว่าค่ะ อิๆๆ

บูรณาการได้เยี่ยมจริงๆ ค่ะ

ดีจังเลยนะครับน้องเรา...

ได้ศึกษา เรียนรู้ตามไปด้วยอีกคนนะครับ

พี่ชาย ชยพร แอคะรัจน์

ได้ ๆๆๆๆๆ จ้ะคุณหนึ่งกำลังใจ ขอบคุณจ้ะ

เติมได้จ้ะท่าน ดร.พจนา เป๊ะเลยจ้ะ ขอบคุณสำหรับกำลังใจจ้ะ

ไม่มีใครด้อยประสบการณ์กว่าใครหรอกจ้ะน้องหมูจ๋า เพียงแต่ประสบการณ์ของคนเราอาจจะต่างกันไปเท่านั้น ขอบคุณที่มาให้กำลังใจจ้ะ

ขอบคุณจ้ะพี่ชาย ขอบคุณที่มาทักทายจ้ะ

ไม่ได้เป็นครู แต่เป็นพันธมิตรใกล้ชิดกับครู (ใน G2K) เอาไปใช้ไม่ได้  แต่มาสนับสนุนค่ะ

แค่ส่งกำลังใจสนับสนุนก็สุดจะยินดีแล้วจ้ะคุณ nui  ขอบคุณมากมายจ้ะ

  • เดี๋ยวนี้กำลังฮิตห้องเรียนกลับด้านกันมาก  เลยลืมไปเลยว่าเมื่อก่อนการเรียนการสอนแบบบูรณาการก็ได้รับความนิยมไม่น้อยเลย
  • โดยส่วนตัวผมเห็นว่าการเรียนการสอนแบบบูรณาการทำความเข้าใจง่ายกว่าห้องเรียนกลับด้านมากครับ

 

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท