กระบวนการพัฒนาหลักสูตร


สำหรับวันนี้ ผมจะมาพูดถึงหัวข้อของ "กระบวนการพัฒนาหลักสูตร" นะครับ คราวก่อนเรารู้จักกันแล้วว่าทฤษฎีหลักสูตรคืออะไร มีรูปแบบไหนบ้าง คราวนี้เราจะดูว่าแล้ววิธีการสร้างมันขึ้นมานั้น ทำอย่างไร

นันทกา พหลยุทธ (2554) ได้สรุปการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดของ Hilda Taba ว่ามี 7 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้
1. วินิจฉัยความต้องการ (Diagnosis of needs)
2. กำหนดวัตถุประสงค์ (Formulation of objectives)
3. เลือกเนื้อหา (Selection of content)
4. จัดองค์ประกอบเนื้อหา (Organization of content)
5. เลือกประสบการณ์การเรียนรู้ (Selection of learning experiences)
6. จัดองค์ประกอบของประสบการณ์การเรียนรู้ (Organization of learning experiences)
7. วินิจฉัยว่าสิ่งที่จะประเมินคืออะไร และจะใช้วิธีการและเครื่องมือใดในการประเมิน (Determination of what to evaluate and of the ways and means of doing it)

(อ่านเอกสารเต็มได้ที่ http://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3&source=web&cd=5&cad=rja&ved=0CEYQFjAE&url=http%3A%2F%2Fwww.pccl.ac.th%2Ffiles%2F101217099455573%2Ffiles%2F1.doc&ei=2hPcUYXVOIaVrAfa7YHoCw&usg=AFQjCNGhNfks-s7NOCtE9AoZO10mOZXEDg&bvm=bv.48705608,d.bmk )

นอกจากแนวคิดของ Hilda Taba แล้ว ยังมีแนวคิดของ Ralph W. Tyler ซึ่งได้กล่าวถึงหลักการสร้างหลักสูตรว่ามี 4 ขั้นตอน ดังนี้

1.  การวางแผนหลักสูตร (Planning)
2.  การออกแบบหลักสูตร (Design)
3.  การจัดการหลักสูตร (Organize)
4.  การประเมินหลักสูตร (Evaluation)

ที่มาที่ไปของหลักการสร้างหลักสูตรตามแนวคิดของ Ralph W. Tyler นี่ นับว่าน่าสนใจมาก เพราะมันมาจากคำถาม 4 คำถาม คือ

1.  What is the purpose of the education?
(มีจุดมุ่งหมายทางการศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจะ แสวงหา)
2.  What educational experiences will attain the purposes?
(มีประสบการณ์ทางการศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจัดขึ้นเพื่อช่วยให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้)
3.  How can these experiences be effectively organized?
(จะจัดประสบการณ์ทางการศึกษาอย่างไร จึงจะทำให้การสอนมีประสิทธิภาพ)
4.  How can we determine when the purposes are met?
(จะประเมินผลประสิทธิภาพของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร  จึงจะตัดสินได้ว่าบรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้)

(อ่านเนื้อหาฉบับเต็มได้ที่ http://theorycurri.blogspot.com/2013/03/blog-post.html)

สำหรับเอกสาร e-Learning ของเว็บไซต์ คุณครู.คอม ได้สรุปกระบวนการพัฒนาหลักสูตรได้ 6 ขั้นตอนด้วยกัน ดังนี้
1. ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Diagnosis of needs)
2. กำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร (Determine objectives)
3. กำหนดเนื้อหาสาระและประสบการณ์การเรียนรู้ (Selection of contents and learning experiences)
4. การนำหลักสูตรไปใช้ (Curriculum implementation)
5. การประเมินหลักสูตร (Curriculum evaluation)
6. การปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงหลักสูตร (Curriculum improvement and curriculum change)

(อ่านเอกสารเต็มได้ที่ http://www.oo-cha.com/courses/CD/cd3.pdf)

หลังจากที่พิจารณาจากทั้ง 3 แหล่งข้อมูลแล้ว ผมก็พบว่า ทั้ง 3 แนวคิด ก็มีความสอดคล้องกัน ถ้าผมจะสรุปก็คือ อันดับแรก ต้องพิจารณาความต้องการและกำหนดวัตถุประสงค์ก่อน ว่าจะทำหลักสูตรนั้นออกมาเพื่ออะไร (เช่น ค.ม. วิชาชีพครู ของสวนสุนันทา ก็ทำออกมาเพื่อให้ผู้ที่ไม่มีใบประกอบวิชาชีพครู แต่อยากประกอบอาชีพครู ได้มีโอกาสเรียนเพื่อนำไปใช้เทียบโอนในการรับใบประกอบวิชาชีพครู) จากนั้นจึงจะมากำหนดเนื้อหาสาระว่าผู้เรียนจะต้องเรียนอะไรบ้าง (เช่น ค.ม. วิชาชีพครู สวนสุนันทา ก็จะต้องพิจารณาเนื้อหาจากมาตรฐานต่างๆที่ใช้ในการสอบใบประกอบวิชาชีพครู) จากนั้น ก็นำหลักสูตรไปใช้ แล้วก็ประเมินว่าจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในด้านใดต่อไป

สำหรับวันนี้ ผมขอจบเรื่อง "กระบวนการพัฒนาหลักสูตร" แต่เพียงเท่านี้ก่อนนะครับ ถ้ามีข้อมูลใดผิดพลาด ก็ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ ขอขอบคุณทุกข้อเสนอแนะและกำลังใจ(ดอกไม้)ที่ให้มาครับ

หมายเลขบันทึก: 541942เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2013 21:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กรกฎาคม 2013 21:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

หลักสูตรจัดไม่เป็นแต่อยากให้จัดเรียนหยุดวันโกนวันพระ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท