Diabetes Educator Meeting 1st June 2013 (1)


วัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน

เมื่อเย็นวันที่ 1 มิถุนายน 2556 เวลา 17:00-22:00 น. ดิฉันและทีมคณะกรรมการสมาคมผู้ให้ความรู้โรคเบาหวานได้เข้าประชุมวิชาการ Diabetes Educator Meeting “Managing Diabetes with Integrated Health Care Team” ซึ่งจัดโดยสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ และสมาคมผู้ให้ความรู้โรคเบาหวาน ร่วมกับบริษัท โนวาร์ตีส (ประเทศไทย) จำกัด ณ โรงแรมรอยัล ออร์คิด เชอราตัน การประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ผู้เข้าประชุมมีทั้งแพทย์ พยาบาล นักกำหนดอาหาร เภสัชกร



คกก.สมาคมฯ วิทยากร และผู้เข้าประชุมบางส่วน


ดิฉันเดินทางไปถึงที่ประชุมประมาณ 16:30 น. พบ ศ.พญ.วรรณี นิธิยานันท์ นายกสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ ที่มาถึงเร็วเช่นกัน ได้มีโอกาสเล่าความก้าวหน้าของโครงการ Thai DPP ให้ท่านรู้ด้วย ศ.พญ.วรรณี นิธิยานันท์ ยังย้ำเรื่องที่เคยบอกไว้ว่าหากขาดเหลืองบประมาณในส่วนใด ให้เสนอโครงการขอรับการสนับสนุนจากสมาคมฯ ได้

การประชุมเริ่มขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 17:30 น. ศ.พญ.วรรณี นิธิยานันท์ ได้บอกถึง ภาระที่เกิดจากโรคเบาหวาน ประเทศไทยมี achievement ในเรื่องใดบ้าง เช่น การมีแนวทางเวชปฏิบัติ มีการอบรม case manager เป็นต้น แนะนำว่าการประชุมจะมี sessions อะไรบ้าง (session ละ 20 นาที) และแนะนำวิทยากร

หลังจากนั้นเป็นการบรรยายเรื่อง Current status and future prospects for diabetes care in Thailand โดย ศ.นพ.ชัยชาญ ดีโรจนวงศ์ ที่แสดงให้เห็นว่าสถานการณ์โรคเบาหวานของโลกและของประเทศไทยเป็นอย่างไร ความชุกของโรคเบาหวานของไทยเพิ่มขึ้น แต่ในช่วงปี ค.ศ. 2004-2009 เริ่มเข้าสู่ platau phase ประเทศที่พัฒนาแล้วความชุกของโรคเบาหวานจะคงที่ ซึ่งอาจเป็นเพราะมีการรณรงค์ในเรื่องต่างๆ ส่วนประเทศที่กำลังพัฒนาความชุกยังเพิ่มขึ้น ปัญหาความดันโลหิตสูงก็มีลักษณะคล้ายกับเบาหวาน



ศ.นพ.ชัยชาญ ดีโรจนวงศ์

ความท้าทายในปัจจุบัน ได้แก่

  • ความชุกของ undiagnosed DM ยังสูง
  • ผู้ป่วยยังไม่สามารถ achieved glucose control
  • ไม่ได้คุม risk factors อื่นๆ อย่าง aggressive มีไม่ถึง 5% ที่คุมได้ทั้ง BP น้ำตาล และไขมัน
  • ผู้ป่วยเบาหวานจำนวนมากมี poor adherence

อุปสรรคต่อ adherence เช่น การสื่อสารที่ไม่ดีระหว่าง provider – ผู้ป่วย ผู้ป่วยส่วนใหญ่มองไม่เห็น immediate effect ของการรักษา ผลข้างเคียงจากการรักษา ความเข้าใจเรื่องโรค การรักษาที่ซับซ้อน ฯลฯ

เบาหวานในคนไทยแตกต่างจากเบาหวานในคนอเมริกัน คนไทยเจอปัญหา infection บ่อย มี stroke บ่อย ในขณะที่คนอเมริกันเจอ heart attack บ่อย งานวิจัย ADVANCE พบว่าคนเอเซียเจอ stroke และ nephropathy มากกว่าคน Caucasian….สาเหตุการตายในคนไทยอันดับ 1 คือ stroke 

Future prospects:

  • นโยบายระดับชาติควรเน้นการ promote exercise & healthy diet
  • Screening ให้กว้างขวางทั้งประเทศและสม่ำเสมอ
  • ส่งเสริม universal annual screening
  • ให้ education ทั้งกับผู้ป่วยและผู้รักษา

คุณ Marg McGill ซึ่งเป็น Manager ของ RPAH Diabetes Centre เล่าถึงการทำงานใน Diabetes Center ของโรงพยาบาลที่เธอทำงานอยู่ เช่น Organisation flow chart, staff มีใครบ้าง การบริการ บทบาทของพยาบาลและนักกำหนดอาหารที่ complement การรักษาของแพทย์ การดูแลผู้ป่วยเป็นทีมมีผลอย่างไรต่อ HbA1C



คุณ Marg McGill

ในระบบการทำงาน มี daily team clinical meeting, weekly training sessions การบันทึกมี computerized database, streamlining & standardizing data collection ใน clinical database สามารถ generate online report ได้ เปรียบเทียบ clinical outcomes เป็น sequential มีผลงานวิจัยหลายเรื่อง

การบูรณาการงานวิจัยเข้ากับการทำงานประจำ ทำให้การทำงานมีความน่าสนใจมากขึ้น

แพทย์มีบทบาทและความรับผิดชอบในเรื่องใดบ้าง เช่น ภาวะผู้นำและวิสัยทัศน์ การฝึกอบรม staff ทำงานในส่วนที่พยาบาลและ allied health professionals ไม่สามารถทำได้

ในสถานการณ์การระบาดของเบาหวานในปัจจุบัน... ควรขยายบทบาทของแต่ละตนใน diabetes care ควรร่วมมือ เรียนรู้จากกันและกัน

วัลลา ตันตโยทัย

หมายเลขบันทึก: 541807เขียนเมื่อ 8 กรกฎาคม 2013 19:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 กรกฎาคม 2013 19:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท