รูปแบบหลักสูตร


จากที่ผมได้ไปศึกษาเรื่องรูปแบบหลักสูตร ชื่อหนังสือว่าเทคนิคการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โดย ดร.สมนึก ธาตุทอง ซึ่งมีนักการศึกษาหลายคนที่แบ่งรูปแบบหลักสูตรออกเป็นแบบต่างๆนานา ผมเลยเลือกมา 3 คน มีดังนี้

1. Smith, Stanley and Shores กำหนดรูปแบบหลักสูตรมีทั้งหมด 3 อย่างดังนี้

1.  หลักสูตรรายวิชา(Subject Curriculum)

2.  หลักสูตรกิจกรรม(Activity Curriculum)

3.  หลักสูตรแกนวิชา(Core Curriculum)

2. Hilda Taba กำหนดรูปแบบหลักสูตรดังนี้

1.  หลักสูตรรายวิชา(Subject Curriculum)

2.  หลักสูตรรวมวิชา(Broad-Field Curriculum)

3.  หลักสูตรเน้นกระบวนการทางสังคมและภาระหน้าที่ในชีวิตประจำวัน(Curriculum Base on social Processes and life Function)

4.  หลักสูตรกิจกรรมหรือหลักสูตรประสบการณ์(Activity or Experience Curriculum)

5.  หลักสูตรแกนวิชา(Core Curriculum)

3. Ross L.Negley and N.Dean Evas แยกเป็น 3 แบบ ดังนี้

หลักสูตรเน้นเนื้อหาวิชา (Curriculum Designs Emphasizing Subjects)

1.  หลักสูตรรายวิชา(Subject Centered Curriculum)

2.  หลักสูตรสัมพันธ์วิชา(Correlated Curriculum)

3.  หลักสูตรหมวดวิชาหรือรวมวิชา(Broad-Field or Fusd Curriculum)

4.  หลักสูตรแกนวิชา(Core Curriculum)

5.  หลักสูตรเน้นวัฒนธรรม(Cultur-Epoch Curriculum)

6.  หลักสูตรบูรณาการ(Integrated Curriculum)

หลักสูตรที่เน้นผู้เรียน(Curriculum Designs Emphasizing the child)

1.  หลักสูตรกิจกรรม(Activity Curriculum)

2.  หลักสูตรที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ(Child-centerd Curriculum)

3.  หลักสูตรประสบการณ์( Experience Curriculum)

หลักสูตรที่เน้นสังคม(Curriculum Designs Emphasizing Society)

-   หลักสูตรที่ยึดชุมชนเป็นศูนย์กลาง(Community-Centered Curriculum)

สรุปจากการศึกษา

1.  หลักสูตรรายวิชา เป็นหลักสูตรที่เน้นเนื้อหาความรู้เป็นหลัก พูดง่ายๆคือ การทำข้อสอบมีความสำคัญมากกว่าการนำไปใช้

2.  หลักสูตรรวมวิชา เป็นหลักสูตรที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกันรวมไว้ด้วยกัน เช่น ภาษาไทยกับภาษาต่างประเทศเข้าด้วยกัน เช่น วรรณคดี การอ่าน การใช้ภาษา

3.  หลักสูตรแกนวิชา เป็นหลักสูตรที่ผสมผสานเนื้อหาวิชาต่างๆที่ใกล้เคียงกันอยู่เป็นหมวดเดียวกัน

4.  หลักสูตรสัมพันธ์วิชา ซึ่งคล้ายๆกับวิชา เคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา โลก ดาราศาสตร์ เป็นวิชาที่มีความสอดคล้องกัน จึงจัดในหมวดวิชาเดียวกัน

5.  หลักสูตรประสบการณ์ เน้นให้นักเรียนปฏิบัติจริง และให้เรียนรู้เองตามความสนใจ เรียนรู้ที่จะแก้ปัญหา ซึ่งจะทำให้นักเรียน เกิดความรู้และเข้าใจในความรู้ด้วยตนเอง และนำไปใช้ได้จริง

6.  หลักสูตรบูรณาการ ที่โรงเรียนก็เคยทำหลักสูตรบูรณาการ โดยบูรณาการวิชาวิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ พละศึกษา ภาษาไทย และสังคมศึกษาเข้าด้วยกัน เพื่อให้นักเรียนมีทักษะการใช้ชีวิต การทำงานเป็นกลุ่ม และมีความสนุกสนานกับการเรียนมากขึ้น

ในความคิดของผม คิดว่าหลักสูตรแกนวิชาโน้มเอียงไปทางหลักสูตรบูรณาการค่อนข้างมาก แต่ที่ผมเคยสอบถามเด็กนักเรียนนะครับเกี่ยวกับการบูรณาการ เด็กส่วนใหญ่ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ไม่ชอบการเรียนแบบบูรณาการ และเด็กนักเรียนคิดว่า “เขาไม่ได้อะไรเลย เขาได้แต่ความเหนื่อยกับความสนุก แต่เหมือนไม่มีความรู้ ทั้งๆ ที่ผู้ใหญ่บอกว่าบูรณาการดี” ตรงนี้เป็นความคิดเห็นของนักเรียนกลุ่มหนึ่งที่ผมสอบถามมาครับ  

ผมไม่ทราบว่าที่สรุปตามความเข้าใจตัวเอง จะถูกหรือป่าว ก็ขอความแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้วยนะครับ และถ้าอ้างอิงผิด หรือกล่าวอ้างถึงใครไม่ถูกต้อง ขออภัย ณ ที่นี้ด้วยครับ

ปล. ถ้าท่านใดสนใจเนื้อหาเพิ่มเติม ศึกษาได้ในหนังสือ เทคนิคการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา

บรรณานุกรม

สมนึก ธาตุทอง.(2548).เทคนิคการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา.กรุงเทพมหานคร : เพชรเกษมการพิมพ์.


หมายเลขบันทึก: 541711เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2013 22:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กรกฎาคม 2013 22:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เวลาเด็กบอกว่าไม่ได้อะไรเลย... ลองถามต่อหรือเปล่าว่า เด็กคาดหวังว่าจะได้อะไีร และถามครูว่าได้ทำความเข้าใจกับเด็กก่อนหรือเปล่าว่าเป้าหมายของสิ่งที่ให้ทำคืออะไร... ถ้าครูและนักเรียนเข้าใจ รับรู้ และเห็นชอบตรงกันในเรื่องผลลัพธ์การเรียนรู้ อาจารย์แน่ใจว่าคุณจะได้รับคำตอบที่แตกต่างค่ะ

ครับ ผมจะลองไปเก็บข้อมูลความเห็นของเด็กดูครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท