Evidence based practice of CPA Tumor in Occupational therapy


เมื่อช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมา  ข้าพเจ้า นักศึกษากิจกรรมบำบัด  ได้มีโอกาสได้ไปฝึกปฏิบัติงานทางกิจกรรมบำบัดจริง  และได้  case  กรณีศึกษา  ที่เป็นผู้รับบริการมะเร็ง  และได้มีโอกาสทำงานร่วมกับสหวิชาชีพในการดูแลผู้รับบริการ  เช่น  แพทย์ฝ่ายฟื้นฟู  พยาบาล  นักจิตวิทยา  นักกายภาพบำบัด  เป็นต้น  ตลอดการรักษาผู้รับบริการรายนี้  ข้าพเจ้าได้มีการหาเอกสารอ้างอิงวิชาการและงานวิจัยเพิ่มเติม  เพื่อมาสนับสนุนเทคนิคการให้บริการต่างๆด้วย   ข้าพเจ้าจึงอยากจะเล่าแลกเปลี่ยนประสบการณ์  และคาดว่าจะเป็นประโยชน์กับ

ผู้อ่านทุกๆท่านในการแลกเปลี่ยนความรู้ที่เกี่ยวข้องและความคิดเห็นเกี่ยวกับกรณีศึกษาค่ะ

ก่อนอื่น  เรามาเข้าใจถึงกรณีศึกษาของข้าพเจ้ากันก่อนนะครับ  เพื่อจะได้เห็นภาพรวม

ข้อมูลผู้รับบริการ

ชื่อนาย ก.  ( นามสมมติ )   55ปี

Dx. CPA  tumor,  Right  facial  palsy 

ความต้องการของผู้รับบริการ   อยากกลับไปประกอบอาชีพเดิม ซึ่งคือ  การทำสวนยางพารา  และอยากทานอาหารได้ด้วยตนเอง

ก่อนอื่นขออธิบายคร่าวๆถึงอาการสำคัญและรอยโรคของกรณีศึกษาหน่อยนะครับ

CPA Tumor

   คือการเป็นเนื้องอกที่ตำแหน่ง  CPA  (cerebellopontine  angle)ที่สมองส่วนสมองน้อย  มักเป็นเนื้องอกไม่ร้ายแรง  มักตรวจพบโดยการที่ผู้รับบริการมักมีอาการทางการได้ยิน  เวียนหัวบ้านหมุน  ใบหน้าด้านที่เส้นประสาทมีปัญหาจะชา  และกล้ามเนื้ออ่อนแรง

  สำหรับผู้รับบริการรายนี้  รักษา tumor  โดยการผ่าตัดนำก้อนเนื้องอกออกไป  หลังผ่าตัดมีปัญหาคือ  มีอาการของกล้ามเนื้ออ่อนแรงบริเวณใบหน้าซีกขวา(Right  facial  palsy  LMN) ทำให้สำสักอาหาร  ขยับริมฝีปาก  ลิ้นได้ลำบากและพูดไม่ชัด ซึ่งอาการทางร่างกายดังกล่าวส่งผลต่อการประกอบกิจกรรมการดำเนินชีวิต  เช่น  การทานอาหาร  จึงต้องเข้ารับการรักษาทางกิจกรรมบำบัดเพื่อฟื้นฟูร่างกาย  ทั้งฟื้นฟูกล้ามเนื้อที่อ่อนแรงไปและฟื้นฟูความสามารถด้านการกลืนอาหาร  นอกจากการฟื้นฟูทางร่างกายแล้ว ยังต้องช่วยสร้างแรงจูงใจของผู้รับบริการรายนี้ด้วย  สำหรับในส่วนของอาหารที่ใช้ในการกระตุ้นหรือฟื้นฟูผู้รับบริการที่มีปัญหาในส่วนของการกลืน  ปัจจุบันผู้รับบริการใส่  NG  tube  อยู่  และยังกลืนน้ำลายแล้วสำลักบ้างเป็นบางครั้ง  การฟื้นฟูจะเริ่มต้นด้วยการฝึกให้ทาน อาหารบด หรือ ปั่นข้น  เช่น  โจ๊กข้น  ฟักทองบด  กล้วยขูด / บด  สังขยา  ไอศกรีม  เป็นต้นได้โดยไม่มีอาการสำลัก

หลักฐานอ้างอิงชิ้นที่ 1

Prevalence, Characteristics, and Management of Swallowing Disorders following Cerebellopontine Angle Surgery (Heather M. Starmer., Simon R. Best.,Yuri Agrawal.,Wade W. Chien., Alexander T. Hillel.,Howard W. Francis., Rafael J. Tamargo., and  Lee M. Akst.,2011)

มีการให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรค  CPA  Tumor  มีการอธิบายถึงประเภท  ลักษณะอาการ  ของโรค  และการจัดการปัญหาการทานอาหาร  ซึ่งเป็นอาการสำคัญของผู้ที่เป็นโรคนี้  เนื่องจากเมื่อเป็นโรคนี้แล้ว  จะส่งผลให้กล้ามเนื้อใบหน้า  อ่อนแรง  กลืนอาหารและพูดได้ลำบาก

การกำหนดน้ำหนัก : + “น่าทำ” 

หลักฐานอ้างอิงชิ้นที่ 2

Systematic review and evidence based recommendations on texture modified foods and thickened fluids for adults (18 years) with oropharyngeal dysphagia   (Ulla Tolstrup Andersen., Anne Marie Beck., Annette Kjaersgaard.,Ingrid Poulsen.,Tina Hansen.,2013)

มีการอธิบายถึงแนวทางการจัดท่าทางผู้รับบริการที่มรภาวะกลืนลำบาก  และรูปแบบอาหารที่ใช้ฝึกกลืน  ในระยะเฉียบพลัน  และระยะเรื้อรัง  แต่ไม่ได้มีการสรุปในตอนท้ายว่าวิธี  หรือรูปแบบการฝึกกระตุ้นกลืนไหนดีที่สุด 

การกำหนดน้ำหนัก : +/- “อาจทำหรือไม่ทำ”


หมายเลขบันทึก: 541689เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2013 18:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กรกฎาคม 2013 18:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

....... ลักษณะอาการ ของโรค CPA Tumor และการจัดการปัญหาการทานอาหาร ซึ่งเป็นอาการสำคัญของผู้ที่เป็นโรคนี้ เนื่องจากเมื่อเป็นโรคนี้แล้ว จะส่งผลให้กล้ามเนื้อใบหน้า อ่อนแรง กลืนอาหารและพูดได้ลำบาก ... น่าสงสารมากนะคะ

อย่าลืมส่งงานการให้เหตุผลทางคลินิก

1. ภาพรวมกรณีศึกษา

2. การให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์

3. ABCD & FEAST

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท