Curriculum Design


รูปแบบหลักสูตร

หลักสูตรแต่ละรูปแบบจะแตกต่างกันในประเด็นสำคัญ ดังต่อไปนี้ คือแนวความคิดหรือปรัชญาในการจัดการศึกษาแตกต่างกันจุดเน้นของความมุ่งหมายแตกต่างกัน เป็นต้น จากหลักเกณฑ์ความแตกต่างของหลักสูตรดังกล่าวข้างต้น อาจจำแนกรูปแบบของหลักสูตรได้ 8 รูปแบบ ดังนี้

  3.1 หลักสูตรแบบเนื้อหาวิชาหรือแบบรายวิชา เป็นหลักสูตรแบบดั้งเดิมหรือหลักสูตรเก่าที่เน้นการถ่ายทอดเนื้อหาวิชาเป็นหลัก โดยไว้เพื่อถ่ายทอดอย่างมีระเบียบตามที่ผู้รู้ในแต่ละวิชาได้กำหนดไว้

  3.2 หลักสูตรแบบสัมพันธ์วิชา เป็นหลักสูตรที่มีพื้นฐานมาจากหลักสูตรแบบรายวิชา

โดยนักเรียนได้นำประโยชน์ของรายวิชาต่างๆมาใช้ปฏิบัติได้น้อย จึงนำเนื้อหาวิชาต่างๆที่มีลักษณะคล้ายคลึง และมีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันจัดไว้ด้วยกัน

  3.3 หลักสูตรแบบหมวดวิชา หรือสหสัมพันธ์ หลักสูตรลักษณะแบบนี้จุดมุ่งหมายจะผสมผสานเนื้อหาวิชาที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน หรือสาขาเดียวกัน ให้มีความสัมพันธ์ระหว่างวิชามากขึ้น ในลักษณะหมวดวิชา เช่น หมวดวิชาสังคมศึกษา ประกอบด้วยวิชาภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง ศีลธรรม

  3.4 หลักสูตรกิจกรรมและประสบการณ์ หลักสูตรลักษณะแบบนี้ต้องการแก้ไขข้อบกพร่องของหลักสูตรแบบรายวิชา ที่ไม่คำนึงถึงความต้องการและความสนใจของผู้เรียน หลักสูตรนี้จึงยึดเอากิจกรรม ความสนใจและประสบการณ์แวดล้อมมาเป็นแนวทางในการจัดลำดับประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ได้ในชีวิตจริง

  3.5 หลักสูตรเพื่อชีวิตและสังคม หลักสูตรนี้ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดปรัชญาพิพัฒนาการนิยม ของ จอห์น ดิวอี้ ซึ่งเชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากประสบการณ์ และประสบการณ์จะทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง หลักสูตรนี้จะยึดเอาสังคมและชีวิตของเด็กเป็นหลัก

  3.6 หลักสูตรแกนกลาง หลักสูตรแบบนี้มีลักษณะผสมผสานเนื้อหาวิชาเพื่อที่จะตอบสนองความต้องการและความสนใจของผู้เรียน ส่งเสริมการเรียนที่มีความสัมพันธ์กับประสบการณ์ชีวิตของผู้เรียนของผู้เรียน หลักสูตรประกอบด้วยสิ่งที่ผู้เรียนต้องเรียนเป็นความรู้หนึ่ง และส่วนที่ใช้เลือกส่วนหนึ่ง หลักสำคัญอยู่ที่การจัดการเวลาเรียน และการจัดเนื้อหาให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและขณะเดียวกันเน้นการเรียนรู้ทางวิชาการอย่างมีระบบ 

3.7 หลักสูตรแบบเอกัตภาพ หลักสูตรแบบนี้จัดเนื้อหาสาระของหลักสูตรไปตามความเหมาะสมและความต้องการของผู้เรียนแต่ละบุคคล การจัดหลักสูตรแบบนี้ขึ้นอยู่ดุลยพินิจของครูผู้สอนที่จะวิเคราะห์ความต้องการ ระดับสติปริญญา และความสามารถของผู้เรียนได้อย่างถูกต้อง จัดการเรียนการสอนอยู่ในรูปของการจัดชุดการเรียนให้ผู้เรียนได้ศึกษาและพัฒนาความสามารถของตนไป

 3.8 หลักสูตรบูรณาการ เป็นการผสมผสานเนื้อหาเข้าด้วยกัน ไม่แยกเป็นรายวิชาโดยพยายามรวมประสบการณ์ต่าง ๆ ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันโดยจะคัดเลือกตัดตอนมาจากหลาย ๆ สาขา แล้วมาจัดเป็นกลุ่มหมวดหมู่เพื่อให้นักเรียนได้ประสบการณ์ที่ต่อเนื่อง มีคุณค่าต่อการดำเนินชีวิตและพัฒนาตนเอง การบูรณาการเนื้อหาวิขาต่าง ๆ จะเน้นที่ตัวเด็กและปัญหาสังคมเป็นสำคัญการจัดการเรียนสอน มุ่งให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรง และนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน จัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความต้องการ การวัดผลจะเน้นพัฒนาการทุกด้านโดยเฉพาะด้านความสามารถในการแก้ปัญหา

ในความเข้าใจของกระผม รูปแบบของหลักสูตรทั้ง 8 ข้อนี้ จะเน้นการพัฒนาของผู้เรียนเป็นหลัก เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการพัฒนาอย่างสูงสุด 

คำสำคัญ (Tags): #Curriculum Design
หมายเลขบันทึก: 541995เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2013 13:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 กรกฎาคม 2013 13:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

... เป็นการ Design ที่ ครบถ้วนมากๆ ค่ะ ขอบคุณค่ะ ....

ขอบคุณครับ ขอคำแนะนำด้วยนะครับ

หลักสูตรรูปแบบใดก็มีไว้เพื่อพัฒนาผู้เรียนทั้งนั้น แต่มีจุดเน้นแตกต่างกัน ในฐานะครู คุณช่วยบอกหน่อยว่า คุณชอบรูปแบบไหน และเพราะอะไรคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท