ความเป็นไปได้ของกฎหมายลายลักษณ์อักษรในประเทศไทยที่จะรับรองเครือข่ายสังคมออนไลน์ในฐานะที่เป็นผู้ทรงสิทธิตามกฎหมาย


อย่างไรก็ตาม ในกรณีของการรับรองเพื่อการใช้สิทธิของชุมชน องค์กรชุมชน ภาคประชาสังคม หรือ องค์กรภาคประชาสังคม ที่ปรากฎในกฎหมายลายลักษณ์อักษรในทั้ง ๔ ฉบับข้างต้น เป็นการชี้ให้เห็นถึงการปรากฎตัวของกฎหมายบ้านเมืองที่เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่ชี้ให้เห็นถึงการยอมรับสถานะทางกฎหมายของกลุ่มบุคคลหรือชุมชนซึ่งไม่ได้มีสถานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเอกชนหรือตามกฎหมายมหาชน แต่เป็นการรับรองสถนะเพื่อการใช้สิทธิในบางประการที่กฎหมายรับรองซึ่งข้อสังเกตุจากกฎหมายทั้ง ๔ ฉบับข้างต้น จะเห็นได้ว่า เป็นการใช้สิทธิในการได้รับการสนับสนุนหรือการส่งเสริมหรือสิทธิประโยชน์จากรัฐ

() เป็าหมายของเอกสาร

เอกสารชิ้นนี้มีเป้าหมายสำคัญ ๒ ข้อกล่าวคือ ข้อแรก เพื่อแสดงให้เห็นถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการปรากฎตัวกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่มีอยู่ในประเทศไทยที่แสดงให้เห็นถึงการยอมรับสถานะของผู้ทรงสิทธิในทางกฎหมายของกลุ่มบุคคลหรือชุมชนซึ่งไม่ได้เป็น​"นิติบุคคล" ตามกฎหมายเอกชนหรือตามกฎหมายมหาชนว่ามีอยู่อย่างไร ข้อที่สอง เนื่องจากการศึกษาในเอกสารชิ้นนี้ เป็นการศึกษาในด้านนิติศาสตร์โดยข้อเท็จจริง ผู้เขียนเอกสารนี้จึงมีเป้าหมายที่จะใช้เป็นเอกสารในการสร้างความเข้าใจในประเด็นที่ศึกษาในระหว่างคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ และ ใช้เป็นส่วนหนึ่งของเอกสารเพื่อขอสอบคุณสมบัติตามหลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณพิต คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์

อ่านต่อ 

หมายเลขบันทึก: 542586เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2013 20:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กรกฎาคม 2013 20:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

น่าสนใจค่ะ...รอติดตามอ่านนะคะ...ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท