ประสบการณ์พัฒนาทักษะการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพของข้าพเจ้า


1. สิ่งที่เรียน (What): เทคนิคการอ่านเนื้อหาวิชาท่องจำ


“ไทย สังคม ชีววิทยา” ผมเชื่อว่าท่านผู้อ่านทุกท่านคงมีโอกาสได้เรียนวิชาเหล่านี้ และหลายท่านก็ักจะเกิดข้อสงสัยตามมาว่า “เราจะเรียนไปทำไม ?” “จำตั้งมากมาย ?” แต่วันนี้ผมมีแง่มุมหนึ่งมาเสนอให้ท่านผู้อ่านได้ลองพินิจพิจารณาดู 


2. วิธีเรียน (How)

การเรียนวิชาท่องจำนั้น แม้ว่าเราจะเกิดอาการเบื่อหน่าย ท้อแท้ หรือหงุดหงิดทุกครั้งที่เมื่อตระหนักได้ว่าต้องไปเรียน หรือ แม้แต่หยิบวิชาเหล่านี้มาอ่าน นับว่าเป็นเรื่องปกติของเหล่านักศึกษาทั้งหลายทั้งระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา ตลอดจนระดับอุดมศึกษา วิชาเหล่านี้เปรียเสมือนกับ “ยาขม” สำหรับใครหลายๆ คน สาเหตุที่คนส่วนใหญ่มักจะเบื่อวิชาเหล่านี้คือ มีเนื้อหาที่ค่อนข้างมาก รวมไปถึงการเรียนในห้องก็น่าไม่น่าสนใจ (ไม่ว่าอาจารย์จะพยายามให้วิชาเหล่านี้น่าสนใจเพียงใดก็ตาม) ถ้าหากเป็นปัญหาที่ตัวของอาจารย์สอน เราก็อาจจะแก้ไขปัญหานี้ได้ไม่มากเท่าไรนัก (แต่ในสมัยนี้ก็เริ่มระบบแบบทดสอบความพึงพอใจของนักศึกษษมาให้ประเมิน อันจะนำไปสู่การปรับรปุงการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้นได้) แต่ถ้าหากเป็นปัญาที่ตัวนักศึกษาเอง ผมก็ได้นำปัญหาเหล่านี้ที่เกิดกับตัวผม มาลองหาวิธีต่างๆในอินเตอร์เนตดู ก็ปรากฏว่ามี วิธีที่น่าสนใจดังนี้ 



  1. ลองอ่านเนื้อหาอีกสักครั้ง 
  2. ลองถามตัวเองว่า ไม่เข้าใจ หรือสงสัยอะไรตรงไหนของเนื้อหา 
  3. ลองจัดเนื้อหาเป็นหัวข้อแล้วแตกประเด็นออกไปเรื่อยๆ อาจจะสรุปตอนท้ายหรือแต่ละหัวข้อ (Mind Mapping) 
  4. ลองอ่านที่เราสรุปดูว่า เข้าใจมากขึ้นหรือไม่ ยังมีข้อสังสัย หรือไม่เข้าใจตรงไหน แต่ถ้าสิ่งที่สงสัยไม่ใช้เรื่องลำดับของเนื้อหาแต่เป็นตัวเนื้อหา ให้นำไปทำผู้รู้

3. ผลการเรียน (Outcome)

หลังจากที่ผมลองทำแผนผังความรู้ดูแล้วพบว่า สามารถจดจำเนื้อหาได้มากขึ้น และเป็นระบบมากขึ้น นำผลไปสู่การเข้าใจ และลดความเบื่อหน่ายในเนื้อหาได้มากขึ้น



4. ข้อคิดที่ได้จากประสบการณ์ (Reflection)
ทำให้ผมรู้ว่า การทำแผนผังทางความคิด มีผลต่อการเรียนรู้ที่ดีขึ้น และหากโอกาสหน้าผมต้องเรียนรู้ในวิชาที่ต้องใช้การท่องจำมากหรือมีเนื้อหามาก ก็ต้องนำวิธีการนี้มาใช้อีกแน่นอน



5. เอกสารหรือสื่ออ้างอิง (References)
- http://blog.eduzones.com/applezavip/19718 (เว็บไซต์แนะนำการทำ Mind Map)
- http://www.dek-d.com/content/education/24897/ (เว็บไซต์แนะนำการทำ Mind Map)
http://imlovezaa.blogspot.com/2013/01/mind-map.html (เว็บไซต์แนะนำโปรแกรมทำ Mind Map สำหรับท่านผู้อ่านที่อยากลองทำในรูปแบบดิจิตอล)



6. วันที่บันทึก วันที่ 18 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2556 ปรับปรุงวันที่ 21 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2556

นายกฤตภัทธ์ ฐานสันโดษ
563070003-4


หมายเลขบันทึก: 542684เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2013 19:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 กรกฎาคม 2013 16:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (40)

ดีมากๆเลยครับ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง

เนื้อหาดีมากๆเลยครับ ใช้ได้กับผู้ศึกษาทุกวัยเลยครับ

เป็นวิธีที่น่าลองนำไปใช้กับวิชาที่มีเนื้อหาเยอะจริงๆ

สวัสดียามพักเที่ยงครับ คุณKridpuj

ขอแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมนิดนึงนะครับ

  • โดยทั่วไปแล้วเอกสารวิชาการในวิชาที่เราเรียน(เอ๊าท์ลาย) อาจารย์ผู้สอนท่านมักจะมีกรอวัตถุประสงค์ของเนื้อหาในแต่ละรายวิชาไว้ให้ พร้อมกับระยะเวลาหรือภาคการศึกษาที่ต้องเรียน เราในฐานะผู้เรียนควรจะดูที่วัตถุประสงค์หรือจุดประสงค์เป็นหลักนะครับ ว่าอาจารย์เขาต้องการให้เรารู้อะไร แล้วเราก็มุ่งไปค้นหาตามนั้น เช่น เน้นให้นักศึกษาเรียนรู้ประชากรของไทยในแต่ละภาคว่าประกอบอาชีพหลักอะไรกันบ้าง แล้วเราก็ใช้หลักการที่กล่าวมาเบื้องต้นไปหาและสรุปคำตอบ ไม่จำเป็นต้องอ่านทั้งเล่มหรอกครับ
  • บันทึกนี้เหมาะมากสำหรับนักศึกษาที่กำลังเรียนในระดับอุดมศึกษา ผมอยากให้ผู้เขียนบันทึกมีความตั้งใจที่จะเขียนอย่างจริงจัง โดยสำรวจคำที่พิมพ์ให้ดี เพราะเท่าที่สังเกตน่าจะผิดอยู่หลายคำ เพิ่มความละเอียดตรวจอักษรอีกสักนิด อย่าพยายามนำคำพูดที่แช็ทกันมาใช้เขียน บันทึกนี้ก็น่าจะเกิดประโยชน์ต่อผู้เข้ามาอ่านอีกหลายท่าน
  • อีกนิดครับ คำสำคัญ ให้คำนึงถึงว่าถ้าเผื่อใครที่ต้องการทราบเรื่องใดที่ตรงกับเรื่องที่เราเขียนไว้ คำสำคัญจะนำผู้ค้นคว้ามาอ่านบันทึกของเรา ให้ใส่ใจเขียนไว้หลายๆ คำก็ได้ เช่น เทคนิคการอ่าน เทคนิคการเรียนวิชายาก หรือ อาจจะเขียนกลับกันว่า เรียนวิชายากให้เข้าใจง่าย ๆ ก็ได้ครับ
  • ด้วยความหวังดี ไม่มีอคติครับผม

เป็นเทคนิคที่ดีอีกวิธีหนึ่งนะครับ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ครับ ^^

มีประโยชน์ดีครับ แต่เขียนผิดเยอะไปหน่อย

ทักทายครับคุณ Kridpuj 

ผมก็เคยมีประสบการณ์ไม่อยากอ่านวิชาที่ต้องท่องจำเหมือนกัน

วิธีแก้ไขปัญหาก็คล้ายๆกับของคุณ Kridpuj เลยครับเช่น การทำ mind mapping เพื่อลำดับความคิดครับ

ผมคิดว่าวิธีพวกนี้สามารถไปประยุกต์ใช้กับอะไรได้อีกหลายอย่างเลยครับ มีประโยชน์มากครับ

 

เป็นเทคนิคที่ดีครับ แต่ผมว่าถ้าคนไม่อยากอ่านเขาก็ไม่อ่านหรอกครับ ต้องมีแรงจูงใจด้วย

มีประโยชน์มากๆ เป็นเทคนิคที่ใช้ได้จริง ขอบคุณจ้า

เป็นทริคที่ดีมากๆเลยค่ะ ขอบคุณที่มาแชร์ความรู้ดีๆ นะคะ ^^

เป็นเทคนิคที่ดีมาก ขอบคุณครับ

ชนกนันท์ พานิชสมบัติ

จะทำลองดูนะ 

เจ๋งงงง !!!!

เป็นประโยชน์และน่าสนใจมากๆเลยครับ

การทำ mind map ช่วยได้เยอะเลยจ้า ทำให้จำง่ายขึ้น เป็นระบบ

จะเอาวิธีไปใช้จ้า

ขอบคุณเนื้อหาดีๆ

 

การทำ mind map ดีจริงๆค่ะ เยี่ยมยอด 

สุดยอดไปเลยค่ะ อยากทำได้แบบนี้บ้าง

สุดยอดมากครับบบ น่าจะรู้ตั้งแต่แรก ไม่งั้นนิเรียนดีไปนานแล้ว

เจ๋งมาก น่าลองเอาไปใช้ ขอบคุณครับ

จะเอาวิธีไปลองใช้เด้อ เป็นประโยชน์มากๆเลย

มิดเทอมนี้ ขอยืมมาใช้สัก2-3เทคนิคนะจ๊ะ

ขอบคุณที่แชร์สิ่งดี ๆ ค่ะ ชุบุ๊ ><'

เทคนิคดีๆน่าใช้เลยนะคะเนี่ย สวดยอดมากค่ะ ^ ^

ดีมากๆเลยคับ เป็นประโยชน์มากๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท