การต่อต้าชาติและศาสนาในแนวคิดของเด็กมัธยมศึกษาตอนปลายคนหนึ่ง


นายกิตติ วิวัฒน์สัตยา ซึ่งเป็นเด็กม.ปลาย ให้สัมภาษณ์ความว่า “การเข้าแถวเคารพธงชาติและสวดมนต์ตอนเช้าของนักเรียนไม่ได้ช่วยให้เป็นคนดีคนเก่ง ซ้ำยังเป็นการยัดเยียด “ความคลั่งชาติ” และรูปแบบของศาสนาที่ “ไร้แก่น” ให้กับนักเรียนไทยด้วย” ปรากฏว่าถูกรุมประณามอย่างรุนแรงในโลกออนไลน์ ตั้งแต่ “ชั่ว เปรต นรก จัญไร... เสียชาติเกิด” ไล่ออกไปจากเมืองไทย

ผมในฐานะครูคนหนึ่ง คิดว่า หากเราต้องการประเทศไทยที่เข้มแข็ง+แข่งขันได้+เป็นประชาธิปไตย ที่ใช้ปัญญามากกว่าอารมณ์ความเชื่อ+เป็นสังคมแห่งปัญญาที่มีสันติสุข การศึกษาต้องส่งเสริมให้เด็กมีความคิดวิเคราะห์ เปิดให้ท้าทายจารีตหรือกระแสความเชื่อ แต่ต้องคิดด้วยเหตุผล+ข้อเท็จจริง+ความสุจริตใจ และควรแสดงออกด้วยความสุภาพ มีกาละเทศะ เพื่อจูงใจให้เกิดการสนทนา เช่น 1. การสวดมนต์มีประโยชน์ระดับหนึ่ง แต่หากเด็กได้ฝึกสมาธิและศึกษาธรรม (ด้วยการปฏิบัติไม่ใช่ท่องจำ) ก็จะได้ฝึกจิตให้บริสุทธิ์ซึ่งจะช่วยให้เข้าถึงแก่นของศาสนาพุทธ ที่ในระดับหนึ่งก็ไม่ขัดแย้งกับศาสนาอื่น และยังทำให้สมองมีพลังด้วย ผมยังเคยสวดมนต์และทำสมาธิพร้อมกันไปด้วย  2. การเข้าแถวร้องเพลงเคารพธงชาติเป็นการฝึกวินัยแต่เพียงทางกาย (ฟูโกต์เคยกล่าวอำนาจถูกใชัโดยวินัยนี้) เด็กอยู่ไม่นิ่งก็อาจเกิดปัญหาบางอย่าง เช่น สมาธิสั้น จะทำให้ครูได้เข้าเด็กแต่ละคนมากขึ้น  แต่ความรักชาติควรอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม การเป็นพลเมืองดีที่เคารพกฎหมายกติกา รู้จักทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ไม่คดโกง ไม่สยบต่อการโกง และไม่ชื่นชมนับถือคนโกง (เพื่อนผมเป็นครูสังคมฯก็หลายคน น่าจะทำเรื่องนี้ได้ดีกว่าผม แน่นอน 555)

ผมในฐานะครูคนหนึ่ง ในเรื่องปฏิกิริยารุนแรงต่อบทสัมภาษณ์ เห็นแล้วรู้สึกอึดอัดมาก  เพราะหลายคนหรือคนส่วนใหญ่ด้วยกลับกล่าวหาว่าไม่น่าจะเกิดมาเป็นคนไทยเลย สมควรออกจากประเทศนี้ไป ทั้งนี้เป็นเพราะสังคมเราจะมีปัญหาและอ่อนแอมาก เพราะการเอารัฐทางศาสนากับรัฐประชาธิปไตยมาผสมกันจนมั่วไปหมด หากการเห็นต่างของเด็กหรือใครก็ตามไม่สามารถรับฟังได้ และปฏิกิริยารุนแรงนี้ต่างอ้างแต่ว่าคนคนนี้ไม่มี ความเป็นไทย” แต่อย่างใด กระนั้นผมกลับเห็นเป็นตรงกันข้าม เพราะคนที่ตำหนิเด็กคนนี้ก็ไม่มี “ความเป็นไทย” สักเท่าไร อย่างไรก็ตามความเป็นไทยมีหลายอย่าง และอย่างหนึ่งคือ ความเมตตาโอบอ้อมอารี ซึ่งรวมถึงการทนฟังทนอยู่กับความแตกต่าง (Tolerance) ด้วย นี่เป็นจุดแข็งของสังคมไทย ที่ทำให้ต่างชาติมองว่า “งดงามด้วยความหลากหลาย” อีกอย่างคือความเสรี เสรีที่จะพูดจะแสดงออก โดยมีขอบเขตของกาลเทศะและความนอบน้อม ตั้งแต่การไม่ล่วงละเมิดผู้อื่นจนถึงสัมมาคารวะ

ผมในฐานะครูคนหนึ่งคิดถึงนัยทางการเมืองของปรากฏการณ์นี้ ผมเห็นว่า เมืองไทยนี่ประชาธิปไตยเสรีทางความคิดจริงหรือเปล่านะ ส่งเสริมให้ทุกคนคิดเหมือนกัน จนคนคิดต่างโดนประณาม โดนด่า บอกให้ออกนอกประเทศ” ในที่นี้เราเป็นประชาธิปไตย แต่จะมีเสรีภาพ หรือเปล่า ชวนให้ครูคนหนึ่งคิดถึงเรื่องนี้ตลอดเวลา นึกถึงพวกคนเสื้อแดงที่เอาแต่ประชาธิปไตยซะจนไม่เสรีในความคิดเห็น และพวกเสื้อเหลือง หลากสี และหน้าขาว ฯลฯ ที่เอากษัตริย์นิยมซะจนไม่ยอมรับความเห็นของคนส่วนใหญ่ ไม่เชื่อระบบตลาด อยากไปเป็นพอเพียง ทั้งที่ตนเองอยู่กับตลาดทุกเมื่อเชื่อวัน กระนั้นนายกิตติได้แสดงจุดยืนทางการเมืองอยู่ข้างมวลชนและประชาธิปไตย ซึ่งเขาบอกว่าคือคนเสื้อแดง เขาคิดว่ากลุ่มหน้ากากขาวพยายามต่อต้านระบอบทักษิณ ทั้งๆ ที่ “ตายไปแล้ว” กับการรัฐประหาร ปี  2549 ผมเองก็เป็นคนที่ต่อต้านทักษิณ แต่ทักษิณก็มีข้อดีเหมือนกันก็คือ เขาใช้ประชานิยมในการสร้างฐานคะแนนของตนเองได้ อย่างที่ไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน ส่วนที่ผมต้านก็คือการใช้ประชานิยมซะจนคนเริ่มเสพติดประชานิยมจนไม่เห็นทางเลือกอื่นๆ นอกจากประชานิยมอย่างเดียวเท่านั้น อย่างไรก็ตาม หากได้รับฟังและไตร่ตรองแล้วจะเชื่ออย่างไรคงเป็นสิทธิของพวกเขา แต่การที่สังคมผลักไสเด็กเหล่านี้ออกไป อาจทำให้เขาตกเป็นเครื่องมือของฝ่ายที่แอบอ้างประชาธิปไตย แต่กระทำการผิดกฎหมาย ละเมิดเสียงข้างน้อย และกอบโกยประโยชน์บ้านเมือง (ซึ่งอาจเป็นรัฐบาล พวกเสื้อแดง เสื้อเหลือง หลากสี หน้ากากขาว ฯลฯ หรือใครก็ได้ที่มีลักษณะเป็นอย่างนี้)

ขอบคุณ คุณอานิก อัมระนันทน์ /www.facebook.com/anik.amranand ที่ให้ข้อมูลเรื่องเด็กคนนี้


หมายเลขบันทึก: 542115เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2013 20:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กรกฎาคม 2013 19:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท