รูปแบบของหลักสูตร


รูปแบบของหลักสูตรแบ่งออกมากมายตามแนวคิดของแต่ละคนแต่ก็มีความหมายใกล้เคียงกันและที่สำคัญเพื่อจุดมุ่งหมายเดียวกันคือเพื่อตัวผู้เรียน

จากที่ศึกษามานั้นส่วนใหญ่ตามอินเตอร์เน็ตหรือหนังสือส่วนใหญ่ได้แบ่งรูปแบบหลักสูตรออกดังต่อไปนี้

1.หลักสูตรแบบเน้นเนื้อหา(The Subject Matter Curriculum)หลักสูตรนี้มักมองว่าเก่าและไม่ดีเพราะขาดการเชื่อมโยงเป็นหลักสูตรที่แบ่งแยกรายวิชาออกเป็นส่วนๆเช่นวิชาสังคมก็แยกออกเป็นภูมิศาสตร์  ประวัติศาสตร์ศีลธรรมเป็นต้นจะเห็นได้ว่าไม่มีการเชื่อมโยงและขาดความสัมพันธ์กับวิชาอื่นๆทีสำคัญเน้นความรู้อย่างเดียวผู้เรียนจึงนำความรู้ไปวิเคราะห์ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ไดน้อย


2.หลักสูตรสหสัมพันธ์(Correlated Curriculum)หลักสูตรสหสัมพันธ์พัฒนามาจากหลักสูตรแยกรายวิชากล่าวคือหลักสูตรนี้ได้รวมคุณลักษณะคุณค่าความสำคัญขงรายวิชาไว้ด้วยกันเช่นการเอาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์มาไว้ด้วยกันทำให้ผู้เรียนเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินทำให้ผู้เรียนรู้จักวิเคราะห์มากขึ้นแต่ข้อเสียก็คือจะทำให้เด็กเกิดความสับสนได้ถ้าผู้สอนเตรียมการสอนไม่ดี

3.หลักสูตรแบบผสมผสาน(Fused Curriculum or Fusion Curriculum)หลักสูตรนี้จะเอาวิชาที่ใกล้เคียงกันมาหลอมลวมใหม่เป็นรายวิชาใหม่เช่นชีวิทยาฟิสิกส์เป็นต้นหลักสูตรแบบนี้ทำให้ผู้เรียนได้รับความรู้อย่างกว้างขวางมากขึ้น

4.
หลักสูตรแบบหมวดวิชาแบบกว้าง(Broad Fields Curriculum)หลักสูตรหมวดวิชาแบบกว้างหรือหลักสูตรรวมวิชาเป็นหลักสูตรที่พยายามจะแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดจากหลักสูตรเนื้อหาวิชาซึ่งขาดการผสมผสานของความรู้ให้เป็นหลักสูตรที่มีการประสานสัมพันธ์ของเนื้อหาความรู้ที่กว้างยิ่งขึ้น

5.
หลักสูตรเพื่อชีวิตและสังคม(Social Process and Life Function Curriculum) หลักสูตรนี้เรียนรู้จากประสบการณ์ยึดเอาชีวิตและสังคมเป็นหลัก

6.
หลักสูตรกิจกรรมหรือประสบการณ์(Activity or Experience Curriculum)การเรียนแบบการเรียนรู้ด้วยการกระทำ( Learning by Doing) ยึดกิจกรรมความสนใจประสบการณ์สิ่งแวดล้อมาเป็นแนวทางในการจัดลำดับประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้จริงได้

7. หลักสูตรแบบแกน(Core Curriculum)หลักสูตรแบบนี้จะกำหนดวิชาใดวิชาหนึ่งเป็นศูนย์กลางหรือแกนวิชาอื่นๆจะสนับสนุนแกนมีการผสมผสานทางด้านการเรียนรู้และเนื้อหาวิชาสนองความสนใจและความถนัดของแต่ละบุคคลเปิดโอกาสผู้เรียนศึกษาความรู้ด้วยตนเอง

8.
หลักสูตรบูรณาการ(Integrated Curriculum)หลักสูตรบูรณาการเป็นหลักสูตรที่สอดคล้องกับสภาพความต้องการของผู้เรียนเน้นความสัมพันธ์ผสมผสานระหว่างวิชามุ่งเน้นประโยชน์ของผู้เรียนสูงสุด


จากหนังสือของ อ.ดร.จีระ งอกศิลป์ ดิฉันได้สรุปทฤษฎีหลักสูตรไว้ในรูปแบบตาราง ดังต่อไปนี้


จากข้อความข้างต้นเป็นเพียงแค่ตัวอย่างทฤษฏี ยังมีทฤษฎีต่างๆอีกมายมาย แต่สุดท้ายดิฉันมีความคิดว่า

หัวใจสำคัญของทฤษฏีหลักสูตรไม่ว่าจะเป็นทฤษฎีใด สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ผู้สอนสามารถปรับหลักสูตรที่ตนใช้อยู่ให้เกิดความเหมาะสมกับผู้เรียนได้ มีความยืดหยุ่นไม่ยึดหลักใดหลักนึงเป็นที่ตั้ง รวมถึงต้องสอดคล้องกับสภาพสังคมเศรษฐกิจในปัจจุบันด้วย


อ้างอิง

http://course-4.blogspot.com/2010/07/blog-post_8214.html

ชูศรี สุวรรณโชติ. 2540. หลักสูตร และการพัฒนาหลักสูตร. (ม.ป.ท., ม.ป.ป.)

จีระ งองศิลป์. 2556. คู่มือเตรียมทดสอบความรู้ มาตรฐานวิชาชีพของคุรุสภา. (ม.ป.ท., ม.ป.ป.)


คำสำคัญ (Tags): #รูปแบบหลักสูตร
หมายเลขบันทึก: 542055เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2013 01:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กรกฎาคม 2013 01:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

คุณสรุปว่า "...เพียงแค่ตัวอย่างทฤษฏี.." เรื่องที่คุณนำเสนอเป็นรูปแบบหลักสูตรนะคะ ไม่ใช่ทฤษฎีหลักสูตร

น่าจะบอกวิธีใช้ของแต่หลักสูตรแต่ละหลักสูตรด้วยเช่นกระบวนการเป็นยังไง ไม่ใช่บอกแค่ผ่านๆ ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท