Diabetes Educator Meeting 1st June 2013 (2)


การที่รู้บางเรื่อง ไม่ได้หมายความว่าได้ทำเรื่องนั้น

ศ.เกียรติคุณ นพ.เทพ หิมะทองคำ เล่าประสบการณ์เรื่อง The multidisciplinary approach to improve chronic care management for diabetic patients ตั้งแต่แรกก่อตั้งโรงพยาบาลเทพธารินทร์จนกระทั่งปัจจุบัน 28 ปีว่ามีพัฒนาการอย่างไร ขณะนี้กำลังพัฒนาเรื่องการดูแลเท้าการกระตุ้นครั้งใหญ่มาจากงานวิจัย DPP เริ่มสร้างคนมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1985 มีการทำงาน Class, Camp, Club ได้ร่วมมือกับ สปสช. ในการถ่ายทอดประสบการณ์การจัดค่ายเบาหวานให้แก่บุคลากรทั่วประเทศ 1,000 กว่าคน จากนั้นได้นำการจัดการความรู้ เช่น Peer assist มาใช้แทนการดูงาน



ศ.เกียรติคุณ นพ.เทพ หิมะทองคำ


การขยายงานเรื่องการดูแลเท้า ได้ส่งคนไปดูงานที่ Boston กลับมาทำเรื่องการจัดการ callus, ทำ fleted foam มีการรักษาแผลด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ใช้ maggot therapy (มี clip VDO) ดูแล neuropathic foot เรียนรู้จาก podiatrist ทำ tenolytic (มี clip VDO)

เมื่อมีประสบการณ์มากขึ้นจึงแสวงหา International grant และได้การสนับสนุนจาก World Diabetes Foundation (WDF) ได้เป็น excellence center ของ WDF ส่งทีมบุคลากรด้านสุขภาพชาติต่างๆ มาเรียนรู้ จึงมีการผลิตสื่อการให้ความรู้เป็นหลายภาษาโดยให้ทีมที่มาเรียนรู้นั้นเป็นผู้ให้เสียงบรรยาย เช่น เปรู เยอรมัน เวียดนาม  อินโดนีเซีย ลาว ของไทยกำลังจะทำเป็นภาษาอีสาน ใต้ เหนือ

การป้องกันโรคต้องลงไปที่ชุมชน ได้ train คนทำงานในชุมชนไป 1,000 กว่าคนแล้ว ได้รับทุนจาก WDF เป็นเวลา 4 ปีแล้วและร่วมมือกับ สปสช. พัฒนาคนทำงานใน 77 จังหวัด ขณะนี้ทำไปแล้ว 4 รุ่น 40 จังหวัด มีเครื่องมือและอุปกรณ์ เช่น เครื่องพิมพ์ ในการผลิตสื่อต่างๆ ได้เอง กำลังหาโรงงานที่จะทำรองเท้ามาตรฐาน

โมเดลการทำงาน ไม่ได้ทำในภาคเอกชนอย่างเดียว แต่เป็นคนที่ co-ordinate ทุกภาคส่วน

จบการบรรยายในเวลาประมาณ 19.00 น. จากนั้นวิทยากรทุกคนขึ้นนั่งบนเวที เปิดโอกาสให้ผู้เข้าประชุมซักถาม โดยมี พญ.วรรณี นิธิยานันท์ เป็นผู้ดำเนินรายการ




วิทยากร และ ศ.พญ.วรรณี นิธิยานันท์

คำถามและคำตอบ เช่น

  • Diabetes Center มี education materials หรือไม่... คำตอบคือ มี และใช้ Conversation map ด้วย มีโปรแกรมหลายภาษาสำหรับคนที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษ
  • ในประเทศไทย เวลาที่ไปชุมชนพบว่าผู้หญิงมา participate จำนวนมากกว่าผู้ชาย เพราะมีความสนใจในเรื่องสุขภาพ
  • ในประเทศไทย อยากจะมีพยาบาลที่ทำงานอย่างที่คุณ Marg เล่า แต่ผู้ป่วยบอกว่าไม่อยากจะเสียเวลากับพยาบาลหรือนักกำหนดอาหาร คุณ Marg ตอบว่าต้องบอกผู้ป่วยว่ามาพบแล้วจะทำอะไรให้บ้าง เช่น บอกว่าคราวหน้าจะตรวจเท้าให้ (ทำให้การมาพบมีคุณค่า) ... อย่าให้ผู้ป่วยรู้สึกว่า education เป็น punishment
  • เรื่องการปรับเปลี่ยนทัศนคติ คุณ Marg บอกว่าคนไม่ต้องการรู้ pathophysiology มากเท่าต้องการรู้ว่า how to live with diabetes, how to solve problems
  • อาจารย์เทพแสดงความคิดเห็นว่าโรงเรียนแพทย์ผลิตคนที่มี science oriented and aim at treatment สนใจคนและความเป็นมนุษย์น้อย ไม่มี role model ในการดูแลคนไข้แบบ holistic และ apprenticeship ก็หายไป การสื่อสารกับคนไข้และผู้ร่วมงานไม่ดี
  • คุณ Marg แนะเรื่องการถามคำถามและการฟัง ให้คนที่จากไปรู้สึก energized
  • อาจารย์ชัยชาญกล่าวว่า educator ที่ดีต้องมี skill ไม่ใช่แค่ความรู้ ต้องมีอารมณ์ความรู้สึกแบบ support มากกว่า punishment ซึ่งอาจารย์เทพและคุณ Marg เห็นด้วย

สุดท้ายคุณ Marg ขอให้ทุกคนยืนขึ้น ถามว่าใครออกกำลังกาย... ใครกินอาหาร...ใครปฏิบัติตามนั้นให้ยืนไว้ เห็นได้ว่าแทบไม่มีเลย แสดงให้เห็นว่าการที่รู้บางเรื่อง ไม่ได้หมายความว่าได้ทำเรื่องนั้น

จบการประชุมแล้วทุกคนย้ายจากห้องประชุมไปรับประทานอาหารเย็น (ค่ำ) ซึ่งเป็นบุฟเฟต์ ที่ชั้นล่าง บางคนนั่งกินในห้อง บางคนนั่งที่บริเวณด้านนอกอาคาร ชมทิวทัศน์แม่น้ำเจ้าพระยายามค่ำ 



แม่น้ำเจ้าพระยายามค่ำคืน


อาหารอร่อย บริเวณด้านนอกมีลมพัดเย็นสบาย เสียแต่มีแขกต่างประเทศของโรงแรมบางกลุ่มสูบบุหรี่ เลยต้องพากันต้องย้ายโต๊ะไปอยู่เหนือลม

วัลลา ตันตโยทัย


หมายเลขบันทึก: 541808เขียนเมื่อ 8 กรกฎาคม 2013 19:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 กรกฎาคม 2013 19:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

The multidisciplinary approach to improve chronic care management for diabetic patients ขอบคุณความรู้ดีครับ..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท